Home Blog

ถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาล ก่อนถือศีลอดชดใช้ได้หรือไม่ ?

ถือศีลอด 6 วันเชาวาล

มีคำถาม เรื่องถือศีลอดสุนัตในเดือนเชาวาล ก่อนการถือชด

หากว่าคน ๆ หนึ่งยังคงมีการถือศีลอดชดใช้เราะมะฎอนค้างอยู่ เขาจะต้องชดใช้ก่อนที่จะถือศีลอด 6 วันเชาวาลหรือไม่ ? เพราะท่านรอซูลﷺกล่าวว่า :

مَنْ صَامَ رَمَضَانَ، ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ، كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ.

“ผู้ใดที่ถือศีลอดในรอมฎอน หลังจากนั้นเขาติดตามมันด้วย(การถือศีลอด) 6 วันของเชาวาล เปรียบเสมือนการถือศีลอดตลอดทั้งปี” (บันทึกโดยมุสลิม)

คำตอบ โดย ชัยคฺ ศอลิหฺ บิน อับดุลอะซีซ อาลุชชัยคฺ หะฟิซอฮุลลอฮฺ

ในด้านของการเข้าใจหะดีษบทนี้นั้น :

– นักวิชาการบางส่วนได้พิจารณาคำพูดของท่านนบีﷺที่ว่า :

مَنْ صَامَ رَمَضَانَ، ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ، كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ.

“ผู้ใดถือศีลอดในรอมฎอน หลังจากนั้นเขาติดตามมันด้วย 6 วันของเชาวาล เปรียบเสมือนการถือศีลอดตลอดทั้งปี” (บันทึกโดยมุสลิม)

ตรงนี้ท่านได้กล่าวว่า :

ثُمَّ أَتْبَعَهُ.

“หลังจากนั้นเขาติดตามมัน”

ซึ่งการติดตาม(الاتْباع)นั้น เวลาของมันคือเดือนเชาวาล

ดังนั้น การเจาะจงการติดตามด้วยกับวัน ว่าจะต้องหลังจากวันของการถือศีลอดฟัรฎู ต้องหลังจากการชดใช้ศีลอดฟัรฎูเสียก่อนนั้น ต้องการหลักฐานมายืนยัน ฉะนั้น จึงบ่งชี้ว่าการติดตามนั้น เวลาของมันคือเดือนเชาวาลตลอดทั้งเดือน

ซึ่งในเรื่องนี้ ทั้งผู้ที่ถือศีลอดในรอมฎอนโดยยังต้องชดใช้ หรือไม่ต้องชดใช้ ล้วนเเล้วเเต่เข้าอยู่ในความหมายนี้ทั้งสิ้น เข้าอยู่ในความหมายที่ว่า “ผู้ใดถือศีลอดในรอมฎอน หลังจากนั้นเขาติดตามมัน… ”

ถือศีลอดรอมฎอน หมายถึง : เดือนรอมฎอน ไม่ได้หมายถึงวันของมัน ที่มี 29 หรือ 30 วัน เเต่หมายถึงเขาถือศีลอดในรอมฎอนร่วมกับบรรดามุสลิม เเล้วหลังจากนั้นเขาติดตามมันด้วย 6 วันของเชาวาล ดังนั้นการติดตาม เวลาของมันคือเชาวาล

พวกเขาจึงกล่าวว่า : ความหมายคือ อนุญาตที่เขาจะถือศีลอดก่อนจะชดใช้ฟัรฎูได้

– ส่วนนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่า : คำพูดที่ว่า : “ผู้ใดถือศีลอดในรอมฎอน” เขายังไม่ถูกเรียกว่าผู้ถือศีลอดของรอมฎอน จนกว่าเขาจะถือศีลอดครบทั้งเดือน ตลอดจนจะต้องชดใช้เสียก่อน ดังนั้น ถ้าหากเขามีการถือศีลอดชดใช้ค้างอยู่ นั่นเเสดงว่าเขายังไม่ได้ถือศีลอดตลอดทั้งเดือน ดังนั้นคำพูดของท่านนบีﷺที่ว่า : “ผู้ใดถือศีลอดในรอมฎอน” หมายถึง ถือศีลอดทั้งเดือน เเละยังไม่ถูกเรียกว่าเป็นผู้ถือศีลอดของเดือน จนกว่าเขาจะถือศีลอดชดใช้ในส่วนที่พลาดไปเสียก่อน

