ถือศีลอดทำสิ่งนั้นได้ไหม ? จะเสียศีลอดไหม ?
รวบรวมการตอบคำถามยอดฮิต เกี่ยวกับปัญหาที่มักพบเจอในช่วงถือศีลอดเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นคำตอบ/ฟัตวาจากนักวิชาการร่วมสมัย
ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีๆ เราก็มักจะเจอคำถามเหล่านี้อยู่เสมอ สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด สิ่งที่ไม่ทำให้เสียศีลอด มีอะไรกันบ้างไปอ่านต่อกันเลยครับ
สารบัญคำถาม (คลิกที่หัวข้อได้เลย)
- 1. กลืนน้ำลายได้ไหม
- 2. ฉีดยาขณะถือศีลอดได้ไหม
- 3. การฟังเพลง , ดนตรี ขณะถือศีลอด ?
- 4. อาบน้ำ เสียศีลอดไหม
- 5. ถอนฟัน , อุดฟัน , ขูดหินปูน ทำได้ไหม
- 6. การเปลี่ยนถ่ายเลือดสำหรับคนป่วยโรคไต
- 7. ฉีดอินซูลิน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- 8. กรอกเลือด ช่วงถือศีลอด
- 9. ให้น้ำเกลือ เสียศีลอดไหม
- 10. หยอดจมูก ขณะถือศีลอด
- 11. ใช้ยาหยอดตา ขณะถือศีลอด
- 12. ใช้ยาหยอดหู ขณะถือศีลอด
- 13. สำเร็จความใคร่ (หลั่งน้ำอสุจิ)
- 14. กลืนอาหารจากการเรอ
- 15. ว่ายน้ำ ได้ไหม
- 16. แปรงฟัน ขณะถือศีลอด
- 17. ใช้น้ำยาบ้วนปาก เสียศีลอดไหม
- 18. กลืนเสมหะ ขณะถือศีลอด
- 19. ใช้ไม้มิสว๊าก ได้ไหม
- 20. บ้วนปาก เอาน้ำเข้าจมูก ได้ไหม
- 21. ฝันเปียก เสียศีลอดไหม
- 22. ใช้ยาเหน็บทวาร ได้ไหม
- 23. ใช้น้ำหอม ขณะถือศีลอด
- 24. เจาะเลือด ขณะถือศีลอด
- 25. บริจาคเลือด ได้ไหม
- 26. ฉีดสารอาหาร สำหรับผู้ถือศีลอด
- บทสรุปสั้น ๆ
1. กลืนน้ำลาย ขณะถือศีลอด
ไม่มีปัญหาใด ๆ สำหรับการกลืนน้ำลาย เนื่องด้วยความยากลำบาก และไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงมันได้
(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/313)
2. ฉีดยาขณะถือศีลอดได้ไหม
หนึ่งในสิ่งที่ไม่ทำให้เสียศีลอดคือการฉีดยาที่ไม่ใช่การฉีดเพื่อให้สารอาหาร แต่การประวิงไปยังเวลากลางคืนนั้น เป็นการสมควรและระมัดระวังมากกว่า (ดีกว่า)
(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/260)
3. การฟังเพลง , เสียงดนตรี ขณะถือศีลอด
มันเป็นสิ่งต้องห้าม แต่ไม่ทำให้เสียศีลอด แต่มันทำให้ผลบุญของการถือศีลอดบกพร่องลงไป
(islamqa)
4. อาบน้ำ เสียศีลอดไหม
อนุญาต และไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งท่านรอศูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เคยเอาน้ำรดศรีษะ เนื่องจากอากาศร้อนหรือกระหายน้ำในขณะที่ท่านกำลังถือศีลอด
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/286)
5. ถอนฟัน , อุดฟัน , ขูดหินปูน ทำได้ไหม
การขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน ฉีดยาชา ไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการถือศีลอด แต่ต้องระวังอย่ากลืนสิ่งใดลงไป
(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/259)
6. การเปลี่ยนถ่ายเลือดสำหรับคนป่วยโรคไต
เขาต้องชดใช้ เนื่องจากสิ่งที่เขาได้รับเป็นอาหาร นั่นคือเลือดบริสุทธิ์ และถ้าหากเขาได้รับอาหารด้วยกับสารอาหารอื่นด้วย มันก็จะเป็นิ่งที่ทำให้เสียศีลอดอีกประการหนึ่ง
(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/275)
7. ฉีดอินซูลิน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ไม่มีความผิดสำหรับท่านในการฉีดสิ่งดังกล่าว เพื่อการรักษาในช่วงกลางวันรอมฎอน และไม่มีการชดใช้สำหรับท่าน แต่ถ้าหากสามารถใช้มันในเวลากลางคืนโดยไม่มีความลำบากใด ๆ ต่อท่าน มันก็จะสมควรยิ่งกว่า
