คำถาม : ฉันมีเพื่อนคนหนึ่งที่ชอบพูดถึงผู้คนในเดือนรอมฎอนและเดือนอื่น ๆ และแน่นอนว่าเราอยู่ด้วยกันในที่ทำงานแห่งหนึ่งซึ่งเขาไม่เคยแยกจากฉัน โปรดตอบคำถามถึงหุก่มที่ฉันต้องได้ยินคำพูดของเขา ?
การถือศีลอด เพื่อเกิดความยำเกรง
อัลฮัมดุลิลลาฮฺ
ประเด็นที่หนึ่ง
อัลลอฮฺได้สั่งใช้ให้เราถือศีลอดตลอดเดือนรอมฎอน เพื่อให้ผู้ถือศีลอดเกิดความยำเกรง อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
“ โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (อัลบะกอเราะฮฺ 2:183)
ถ้าหากเพื่อนร่วมงานคนนั้น ผู้ซึ่งกำลังกินเนื้อพี่น้องของเขาอยู่ (ด้วยกับการนินทา) ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเดือนนี้ และเมื่อไหร่กันเล่าที่เขาจะหันมาให้ความสำคัญ เตาบะฮฺ และเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ ?
มีรายงานว่าท่านอบูฮูรอยเราะฮฺ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) กล่าวว่า ท่านรอซูลลุลลอฮฺ (ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
مَنْ لَمْ يَدَعْ قَوْلَ الزُّورِ وَالْعَمَلَ بِهِ فَلَيْسَ لِلَّهِ حَاجَةٌ فِي أَنْ يَدَعَ طَعَامَهُ وَشَرَابَهُ
“ผู้ใดก็ตามที่ไม่ละเว้นจากการพูดเท็จ และยังคงปฏิบัติมัน ดังนั้น อัลลอฮฺก็ไม่มีความต้องการการละทิ้งอาหาร และการละทิ้งการดื่มกินของเขา” (บันทึกโดยอิหม่ามอัลบุคอรียฺ, 1804)
ท่านอุมัร อิบนฺค็อตตอบ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) กล่าวว่า
” ليس الصيام من الشراب والطعام وحده ، ولكنه من الكذب والباطل واللغو “
“ การถือศีลอดมิใช่แค่ (การอด) อาหาร และเครื่องดื่ม แต่ทว่ามัน คือ การละเว้นจากการโกหก พูดความเท็จ และการพูดไร้สาระ ”
ท่านญาบิร อิบนฺอับดุลลอฮฺ อัลอันศอรียฺ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) กล่าวว่า
” إذا صمتَ فليصُم سمعك وبصرك ولسانك عن الكذب والمأثم ، ودع أذى الخادم ، وليكن عليك وقار وسكينة يوم صومك ، ولا تجعل يوم فطرك ويوم صومك سواء “
“ เมื่อท่านถือศีลอด ก็จงให้การได้ยิน การมองเห็น และลิ้นของท่าน ถือศีลอดจากการโกหก และความผิดบาป หยุดการด่าทอทาสรับใช้ และจงอยู่อย่างสงบเยือกเย็นในวันที่ท่านถือศีลอด จงอย่าให้วันที่ท่านไม่ได้ถือศีลอดเป็นเหมือนกับวันที่ท่านถือศีลอด “
ผู้ถือศีลอด ที่ขาดทุน
สำหรับผู้ที่นินทาผู้อื่น และกินเนื้อพี่น้องของเขา จงพึงระวังไว้เถิด การถือศีลอดของท่านนั้นขาดทุน และสิ่งที่ท่านจะได้รับ หาใช่สิ่งใดไม่นอกจากความหิวกระหาย
มีรายงานว่าท่านอบูฮูรอยเราะฮฺ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) กล่าวว่า ท่านรอซูลลุลลอฮุ (ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
رُبَّ صَائِمٍ حَظُّهُ مِنْ صِيَامِهِ الْجُوعُ وَالْعَطَشُ ، وَرُبَّ قَائِمٍ حَظُّهُ مِنْ قِيَامِهِ السَّهَرُ
“ จะมีผู้ที่ถือศีลอด และไม่ได้รับสิ่งใดเลยนอกจากความหิว และความกระหาย และจะมีผู้ที่ละหมาดกียาม แต่สิ่งที่ได้รับมาก็คือการอดหลับอดนอน ” (รายงานโดยอะฮฺหมัด)
อุละมาอฺบางส่วนได้ให้ทัศนะว่าการทำบาปนั้นทำให้เสียศีลอด
ท่านฮัฟเศาะฮฺ บินตฺซีรีน (รอฮิมาฮัลลอฮฺ) กล่าวว่า
الصيام جُنَّة ، ما لم يخرقها صاحبها ، وخرقها الغيبة ! .
