HomeRef Facebookบทเรียนในรอมฎอน ฮาลากอฮ #1

บทเรียนในรอมฎอน ฮาลากอฮ #1

สรุปฮาลากอฮ ซอย 7 นัดพิเศษ # รอมฎอน 1

1. รอมฎอนเดียว อาจเพียงพอให้เป็นชาวสวรรค์

มีชายสองคน

ชายคนที่หนึ่ง : เป็นคนขยันทำอิบาดะห์และได้ตายชาฮีดในสงครามอีกด้วย,

ชายคนที่สอง : ตายหลังจากชายคนแรกหนึ่งปี แต่กลับได้เข้าสวรรค์ก่อน

ท่านฏ็อลหะฮฺ บิน อุบัยดิลลาฮฺ ได้ฝันเห็นเรื่องราวนี้ และได้ถามท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮูอลัยฮีวะสัลลัม) ถึงสาเหตุที่ชายคนที่สองได้เข้าสวรรค์ก่อน แล้วท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็กล่าวว่า

” ชายคนนั้นยังมีชีวิตอยู่ และยังละหมาดอยู่ใช่หรือไม่ ? แล้วเขาก็ยังมีชีวิตอยู่ทันเดือนรอมฎอน และยังถือศีลอดเดือนรอมฎอนอีกด้วย มิใช่หรือ ? ”

“ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉัน (มุฮัมมัด) อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ (อัลลอฮฺ) แท้จริง ชายคนนั้นกับชายอีกสองคนนั้น ห่างกันไกลเสมือนดังฟ้าและดิน ”

จะเห็นว่าชายคนที่สองได้เข้าสวรรค์ก่อนเพราะเขาได้เต็มที่กับการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน การเต็มที่กับการถือศิลอด ย่อมไม่ใช่แค่การอดอาหารและอดน้ำแน่นอน แต่เป็นการอดและทนจากสิ่งที่ฮารอมและมักรุฮต่าง ๆ

(อ้างอิง : คลิปอธิบายเรื่องราวโดยละเอียด)

2. การถือศีลอด คือวิธีการขอบคุณอัลลอฮฺ

เดือนนี้คือเดือนแห่งการถือศิลอด การถือศิลอดคือวิธีการขอบคุณอัลลอฮที่ยิ่งใหญ่วิธีหนึ่ง

“เมื่อท่านร่อซูล อพยพมาถึงมะดีนะฮฺ ท่านได้เห็นพวกยิวถือศีลอดในวันอาชูรอ ท่านร่อซูลลุลลอฮฺ จึงถามพวกยิวว่า วันนี้เป็นวันอะไร ? พวกยิวตอบว่า วันนี้เป็นวันที่อัลลอฮฺทรงให้ชาวอิสรออีล รอดพ้นจากศัตรู (หมายถึงฟิรอูนหรือฟาโรห์) ” และต่อมาท่านนบีมูซาก็ได้ถือศีลอดในวันนั้นท่านร่อซูล จึงกล่าวว่า : ฉันนั้น สมควรสำหรับท่านนบีมูซายิ่งกว่าพวกเจ้า (หมายถึงท่านร่อซูล มีสิทธิที่จะถือศีลอดนี้ยิ่งกว่าพวกชาวอิสรออีลเสียอีก) ดังนั้น ท่านนบี ก็ถือศีลอดวันอาชูรอ และกำชับให้มุสลิมถือศีลอดในวันอาชูรออีกด้วย ” (บันทึกโดย อิมามอัลบุคอรีย์และมุสลิม)

3. รอมฎอน เดือนแห่งการบริจาค

เดือนนี้คือเดือนแห่งการบริจาค ท่านนบีจะแอคทีฟในการบริจาคมาก เปรียบว่าเร็วยิ่งกว่าสายลม

รายงานจากท่านอิบนิ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِي رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ جِبْرِيلُ وَكَانَ يَلْقَاهُ فِي كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ رَمَضَانَ فَيُدَارِسُهُ الْقُرْآنَ فَلَرَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدُ بِالْخَيْرِ مِنْ الرِّيحِ الْمُرْسَلَ

“ ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นผู้ที่ใจบุญที่สุด และท่านจะใจบุญมากยิ่งขึ้นในเดือนเราะมะฎอน (มากกว่าเดือนอื่นๆ) ขณะที่ท่านญิบรีลได้พบกับท่าน และท่านญิบรีลจะพบกับท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ทุก ๆ คืนในเดือนเราะมะฎอน และจะทบทวนอัลกุรอานกับท่านญิบรีล ท่านเราะซูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นผู้ที่ใจบุญในความดีงามยิ่งกว่าสายลมที่พัดผ่านเสียอีก ”

