HomeRef Facebookมุสลิมะห์ ละหมาดตะรอเวียะห์ ที่มัสยิดหรือที่บ้านดีกว่ากัน ?

มุสลิมะห์ ละหมาดตะรอเวียะห์ ที่มัสยิดหรือที่บ้านดีกว่ากัน ?

การละหมาดตะรอเวียะห์มีความจำเป็นสำหรับสตรีหรือไม่ ? และจะเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่หากว่าพวกเธอจะละหมาดที่บ้านของพวกเธอกันเอง หรือไปละหมาดที่มัสญิดเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่า ? เกี่ยวกับเรื่องนี้เรามาหาคำตอบกัน

-อัลหัมดุลิลลาฮฺ-

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ
การละหมาดตะรอวีหฺถือเป็นสุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺ (สุนัตที่ส่งเสริมให้กระทำอย่างยิ่ง) ซึ่งหากพวกเธอละหมาดกิยามุลลัยลฺที่บ้านของพวกเธอนั้นย่อมเป็นสิ่งที่มีความประเสริฐยิ่งกว่า เนื่องจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

หะดีษ

” لا تَمْنَعُوا نِسَاءَكُمْ الْمَسَاجِدَ وَبُيُوتُهُنَّ خَيْرٌ لَهُنَّ . “

 رواه أبو داود . وهو في صحيح الجامع 7458

ความว่า “พวกท่านอย่าได้ห้ามบรรดาสตรีของพวกท่าน (ในการไปยัง) มัสญิดต่างๆ ทั้งนี้ (การละหมาด) ในบ้านของพวกเธอนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าสำหรับพวกเธอ”

(บันทึกโดยท่านอบูดาวูด ในหนังสือสุนันของท่าน หมวดว่าด้วยการเดินทางไปยังมัสญิดของสตรี และหมวดว่าด้วยความเข้มงวดในเรื่องดังกล่าว ดูหนังสือ เศาะหีหฺ อัลญามิอฺ หมายเลข 7458)

ไม่เพียงเท่านั้น การที่พวกเธอได้ละหมาดในสถานที่ปกปิด และเป็นที่เฉพาะสำหรับพวกเธอนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่งกว่า ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

หะดีษ

” صَلاةُ الْمَرْأَةِ فِي بَيْتِهَا أَفْضَلُ مِنْ صَلاتِهَا فِي حُجْرَتِهَا وَصَلاتُهَا فِي مَخْدَعِهَا أَفْضَلُ مِنْ صَلاتِهَا فِي بَيْتِهَا ”

رواه أبو داود في سننه وهو في صحيح الجامع 3833

ความว่า “การละหมาดของสตรีในบ้านของเธอนั้นมีความประเสริฐยิ่งกว่าการละหมาดที่ลานบ้านของเธอ และการละหมาดในห้องนอนของเธอนั้นมีความประเสริฐกว่าการละหมาดในบ้านของเธอ”

(บันทึกโดยอบูดาวูดในหนังสือสุนันของท่าน ในหมวดว่าด้วยการละหมาด บรรพการเดินทางไปยังมัสญิดของสตรี ดูหนังสือเศาะฮีหฺอัลญามิอฺ หมายเลข 3833)

มีรายงานจากท่านอุมมุหุมัยดฺ ซึ่งเป็นภรรยาของท่าน อบูหุมัยดฺ อัส-สาอิดีย์ ซึ่งเธอได้มาพบกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วกล่าวแก่ท่านว่า

يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنِّي أُحِبُّ الصَّلاةَ مَعَكَ قَالَ قَدْ عَلِمْتُ أَنَّكِ تُحِبِّينَ الصَّلاةَ مَعِي وَصَلاتُكِ فِي بَيْتِكِ خَيْرٌ لَكِ مِنْ صَلاتِكِ فِي حُجْرَتِكِ وَصَلاتُكِ فِي حُجْرَتِكِ خَيْرٌ مِنْ صَلاتِكِ فِي دَارِكِ وَصَلاتُكِ فِي دَارِكِ خَيْرٌ لَكِ مِنْ صَلاتِكِ فِي مَسْجِدِ قَوْمِكِ وَصَلاتُكِ فِي مَسْجِدِ قَوْمِكِ خَيْرٌ لَكِ مِنْ صَلاتِكِ فِي مَسْجِدِي قَالَ فَأَمَرَتْ فَبُنِيَ لَهَا مَسْجِدٌ فِي أَقْصَى شَيْءٍ مِنْ بَيْتِهَا وَأَظْلَمِهِ فَكَانَتْ تُصَلِّي فِيهِ حَتَّى لَقِيَتْ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ .

 رواه الإمام أحمد ورجال إسناده ثقات

ความว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันชอบที่จะละหมาดร่วมกับท่าน ท่านนบีจึงตอบว่า ฉันรู้ว่าเธอชอบที่จะละหมาดร่วมกับฉัน แต่การละหมาดในห้องนอนของเธอนั้นดียิ่งกว่าการที่เธอละหมาดในห้องโถงของบ้านเธอ และการละหมาดในห้องโถงของบ้านเธอนั้นดียิ่งกว่าการที่เธอละหมาดในลานบ้านของเธอ และการละหมาดในลานบ้านของเธอนั้นดียิ่งกว่าการที่เธอละหมาดในมัสยิดชุมชนของเธอ และการละหมาดในมัสยิดชุมชนของเธอนั้น ดียิ่งกว่าการละหมาดในมัสญิดของฉัน(มัสญิดนะบะวียะฮฺ) เมื่อได้ยินเช่นนั้นท่านหญิงจึงสั่งให้จัดสถานที่ละหมาดของเธอซึ่งเป็นห้องด้านในสุดของบ้านและมืดที่สุด โดยเธอได้ละหมาดที่นั้นจนกระทั่งเธอได้กลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์อัลลอฮ อัซซะวะญัลลา”