“ การถือศีลอด คือ เกราะป้องกัน ตราบใดที่ผู้ถือศีลอดไม่ได้ทำให้เป็นโมฆะ และสิ่งที่ทำให้มันโมฆะ คือ การนินทา”
มีรายงานว่าท่านอิบรอฮีม อันนะคออียฺ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
: كانوا يقولون : الكذب يفطِّر الصائم !
“ มีการกล่าวกันว่า การโกหกนั้นทำให้เสียศีลอด ”
ซึ่งเป็นมุมมองของบรรดาสะลัฟบางส่วนเช่นกัน ที่มองว่าการทำบาปทุกประเภท จะทำให้เสียศีลอด และใครก็ตามที่ทำบาปในช่วงถือศีลอดจำเป็นจะต้องถือศีลอดชดใช้ ดังเช่น ท่านอิหม่ามอัลเอาซาอียฺ เช่นเดียวกันกับอิบนฺ ฮัซมฺ อัซซอฮีรียฺ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ)
แต่ทว่าอุละมาอฺส่วนมากให้ความเห็นว่าการทำบาปนั้นจะลดทอนผลบุญการถือศีลอด แต่ไม่ทำให้เสียศีลอด ซึ่งเป็นทัศนะที่ถูกต้อง ดูเพิ่มเติมในคำถามหมายเลข 50063
การนินทา คือ บาปใหญ่
ประเด็นที่สอง
การนินทา คือ บาปใหญ่ อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ได้ทรงตรัสว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اجْتَنِبُوا كَثِيراً مِنَ الظَّنِّ إِنَّ بَعْضَ الظَّنِّ إِثْمٌ وَلا تَجَسَّسُوا وَلا يَغْتَبْ بَعْضُكُمْ بَعْضاً أَيُحِبُّ أَحَدُكُمْ أَنْ يَأْكُلَ لَحْمَ أَخِيهِ مَيْتاً فَكَرِهْتُمُوهُ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ تَوَّابٌ رَحِيمٌ
” โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย! พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากส่วนใหญ่ของการสงสัย แท้จริงการสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป และพวกเจ้าอย่าสอดแนม และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งในหมู่พวกเจ้านั้นชอบที่จะกินเนื้อพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้นหรือ ? พวกเจ้าย่อมเกลียดมัน และจงยำเกรง
อัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ ” (อัลหุญุร็อต 49:12)
มีรายงานจากท่านอนัส อิบนฺมาลิก กล่าวว่า ท่านรอซูลลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
لَمَّا عَرَجَ بِي رَبِّي عَزَّ وَجَلَّ مَرَرْتُ بِقَوْمٍ لَهُمْ أَظْفَارٌ مِنْ نُحَاسٍ يَخْمُشُونَ وُجُوهَهُمْ وَصُدُورَهُمْ ، فَقُلْتُ : مَنْ هَؤُلاءِ يَا جِبْرِيلُ ؟ قَالَ : هَؤُلاءِ الَّذِينَ يَأْكُلُونَ لُحُومَ النَّاسِ وَيَقَعُونَ فِي أَعْرَاضِهِمْ .