ดังนั้น หะดีษบทนี้ได้ทั้งสองด้าน : เป็นหลักฐานให้เเก่ทั้งนักวิชาการกลุ่มนั้น เเละเป็นหลักฐานให้เเก่นักวิชาการกลุ่มนี้ด้วย


สรุปคำถาม

อนุญาตหรือไม่ที่ฉันจะถือศีลอด 6 วันเชาวาล หรือ 9 วันซุลฮิจญะฮฺ ก่อนที่จะถือศีลอดชดใช้ ?

สรุปคำตอบ

สำหรับฉัน การถือศีลอดสมัครใจ เช่น ถือศีลอด 6 วันเชาวาล , 9 วันซุลฮิจญะฮฺนั้น ไม่มีปัญหาเเต่อย่างใดที่จะถือศีลอดก่อนชดใช้(ศีลอดฟัรฎู)

الأجوبة والبحوث والمدارسات ٣/٤٦٢

ยูนุส อ่าวน้ำ

2 เชาวาล ฮ.ศ.1443


อ้างอิง

  • ขอบคุณบทความจากเฟสบุค Yunus Aonam

คุณอาจจะสนใจ :

วิธีดุอาอฺกุนูตในละหมาดวิเตร และประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ดุอากุนูต ในละหมาดวิเตร

มีบัญญัติให้อ่านดุอาอฺกุนูตในละหมาดวิตรฺ ซึ่งมีรายงานจากท่านหะซัน บิน อะลียฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา ในบางสายรายงาน จากสายรายงานของชุอฺบะฮฺ บิน อัลฮัจญาจ อัลกูฟียฺ ในบันทึกของอัตติรมิซียฺและท่านอื่น ๆ ว่าแท้จริงท่านนบีﷺได้สอน(ท่านหะซัน)ให้กล่าวในดุอาอฺกุนูตว่า :

اللَّهُمَّ اهْدِنِي فِيمَنْ هَدَيْتَ، وَعَافِنِي فِيمَنْ عَافَيْتَ، وَتَوَلَّنِي فِيمَنْ تَوَلَّيْتَ….

(ไปจนกระทั่งจบหะดีษ)

ซึ่งการสอนของท่านนบีﷺได้บ่งชี้ว่าท่านได้บัญญัติการอ่านดุอาอฺบทนี้ ถึงแม้จะไม่มีรายงานว่าตัวของท่านนบีﷺเองเคยขอดุอาอฺบทนี้ในละหมาดก็ตาม ด้วยเหตุนี้เอง อิหม่ามอะหมัด รอหิมาฮุลลอฮฺ จึงกล่าวว่า :“ไม่มีหลักฐานบทใดที่ถูกรายงานจากท่านนบีﷺเกี่ยวกับการดุอาอฺกุนูต”และนักวิชาการกลุ่มหนึ่งก็ได้กล่าวในทำนองเดียวกัน เช่น อิบนุอับดิลบัร และท่านอื่น ๆ ดังกล่าวนี้จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าการขอดุอาอฺกุนูตเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติ ถึงแม้จะไม่มีการรายงานสำนวนที่ตายตัวจากท่านนบีﷺก็ตาม

สิ่งที่ต้องตระหนักในการกุนูต

– ให้ขอดุอาอฺที่รวบรัดและได้ใจความ

– ตามซุนนะฮฺของท่านนบีﷺนั้นไม่ให้ขอดุอาอฺกุนูตยาวจนเกินไป ซึ่งมีรายงานว่าอิหม่ามอะหมัด รอหิมาฮุลลอฮฺ ได้ระบุว่ามีซุนนะฮฺให้ขอเท่าความยาวของซูเราะฮฺ “อัลอินชิก๊อก” ก็เพียงพอแล้ว