(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/260)
8. กรอกเลือด ช่วงถือศีลอด
“ผู้ที่ทำการกรอกเลือด และผู้ถูกกรอกเลือด เสียศีลอด”
หะดีษบทนี้เป็นหะดีษศ่อเฮียะห์ ศึ่งอิหม่ามอะหมัดและท่านอื่น ๆ ได้ให้สถานะศ่อเฮียะห์ ความหมายของมันก็คือ เมื่อผู้ถือศีลอดได้กรอกเลือดให้ผู้อื่น ถือว่าเขาเสียศีลอด และเมื่อคนอื่นกรอกเลือดให้เขา เขาก็เสียศีลอด ดังกล่าวนั้น เนื่องจากในการกรอกเลือด มีผู้ลงมือกรอกและผู้ได้รับการกรอกให้
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/240)
9. ให้น้ำเกลือ ขณะถือศีลอด
การให้น้ำเกลือแก่ผู้ป่วยนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เสียศีลอด เพราะมันอยู่ในชนิดสารชนิดที่ให้อาหาร มันเข้าสู่ภายใน และร่างการก็ได้รับประโยชน์จากมัน
(islamqa)
10. หยอดจมูก ขณะถือศีลอด
ถ้าหากเขาหยอดจมูกของเขา แล้วมันเข้าไปสู่ท้องของเขา เขาก็เสียศีลอด ถ้าหากเจตนาทำ
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/205)
11. ใช้ยาหยอดตา ขณะถือศีลอด
ไม่มีปัญหาสำหรับผู้ถือศีลอด ที่เขาจะหยอดตา และถ้าหากมีรสชาติของมันในลำคอ เขาก็ไม่เสียศีลอด เพราะมันไม่ใช่การกินการดื่ม และไม่ได้อยู่ในความหมายของการกินการดื่ม
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/205)
12. ใช้ยาหยอดหู ขณะถือศีลอด
ไม่มีปัญหาสำหรับผู้ถือศีลอด ที่เขาจะหยอดหู ถึงแม้จะได้รสชาติในลำคอของเขาก็ตาม เขาก็ไม่เสียศีลอดด้วยสิ่งนั้น เพราะมันไม่ใช่การกินการดื่ม อีกทั้งไม่ได้อยู่ในความหมายของการกินและการดื่ม
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/205)
13. สำเร็จความใคร่ (หลั่งน้ำอสุจิ)
การสําเร็จความใคร่ด้วยตนเองในช่วงกลางวันรอมฎอน ทำให้เสียศีลอด ถ้าหากเขาเจตนากระทำแล้วหลั่งอสุจิ และเขาต้องชดใช้ ถ้าหากเป็นการถือศีลอดฟัรฎู อีกทั้งการสำเร็จความใคร่นั้น ไม่อนุญาตให้กระทำ ทั้งในขณะถือศีลอดและไม่ได้ถือศีลอด ซึ่งมันคือสิ่งที่ผู้คนเรียกกันว่า “พฤติกรรมลับ”
(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/267)
14. กลืนอาหารจากการเรอ
ถ้าหากเขาเรอแล้วมีลมออกมาจากกระเพาะ ซึ่งอาจจะมีอาหารหรือน้ำขึ้นมาด้วย ดังนั้นถ้าหากมันยังขึ้นมาไม่ถึงปาก แล้วเขากลืนมันลงไป ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/232)
15. ว่ายน้ำ ได้ไหม
ไม่มีปัญหาสำหรับผู้ที่ถือศีลอดที่จะว่ายน้ำ เขาสามารถว่ายน้ำได้ตามที่เขาต้องการ และสามารถดำลงไปในน้ำได้ แต่จะต้องระวังไม่ให้น้ำลงไปสู้ท้องของเขา
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/284)
16. แปรงฟัน ขณะถือศีลอด
ใช้แปรงสีฟันไม่ทำเสียศีลอด แต่ไม่ควรใช้ขณะถือศีลอดเพราะมันมีฤทธิ์แรง (ยาสีฟัน)
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/228)
17. ใช้น้ำยาบ้วนปาก เสียศีลอดไหม
ไม่ทำศีลอดเสียหาย ถ้าเขาไม่กลืนมันลงไป แต่อย่าใช้มันนอกจากมีความจำป็นเท่านั้น และมันไม่ทำให้ท่านเสียศีลอด ถ้าหากไม่มีสิ่งใดเข้าไปสู่ท้องของท่าน
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19)
18. กลืนเสมหะ ขณะถือศีลอด
ถ้าไม่หากมันยังขึ้นมาไม่ถึงปาก มันก็ไม่ทำให้เสียศีลอด แต่ถ้ามันมาถึงปากแล้วกลืนลงไปนั้น มีสองทรรศนะ :
(1). ทำให้เสียศีลอด โดยเอาไปผนวกกับการกินและดื่ม