“ เมื่อพระเจ้าของฉันได้นำฉันขึ้นไปบนฟากฟ้า ฉันได้ผ่านกลุ่มชนหนึ่ง ผู้ซึ่งมีเล็บเป็นทองแดง และกำลังขีดข่วนหน้า และหน้าอกของพวกเขา ” ฉันจึงถามว่า “ โอ้ญิบรีลเอ๋ย คนพวกนี้เป็นใครกันหรือ? ” เขาได้ตอบว่า “นี่คือผู้ที่เคยกินเนื้อพี่น้องของเขา และหยามเกียรติพี่น้องของเขา ” (อบูดาวูด)
ต้องตำหนิเพื่อนที่ชอบนินทา
ประเด็นที่สาม
ท่านต้องตำหนิเพื่อนของท่าน และไม่ยอมรับการกระทำของเขา
มีรายงานว่าท่านอบูซะอีด อัลคุฎรียฺ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ , فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ , فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ , وَذَلِكَ أَضْعَفُ الإِيمَانِ
“ ผู้ใดเห็นความชั่วดังนั้นจงรีบเร่งทำการเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือ (อำนาจ) ของเขา หากเขาไม่มีความสามารถที่จะทำการเปลี่ยนแปลงได้ จงใช้ลิ้น (วาจา) ในการเปลี่ยนแปลงมัน หากเขาไม่มีความสามารถจงใช้จิตใจ (ให้รังเกียจการกระทำความชั่วนั้น) ดังกล่าวนั้น คือ ระดับอีหม่านที่อ่อนที่สุด” (รายงานโดยมุสลิม, 49)
ท่านอิหม่ามอันนะวะวียฺ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) ได้กล่าวไว้มีความว่า
” พึงทราบเถิดว่า ผู้ที่ได้ยินการนินทาถึงมุสลิมนั้น จะต้องปฏิเสธการกระทำนั้น และตำหนิผู้ที่กล่าวมันออกมา ถ้าไม่ตำหนิด้วยวาจาก็ให้ทำด้วยการกระทำ ถ้าไม่สามารถด้วยการกระทำ หรือวาจา ก็จงออกห่างจากวงสนทนานั้นเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเขาได้ยินเกี่ยวกับชัยคฺ (อาจารย์) ของเขา หรือผู้ที่มีสิทธิเหนือเขา หรือผู้ที่เคร่งครัด เป็นคนดี ก็จงให้ความระมัดระวังถึงสิ่งที่เราจะกล่าวออกมา “
ในหนังสือของอิหม่ามอัตติรมีซียฺ รายงานจากท่านอบูดัรดาอฺ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) ว่าท่านนบี (ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
( مَنْ رَدَّ عَنْ عِرْضِ أخِيهِ رَدَّ اللَّهُ عَنْ وَجْهِهِ النَّارَ يَوْمَ القِيامَةِ )
“ ผู้ใดก็ตามที่ปกป้องเกียรติพี่น้องของเขา อัลลอฮฺจะทรงปกป้องเขาจากไฟในวันกียามะฮฺ ” (อัตติรมีซียฺ)
สิ้นสุดการอ้าง ในหนังสืออัลกัซการ
มีคนถามชัยคฺอับดุลอะซีซ อิบนฺบาซ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) ว่า
ฉันเป็นสาววัยรุ่น และรังเกียจการนินทา บางครั้งฉันนั่งกับผู้คนที่พูดถึงเรื่องของผู้อื่น นินทาพวกเขา ในใจฉันรู้สึกเกลียด และขยะแขยงสิ่งนี้ แต่ฉันรู้สึกอายที่จะเอ่ยห้ามไม่ให้พวกเขากระทำ และไม่มีทางที่ฉันจะหลีกหนีจากพวกพวกไปได้ อัลลอฮฺทรงรู้ดีว่าฉันนั้นต้องการให้พวกเขาพูดเรื่องอื่นแค่ไหน ฉันจะได้รับบาปจากการนั่งร่วมกับพวกเขาไหม? ฉันควรทำอย่างไร ? ขออัลลอฮฺช่วยเหลือท่านให้ได้กระทำสิ่งที่ดีที่สุดแก่อัลอิสลามและบรรดามุสลิม
ท่านได้ตอบว่า :
” มันเป็นบาปสำหรับท่าน นอกจากว่าท่านได้ตำหนิความชั่วร้ายอันนั้น ถ้าพวกเขาตอบรับสิ่งที่ท่านพูด ก็จงสรรเสริญอัลลอฮฺ หรือไม่เช่นนั้น ท่านก็ต้องหนีจากพวกเขา และอย่าได้นั่งร่วมกับพวกเขา เพราะ อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า