– ถ้าหากเป็นอิหม่ามนำละหมาดจะต้องขอด้วยสำนวนพหูพจน์

ตำแหน่ง(เวลา)ของการกุนูตในละหมาด

ให้กุนูตหลังจากเงยจากรุกูอฺ ตามที่มีรายงานหะดีษส่วนมากจากท่านนบีﷺ ดังที่อัลบัยฮะกียฺได้กล่าวไว้ แต่ก็มีรายงานว่าอนุญาตให้กุนูตก่อนรุกูอฺเช่นเดียวกัน ดังปรากฏในหะดีษของอิบนุอุมัร รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา เกี่ยวกับการกุนูตในยามที่เกิดภัยพิบัติ ซึ่งก็อยู่ในความหมายของกุนูตในวิตรฺเช่นกัน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ที่ประเสริฐที่สุดคือการกุนูตหลังเงยจากรุกูอฺ แต่ก็อนุญาตให้กุนูตก่อนรุกูอฺได้ ซึ่งทั้งสองมีหลักฐานยืนยัน

การยกมือในขณะดุอาอฺกุนูต

มีซุนนะฮฺสำหรับผู้ที่ขอดุอาอฺกุนูตให้เขายกมือทั้งสองของเขา ซึ่งมีรายงานจากท่านนบีﷺว่าท่านได้ยกมือทั้งสองของท่านในตอนที่ท่านขอดุอาอฺกุนูต และบรรดาศอหาบะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุม ก็ได้ยกมือด้วยเช่นกัน

ลักษณะการยกมือ

นักวิชาการได้ระบุว่าการยกมือในดุอาอฺกุนูตส่งเสริมให้ปฏิบัติได้ 2 ลักษณะด้วยกัน :

1. ยกมือขึ้นระดับหน้าอก โดยให้แบฝ่ามือทั้งสองออก และให้หันมันขึ้นสู่ท้องฟ้าและเอียงเข้าหาใบหน้าในเวลาเดียวกัน และให้มองไปยังฝ่ามือทั้งสองขณะขอดุอาอฺ

2. หรือจะหันฝ่ามือทั้งสองเข้าหาใบหน้า และให้ปลายนิ้วทั้งหมดชี้ขึ้นไปยังท้องฟ้า และหลังมือหันไปทางทิศกิบละฮฺทั้งสองลักษณะนี้ส่งเสริมให้กระทำในละหมาดส่วนการยกมือทั้งสองขึ้นเหนือศีรษะนั้น นักวิชาการระบุว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะการแหงนมองท้องฟ้าในละหมาดเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ

ลูบหน้าหลังจบดุอาอฺ

เกี่ยวกับการลูบหน้าหลังเสร็จสิ้นการขอดุอาอฺในละหมาดวิตรฺและเวลาอื่น ๆ นั้น มีหะดีษหลายบทจากท่านนบีﷺที่ถูกรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ และอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัลมุบาร็อก รอหิมาฮุลลอฮฺ กล่าวว่า : “ไม่มีหะดีษศ่อฮีหฺจากท่านนบีﷺที่มายืนยันถึงความประเสริฐของการลูบหน้าหลังจากขอดุอาอฺ” แต่อัลฮาฟิซ อิบนุหะญัร รอหิมาฮุลลอฮฺ กล่าวว่า : “ไม่มีหะดีษที่มาบอกถึงความประเสริฐ” อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากสิ่งที่มีรายงานมาจากบรรดาศอหาบะฮฺและนักวิชาการหลังจากพวกเขาโดยภาพรวมแล้วนั้น ได้บ่งชี้ว่าการลูบหน้ามีที่มาที่ไป นักวิชาการจึงกล่าวว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ และบรรดาชาวสะลัฟบางส่วนก็ได้ปฏิบัติเช่นกัน