(บันทึกโดยอิมามอะหฺมัด สายสืบของสายรายงานมีความน่าเชื่อถือ)

แต่ความประเสริฐเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเธอถูกห้ามในการขออนุญาตเพื่อไปยังมัสญิด ดังที่มีหะดีษซึ่งรายงานจากท่านสาลิม บิน อับดุลลอฮฺ บินอุมัร จากท่านอับดุลลอฮฺ บินอุมัร ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ : لا تَمْنَعُوا نِسَاءَكُمْ الْمَسَاجِدَ إِذَا اسْتَأْذَنَّكُمْ إِلَيْهَا قَالَ فَقَالَ بِلالُ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ وَاللَّهِ لَنَمْنَعُهُنَّ قَالَ فَأَقْبَلَ عَلَيْهِ عَبْدُ اللَّهِ فَسَبَّهُ سَبًّا سَيِّئًا مَا سَمِعْتُهُ سَبَّهُ مِثْلَهُ قَطُّ وَقَالَ أُخْبِرُكَ عَنْ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَتَقُولُ وَاللَّهِ لَنَمْنَعُهُنَّ

 رواه مسلم 667

ความว่า “พวกท่านอย่าได้ห้ามบรรดาสตรีของพวกท่าน (ในการไปยัง) มัสญิดต่าง ๆ เมื่อพวกเธอได้ขออนุญาตพวกท่านเพื่อไปยังที่นั้น ท่าน(สาลิม)ได้เล่าว่า ท่านบิลาล บินอับดุลลอฮฺ จึงกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เราจะห้ามพวกเธออย่างแน่นอนท่าน(สาลิม)ได้เล่าอีกว่า ท่านอับดุลลอฮฺ บินอุมัรจึงไปพบเขา(ท่านบิลาล)แล้วต่อว่าท่านอย่างรุนแรง ซึ่งฉันไม่เคยได้ยินคำต่อว่าที่คล้ายกับนี้เลย แล้วท่าน(อิบนุอุมัรฺ)ก็ได้กล่าวว่า ฉันได้บอกแก่ท่านว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าว แต่ท่านกลับกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เราจะห้ามพวกเธออย่างแน่นอน เช่นนั้นกระนั้นหรือ?”

(บันทึกโดยท่านอิหม่ามมุสลิม 667)

อย่างไรก็ตามสำหรับมุสลิมะห์ที่จะเดินทางไปมัสญิดนั้นมีเงื่อนไขดังนี้

1. เธอจะต้องสวมหิญาบอย่างสมบูรณ์แบบ (อย่างมิดชิด)
2. เธอจะต้องไม่ใส่น้ำหอม
3. เธอจะต้องได้รับการอนุญาตจากสามีเสียก่อน
4. เธอจะต้องไม่ออกไปโดยไม่มีมะหฺรอม เช่นเดินทางโดยลำพังโดยมีคนแปลกหน้าเป็นผู้ขับรถให้และอื่นๆ

หากว่าสตรีท่านใดที่มีพฤติกรรมสวนทางจากเงื่อนไขข้างต้นแล้ว ก็เป็นสิทธิของสามีของเธอหรือผู้ปกครองของเธอที่จะไม่อนุญาตให้เธอเดินทางไปยังมัสญิด และเป็นสิ่งที่จำเป็น(วาญิบ) สำหรับพวกเขาที่ต้องห้ามพวกเธอ

ข้าพเจ้าเคยถามชัยคฺของเรา ชัยคฺอับดุลอะซีซ บินบาซ ว่า การละหมาดตะรอเวียะห์สำหรับสตรีนั้นมีความประเสริฐที่จะละหมาดในมัสญิดหรือไม่ ซึ่งท่านได้คัดค้านความคิดข้างต้นเพราะหะดีษที่กล่าวถึงความประเสริฐของสตรีที่ละหมาดในบ้านของเธอนั้น หมายรวมถึงการละหมาดตะรอเวียะห์และละหมาดอื่นๆ ด้วย อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่ง

และเราขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺให้ทรงประทานความบริสุทธิ์ใจ(อิคลาศ) แก่เรา และแก่พี่น้องมุสลิมของเราทั้งมวล และทรงตอบรับการงานของเราและทรงให้การงานของเรานั้นเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงรักและพึงพอใจด้วยเถิด
ความศาสนติจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา

แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

อ้างอิง

  • ที่มาของฟัตวา >
  • ขอบคุณ อ้างอิงแปลไทย จากเพจ

สรุปแล้ว

มุสลิมะห์สามารถไปละหมาดมัสยิดได้ โดยจำเป็นต้องรักษาเงื่อนไขข้างต้นให้ครบ ส่วนการละหมาดที่บ้านของเธอนั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่า และประเสริฐกว่านั่นเอง

กำลังน่าสนใจตอนนี้

เผย! เคล็ดลับสุขภาพดีขึ้นง่าย ๆ ด้วยนมอูฐสูตรใหม่นำเข้า มีฮาลาล

Most Popular

หมวดหมู่