( وَإِذَا رَأَيْتَ الَّذِينَ يَخُوضُونَ فِي آَيَاتِنَا فَأَعْرِضْ عَنْهُمْ حَتَّى يَخُوضُوا فِي حَدِيثٍ غَيْرِهِ وَإِمَّا يُنْسِيَنَّكَ الشَّيْطَانُ فَلا تَقْعُدْ بَعْدَ الذِّكْرَى مَعَ الْقَوْمِ الظَّالِمِينَ )
“ และเมื่อเจ้าเห็นบรรดาผู้ซึ่งกำลังวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในบรรดาโองการของเรา แล้ว ก็จงออกห่างจากพวกเขาเสีย จนกว่าพวกเขาจะวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องอื่นจากนั้น และถ้าชัยฏอนทำให้เจ้าลืมแล้ว ก็จงอย่างนั่งรวมกับพวกที่อธรรมเหล่านั้นต่อไป หลังจากที่มีการนึกขึ้นได้ ” (ซูเราะห์อัลอันอาม 6:68)
( وَقَدْ نَزَّلَ عَلَيْكُمْ فِي الْكِتَابِ أَنْ إِذَا سَمِعْتُمْ آَيَاتِ اللَّهِ يُكْفَرُ بِهَا وَيُسْتَهْزَأُ بِهَا فَلَا تَقْعُدُوا مَعَهُمْ حَتَّى يَخُوضُوا فِي حَدِيثٍ غَيْرِهِ إِنَّكُمْ إِذًا مِثْلُهُمْ )
“ และแน่นอน อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่พวกเจ้าแล้วในคัมภีร์ นั้นว่า เมื่อพวกเจ้าได้ยินบรรดาโองการของอัลลอฮฺโองการเหล่านั้นก็ถูกปฏิเสธศรัทธา และถูกเย้ยหยัน ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่านั่งร่วมกับพวกเขา จนกว่าพวกเขาจะพูดคุยกันในเรื่องอื่นจากนั้น แท้จริงพวกเจ้านั้น-ถ้าเช่นนั้นแล้วก็เหมือนพวกเขา ” (ซูเราะห์อันนิซาอฺ 4:104)
และท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่า
( مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ , فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ , فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ , وَذَلِكَ أَضْعَفُ الإِيمَانِ )
“ ผู้ใดเห็นความชั่วดังนั้นจงรีบเร่งทำการเปลี่ยนแปลงมัน ด้วยมือ (อำนาจ) ของเขา หากเขาไม่มีความสามารถที่จะทำการเปลี่ยนแปลงได้ จงใช้ลิ้น (วาจา) ในการเปลี่ยนแปลงมัน หากเขาไม่มีความสามารถจงใช้จิตใจ (ให้รังเกียจการกระทำความชั่วนั้น) ดังกล่าวนั้นคือระดับอีหม่านที่อ่อนที่สุด ” (บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม)
และยังมีอายะฮฺอัลกุรอาน อัลฮะดีษอีกมากมายที่กล่าวถึงในทำนองนี้ และอัลลอฮฺคือผู้ทรงเกรียงไกร “
สิ้นสุดการอ้าง จากมัจมูอฺฟะตาวา อัชชัยคฺ อิบนฺบาซ
สรุป
ดังนั้นจงพยายามตักเตือนเพื่อนของท่านเกี่ยวกับฮูกุ่มของการนินทา อธิบายให้เขาฟังถึงบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำ เพื่อให้เขาเลิกจากความผิดบาปนี้ และจงเตือนเขาว่าการนินทาในเดือนรอมฎอนนั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายขึ้นไปอีก และจากนั้น ท่านควรที่จะหลีกเลี่ยงการนั่งร่วมกับเขา หากเขายังคงไม่ตอบสนองต่อคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ แต่ถ้าหากท่านเป็นผู้ร่วมงานกับเขา และไม่สามารถหลีกหนีจากสถานที่นั้นได้ ก็จงเลี่ยงการรับฟัง และไม่ใส่ใจต่อสิ่งที่เขาพูด ท่านอาจจะเตือนเขาไปว่า จะนำเรื่องไปรายงานยังผู้บังคับบัญชาของเขา หรือสำทับว่าจะนำเรื่องนี้ไปบอกกับคนที่เขาพูดถึง เพราะว่าถึงแม้เขาจะไม่เกรงกลัวอัลลอฮฺ เขาก็อาจจะกลัวผู้คน และหยุดนินทาผู้อื่น จากนั้นท่านก็จะมีโอกาสน้อยลงที่จะได้รับฟังการพูดอันน่ารำคาญของเขา
วัลลอฮุอะอฺลัม