ศอลาวาตนบีในดุอาอฺกุนูต

ส่งเสริมให้กล่าวศอลาวาตนบีﷺในดุอาอฺกุนูต เพราะการศอลาวาตเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติให้กระทำในละหมาดทั่วไปอยู่เเล้ว อีกทั้งมันยังเป็นสาเหตุของการตอบรับดุอาอฺอีกด้วย

เวลาของการกุนูต

การดุอาอฺกุนูตสามารถปฏิบัติได้ตลอดเดือนรอมฎอน แต่ถ้าละทิ้งบ้างบางครั้งก็จะเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้เอาเวลานั้นไปทุ่มเทกับสิ่งที่ประเสริฐกว่า นั่นก็คือการอ่านอัลกุรอาน

สรุปจาก : อะหฺกาม เศาะลาฮฺ อัลวิตรฺ ของ ชัยคฺ ดร.อับดุสสลาม บิน มุฮัมหมัด อัชชุวัยอิร หะฟิซอฮุลลอฮฺ

ยูนุส อ่าวน้ำ

20 รอมฎอน 1443

อ้างอิง

ขอบคุณบทความจากเฟสบุค Yunus Aonam

งดตัดเล็บ ตัดผม สำหรับผู้ที่จะทำกุรบ่าน

งดตัดเล็บ ตัดผม กุรบาน

จำเป็นต้องงดตัดเล็บตัดผมสำหรับผู้ที่จะทำอุฎฮียะฮฺ

เมื่อเป็นที่เเน่ชัดเเล้วว่าได้เข้าสู่เดือนซุลฮิจญะฮฺ โดยพิจารณาจากการลับขอบฟ้าของดวงอาทิตย์วันสุดท้ายของเดือนซุลเกี๊ยะดะฮฺ เป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้ที่มีความประสงค์ที่จะทำอุฎฮียะฮฺที่เขาจะตัดเล็บ ตัดผม เเละขนทุกส่วนบนร่างกายของเขา

ซึ่งข้อชี้ขาดนี้เจาะจงเฉพาะผู้เป็นเจ้าของอุฎฮียะฮฺเท่านั้น โดยไม่ได้ครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นๆภายในครอบครัวของเขา ฉะนั้นการงดเว้นดังกล่าวไม่จำเป็นสำหรับภรรยาเเละลูกๆของเขา ตลอดจนผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ลงมือเชือดอุฎฮียะฮฺเเทนเจ้าของๆมันก็ไม่เข้าในข้อห้ามดังกล่าว

เเละไม่มีความเเตกต่างใดๆในข้อห้ามนี้ ไม่ว่าผู้ที่เป็นเจ้าของอุฎฮียะฮฺจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ตาม ดังนั้นถ้าหากว่าผู้หญิงประสงค์ที่จะทำอุฎฮียะฮฺให้เเก่ตัวของนางเอง นางก็จะต้องงดเว้นจากการกระทำดังกล่าว ไม่ว่านางจะเเต่งงานเเล้วหรือไม่ก็ตาม เนื่องด้วยหลักฐานที่ครอบคลุมทั้งหมด

عن أم سلمة رضي الله عنها أن النبي صلى الله عليه وسلم قال : ( إِذَا رَأَيْتُمْ هِلَالَ ذِي الْحِجَّةِ وَأَرَادَ أَحَدُكُمْ أَنْ يُضَحِّيَ ، فَلْيُمْسِكْ عَنْ شَعْرِهِ وَأَظْفَارِهِ ) رواه مسلم ( 1977 ) وفي رواية : ( فَلا يَمَسَّ مِنْ شَعَرِهِ وَبَشَرِهِ شَيْئًا )

จากท่านหญิงอุมมุซะละมะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮา เเท้จริงท่านนบีﷺกล่าวว่า :

“เมื่อพวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยวของเดือนซุลฮิจญะฮฺเเล้ว บุคคลใดในหมู่พวกท่านประสงค์จะเชือดสัตว์อุฎฮียะฮฺ ให้เขาจงงดการตัดผมและตัดเล็บของเขา”

(บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม)

เเละในอีกสายรายงานหนึ่ง : “เขาอย่าได้สัมผัสสิ่งใดจากผมเเละผิวหนังของเขา”

#จะกลับมาตัดเล็บได้เมื่อไหร่ ?