(2). ไม่ทำให้เสียศีลอด โดยไปผนวกกับการกลืนน้ำลาย
แต่ที่สำคัญคือการที่มนุษย์ละทิ้งการกลืนเสมหะ และพยายามไม่ขากมันขึ้นมาจากส่วนลึกของลำคอขึ้นมายังปากของเขา แต่ถ้ามันออกมาถึงปากแล้ว ก็ให้เขาถ่มมันเสีย ไม่ว่าเขาจะถือศีลอดหรือไม่ก็ตาม ส่วนเรื่องการทำให้เสียศีลอดนั้น ต้องการหลักฐานมายืนยัน
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/355)
19. ใช้ไม้มิสว๊าก ได้ไหม
การแปรงฟัน(ด้วยไม้มิซว๊าก) เป็นสุนนะห์ สำหรับผู้ถือศีลอดเหมือนกัยคนอื่นๆ(ที่ไม่ถือศีลอด) ไม่ว่าจะช่วงเช้าหรีือช่วงเย็นก็ตาม
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/228)
20. บ้วนปาก เอาน้ำเข้าจมูก ได้ไหม
ผู้ถือศีลอดสามารถที่จะบ้วนปาก และสูดน้ำเข้าจมูกได้ แต่จะต้องไม่ลึกที่เกรงว่าน้ำจะลงไปสู่ลำคอของเขา
(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 10/280)
21. ฝันเปียก เสียศีลอดไหม
ถ้าหากผู้ถือศีลอดฝันเปียกช่วงกลางวันขณะถือศีลอด มันไม่ส่งผลใด ๆ ต่อเขา เพราะไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของเขา อีกทั้งคนนอนหลับนั้น ปากกาถูกยกไปจากเขา (ไม่ถูกเอาผิด)
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/284)
22. ใช้ยาเหน็บทวาร ได้ไหม
ไม่มีปัญหาสำหรับผู้ถือศีลอดจะใช้ยาเหน็บที่จะถูกใส่เข้าไปทางทวารของเขา ถ้าหากเขาป่วย เพราะสิ่งนี้ไม่ใช่การกิน การดื่ม และไม่ได้อยู่ในความหมายของการกินและดื่ม
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/205)
23. ใช้น้ำหอม ขณะถือศีลอด
อนุญาตสำหรับผู้ถือศีลอด ที่เขาจะใช้น้ำหอมตามที่เขาต้องการ และจะไม่เสียศีลอดด้วยสิ่งดังกล่าว
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/24)
24. เจาะเลือด ขณะถือศีลอด
การเจาะเลือดสำหรับผู้ถือศีลอด หมายถึงเอาตัวอย่างจากเลือดของเขามาเพื่อทำการตรวจนั้น เป็นสิ่งที่อนุญาตสามารถกระทำได้ ไม่มีปัญหาแต่งอย่างใด
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19)
25. บริจาคเลือด ได้ไหม
การบริจาคเลือดนั้น คือการเอาเลือดออกจำนวนมาก จึงมีหุก่มเดียวกันกับการกรอกเลือด นั้นคือทำให้เสียศีลอด
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19)
26. ฉีดสารอาหาร สำหรับผู้ถือศีลอด
ถ้าหากมีการฉีดสารอาหารให้คนๆหนึ่งที่มันทำให้เขาเพียงพอจากอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งด้วยสิ่งดังกล่าวมันเสมือนการกินและการดื่ม และการถือศีลอดก็ใช้ไม่ได้สำหรับเขา
(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/213)
ขอบคุณบทความ จากเพจ อิสลามตามแบบฉบับ
สรุปให้อีกครั้ง
การเปลี่ยนถ่ายเลือด, การกรอกเลือด,ให้น้ำเกลือ, ยาหยอดจมูกเข้าถึงท้อง, สำเร็จความใคร่(หลังอสุจิโดยเจตนา), บริจาคเลือด, ฉีดสารอาหาร
กลืนน้ำลาย, ฉีดยาเพื่อการรักษา, อาบน้ำ, ขูดหินปูน ถอนฟัน อุดฟัน, ฉีดอินซูลินเพื่อการรักษา, ใช้ยาหยอดตา, ใช้ยาหยอดหู, กลืนอาหารที่ขึ้นมากับการเรอ(ยังไม่ถึงปาก), ว่ายน้ำ, ใช้แปรงฟัน, ใช้น้ำยาบ้วนปาก, กลืนเสมหะ(หากยังขึ้นมาไม่ถึงปาก), ใช้ไม้มิซว๊าก, บ้วนปาก สูดน้ำเข้าจมูก, ฝันเปียก, ใช้ยาเหน็บทวาร, ใช้น้ำหอม, เจาะเลือดเพื่อตรวจ
ฟังเพลง, และการทำสิ่งที่ไม่ดีที่เป็นบาปต่าง ๆ
เป็นไงกันบ้างครับกับความรู้เรื่อง สิ่งทำให้เสียศีลอด และไม่เสียศีลอด หากรู้อ่านมีประโยชน์ อย่าลืมแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ด้วยน่ะครับ