4. เข้าใจการละหมาดตะรอเวียะห์

การละหมาดตารอเวียฮนั้น เป็นผลบุญที่ยิ่งใหญ่มาก แต่หลายคนให้ความสำคัญกับการละหมาดนี้อย่างไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ใส่ใจในการละหมาดอีชาที่เป็นวาญิบ, ละหมาดรอวาติบ ก่อน-หลัง โดยเฉพาะหลังวักตูอีชา, การอ่านฟาติหะห์แบบผ่าน ๆ เร็ว ๆ เพื่อจะได้มีเวลาอ่านอายะห์อื่น ๆ มากขึ้น ฯลฯ เหล่านี้บ่งบอกถึงความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

5. ศึกษา ซูเราะห์อัลฟาตีฮะห์

หากใครที่อ่านกุรอ่านยาวไม่คล่อง ลองศึกษาฟาติหะฮ์ให้ลึกซึ้ง แล้วจะพบว่าการละหมาดของเรามีรสชาติขึ้นมาก วันหนึ่งอย่างน้อยต้องอ่านในละหมาดฟัรฎูถึง 17 ครั้ง ในละหมาดตารอเวียฮอีกมาก ฉะนั้นถ้าเราลึกซึ่งกับฟาติฮะห์ เราจะได้อินกับละหมาดอย่างน้อย ๆ ก็ 30 นาทีต่อวันแล้ว

6. ความยำเกรง คือเป้าหมายของการถือศีลอด

เป้าหมายของรอมฎอนคือความยำเกรง เป้าหมายของการศิยามก็คือการพิชิตซึ่งความยำเกรง

يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ

” ผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดเป็นฟัรฎู (คือเป็นการบังคับ) แก่พวกเจ้า ดั่งเช่นที่ได้ถูกกำหนดแก่ประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง ”

การละหมาดก็เพือความยำเกรง การบริจาคก็เพื่อความยำเกรง และเมื่อยำเกรงแล้ว เราจะได้รับทางนำจากกุรอ่าน

ذَٰلِكَ الْكِتَابُ لَا رَيْبَ ۛ فِيهِ ۛ هُدًى لِّلْمُتَّقِينَ

” คัมภีร์นี้ ไม่มีความสงสัยใด ๆ ในนั้น เป็นคำแนะนำสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงเท่านั้น “

الَّذِينَ يُؤْمِنُونَ بِالْغَيْبِ وَيُقِيمُونَ الصَّلَاةَ وَمِمَّا رَزَقْنَاهُمْ يُنفِقُونَ

” คือบรรดาผู้ศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขานั้น พวกเขาก็บริจาค “

จะเห็นได้ว่าอัลกุรอ่าน การละหมาด และการบริจาค ซึ่งเป็นอาม้าลที่โดดเด่นของรอมฎอน ล้วนตอบโจทย์เรื่องความยำเกรงทั้งสิ้น ฉะนั้นอย่าถือศิลอดแต่ด้วยปาก แต่จงถือศิลอดด้วยหัวใจ ให้หัวใจไม่มีสิ่งใดและผู้ใดนอกจากอัลลอฮ

7. คนที่ไม่มีวันเบื่อพระดำรัสของอัลลอฮฺ

ขอทิ้งท้ายด้วยวรรคทองคำของซอฮาบะห์ผู้มีชีวิตด้วยกุรอ่าน ผู้รวบรวมจัดทำเล่มกุรอ่านให้เป็นแบบแผนเดียวกัน และผู้ที่เสียชีวิตขณะอ่านกุรอ่านโดยที่มือของท่านยังไม่ทันได้ปิดเล่มกุรอ่าน ในขณะที่ท่านกำลังถือศีลอด

” หากหัวใจของท่านมีความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ท่านจะไม่มีวันเบื่อพระดำรัสของอัลลอฮ ”

(ท่านอุสมาน บิน อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)

# ฮาลากอฮ ซอย 7


อ้างอิง

กำลังน่าสนใจตอนนี้

เผย! เคล็ดลับสุขภาพดีขึ้นง่าย ๆ ด้วยนมอูฐสูตรใหม่นำเข้า มีฮาลาล

Most Popular

หมวดหมู่