เเละเขาสามารถที่จะกระทำสิ่งที่ถูกห้ามดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อมีการเชือดอุฎฮียะฮฺของเขาเสร็จเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว ไม่ใช่หลังจากเสร็จสิ้นการละหมาดอีดิ้ลอัฎฮา

#คนที่ฝ่าฝืนจะมีความผิดไหม ?

ตามคำสั่งห้ามของตัวบทหลักฐานในประเด็นนี้นั้น บ่งชี้ว่าเป็นการสั่งในรูปแบบจำเป็น(วาญิบ) เเละเป็นการห้ามชนิดต้องห้าม(หะรอม) ดังนั้นผู้ใดที่ฝ่าฝืน ก็ถือว่าเขาได้กระทำความผิด จึงจำเป็นที่เขาจะต้องขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺ เเต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าปรับใดๆโดยมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ ดังที่ท่านอิบนุกุดามะฮฺ รอหิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

إذا ثبت هذا , فإنه يترك قطع الشعر وتقليم الأظفار , فإن فعل استغفر الله تعالى ، ولا فدية فيه إجماعا , سواء فعله عمداً أو نسياناً .

“เมื่อสิ่งนี้เป็นที่เเน่ชัดเเล้ว ก็ให้เขาละทิ้งการตัดผมเเละตัดเล็บ เเต่ถ้าหากเขาได้กระทำลงไป ก็ให้เขาขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา เเละไม่มีการจ่ายฟิดยะฮฺ(ค่าปรับ)ใดๆโดยมติเอกฉันท์(อิจมาอฺ) ไม่ว่าเขาตั้งใจกระทำหรือหลงลืมก็ตาม”

(อัล-มุฆนีย์ : 9/346)

วัลลอฮุอะลัม


อ้างอิง


15 มารยาทที่ภรรยาควรปฏิบัติต่อสามี

15 มารยาท ที่ภรรยาควรปฏิบัติต่อสามี

โดยอิหม่ามอัซซะฮะบียฺ รอหิมาฮุลลอฮฺ

จำเป็นสำหรับสตรีที่จะต้อง :

  1. มีความละอายต่อสามีของนางอย่างสม่ำเสมอ
  2. ลดสายตาของนางลงเมื่ออยู่ต่อหน้าเขา
  3. เชื่อฟังคำสั่งใช้ของเขา
  4. นิ่งเงียบในตอนที่เขาพูด
  5. ลุกขึ้นยืนในตอนที่เขามา
  6. ออกห่างจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้เขาโกรธ
  7. ลุกขึ้นไปพร้อมกับเขาในตอนที่เขาออกไป
  8. นำเสนอตัวของนางให้เเก่เขาในตอนที่เขานอน
  9. ละทิ้งการทรยศต่อเขาในตอนที่อยู่ลับหลังเขา ทั้งในเรื่องบนเตียงของเขา ทรัพย์สินของเขา เเละบ้านของเขา
  10. มีกลิ่นหอม
  11. ดูเเลปากด้วยซิว๊าก(ไม้แปรงฟัน) เเละดูเเลร่างกายด้วยชะมดเชียงเเละเครื่องหอมอยู่สม่ำเสมอ
  12. ประดับประดาอยู่สม่ำเสมอในตอนที่เขาอยู่
  13. นางจะต้องละทิ้งการนินทา
  14. ให้เกียรติครอบครัวเเละเครือญาติของเขา
  15. มองสิ่งเล็กน้อยที่ได้จากเขาให้เป็นสิ่งที่มากมาย

อ้างอิง


ทำไมแต่งงานกันหลายคู่ ในเดือนเชาวาล ?

ทำไมแต่งงานกัน เดือนเชาวาล

สังเกตุเห็นมีหลายคู่แต่งงานในเดือนเชาวาล

เคยสังเกตุไหมว่า หลังจากเดือนเรามะฎอนมา พอผ่านวันอีดทีไร ในช่วงเดือนเชาวาลนี้ เรามักจะเห็นคู่แต่งงานกันเยอะมาก ยังไงเราก็ขอแสดงความยินดีกับคู่บ่าวสาวทุก ๆ ท่านน่ะ และเรามาศึกษาดูกันว่า อะไรคือความประเสริฐของการแต่งงานในเดือนเชาวาล มีสุนนะห์แบบอย่างยังไง ?


มีสุนนะห์ให้แต่งงานในเดือนเชาวาล

จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ [รอฎิยัลลอฮุอันฮา] กล่าวว่า :

« تَزَوَّجَنِي رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي شَوَّالٍ، وَبَنَى بِي فِي شَوَّالٍ، فَأَيُّ نِسَاءِ رَسُولِ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏كَانَ أَحْظَى عِنْدَهُ مِنِّي قَالَ وَكَانَتْ ‏ ‏عَائِشَةُ ‏ ‏تَسْتَحِبُّ أَنْ تُدْخِلَ نِسَاءَهَا فِي شَوَّالٍ ».

“ท่านรอซูลุลลอฮ์ [ﷺ] ได้ทำการแต่งงานกับฉันในเดือนเชาวาล และเริ่มอยู่ด้วยกันฉันท์สามีภรรยาในเดือนเชาวาล ดังนั้น ณ ท่านนบีแล้ว จะมีภรรยาของท่านรอซูลุลลอฮ์คนใดที่จะโชคดีไปกว่าฉัน

อับดุลลอฮ์ บิน อุรวะฮ์ ผู้รายงานหะดีษ ได้กล่าวว่า:

” ท่านหญิงอาอิชะฮ์ชอบที่จะให้บรรดาสตรีของนางเข้าเรือนหอ(เริ่มสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยา) ในเดือนเชาวาล”

[ บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม : 1423 ]


ความเชื่อที่ผิด ว่าห้ามแต่งงานในเดือนเชาวาล

• อิบนุ กะษีรฺ [รอฮิมะฮุลลอฮ์] กล่าวว่า : “การที่ท่านนบี [ﷺ] เริ่มมีสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยากับท่านหญิงอาอิชะฮ์ [รอฎิยัลลอฮุอันฮา] ในเดือนเชาวาลนั้น เป็นการปฏิเสธความเชื่อที่ว่าการเริ่มมีสัมพันธ์ในช่วงระหว่างอีดทั้งสองนั้น จะทำให้สามีภรรยาต้องหย่าร้างกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด”

[อัลบิดายะฮ์ วันนิฮายะฮ์] : (3/253)

• ท่านอิหม่ามอันนะวะวีย์ [รอฮิมะฮุลลอฮ์] ได้กล่าวอธิบายว่า : “ในหะดีษนี้กล่าวส่งเสริมให้ทำการแต่งงานและเริ่มสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาในเดือนเชาวาล ซึ่งบรรดาปราชญ์ของเรา(มัซฮับอัชชาฟิอีย์) ระบุถึงซุนนะฮ์ดังกล่าวโดยอ้างหลักฐานด้วยหะดีษบทนี้

ทั้งนี้ ท่านหญิงอาอิชะฮ์ กล่าวเช่นนั้นออกมาโดยมีเจตนาที่จะปฏิเสธความเชื่อที่เคยมีในสมัยญาฮิลิยะฮ์ และความเชื่อที่ว่าการแต่งงานและเริ่มสัมพันธ์ในเดือนเชาวาลนั้นเป็นสิ่งไม่ดี ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและไม่มีที่มาที่ไป แต่เป็นสิ่งที่หลงเหลือมาจากสมัยญาฮิลิยะฮ์ ซึ่งในสมัยนั้นผู้คนจะมีความเชื่อว่าไม่ควรแต่งงานในเดือนเชาวาล เพราะจะทำให้เกิดการหย่าร้าง”

[ชัรห์มุสลิม] : (9/209)


สรุปอีกครั้ง

  1. มีสุนนะห์ให้แต่งงานในเดือนเชาวาล

  2. ท่านนบีแต่งงานกับท่านหญิงอาอิชะห์ ในเดือนเชาวาล

  3. ส่งเสริมให้มุสลิมแต่งงานในเดือนเชาวาล

  4. ความเชื่อว่าห้ามแต่งงานในเดือนเชาวาลนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง มุสลิมต้องปฏิเสธสิ่งนี้


อ้างอิง

  • เพจ How to อิสลาม
  • เพจ Halalthailand

ดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันอีดิ้ลฟิตรี 1441 ฮ.

ดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันอีด

กำหนดการดูดวงจันทร์เพื่อเข้าวันอีดิ้ลฟิตรี

จุฬาราชมนตรีประกาศ : จะมีการดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันที่ 1 เดือนเชาวาล ฮ.ศ. 1441 (วันอีดิลฟิตรี) ในวันศุกร์ ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

📍 ซึ่งถ้าในวันดังกล่าวมีการเห็นดวงจันทร์
วันที่ 1 เชาวาล 1441 (วันอีดิลฟิตรี) จะตรงกับวันเสาร์ ที่ 23 พฤษภาม 2563

📍 เเต่ถ้าหากว่าไม่มีการเห็นดวงจันทร์
วันที่ 1 เชาวาล 1441 (วันอีดิลฟิตรี) ก็จะตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 24 พฤษภาคม 2563


เชิญชมถ่ายทอดสดประกาศผลการดูดวงจันทร์

สำนักจุฬาราชมนตรี ขอเชิญพี่น้องทุกท่าน รับชมการถ่ายทอดสด การประกาศผลการดูดวงจันทร์ เพื่อกำหนดวันที่ 1 เดือนเชาวาล ฮ.ศ.1441 (วันอีดิ้ลฟิตรี)

ในค่ำวันศุกร์ ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 19.40 – 20.00 น.

ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT(ช่อง 11) กรมประชาสัมพันธ์ และทาง Facebook Live @NBT2HD

จุฬาฯ ผ่อนปรนให้ละหมาดวันอีด โดยมีเงื่อนไขดังนี้

จุฬา อนุญาตให้ละหมาดอีด

จุฬาราชมนตรี ประกาศอนุญาตให้ละหมาดวันอีดิ้ลฟิตรี โดยมีระเบียบการปฎิบัติตามประกาศดังนี้

ประกาศจุฬาราชมนตรีเรื่อง การผ่อนปรนให้ปฏิบัติศาสนกิจละหมาดอีลฟิตร์ 

เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ในประเทศไทยมีจํานวนผู้ติดเชื้อลดลง และนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกําหนดตามความใน มาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เพื่อเป็นการผ่อนคลายการบังคับใช้บางมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคโควิด ๑๙ และมีมาตรการผ่อนคลายให้ดําเนินหรือทํากิจกรรมบางอย่างได้โดยมีเงื่อนไขนั้น จึงพิจารณาเห็นควรให้มีการปฏิบัติศาสนกิจละหมาดอีดิ้ลฟิตร์สําหรับมัสยิดที่มีความพร้อมในการปฏิบัติ ตามมาตรการที่กําหนดและอยู่ในพื้นที่ที่ไม่พบผู้ติดเชื้อ ดังนี้ 


ให้ตามมาตรการ ประกาศเรื่องการผ่อนปรนให้ละหมาดวันศุกร์

1. ให้มัสยิดจัดเตรียมพื้นที่เปิด เช่น ลานมัสยิดรวมถึงพื้นที่ในอาคารมัสยิด อาคารเรียน ประจํามัสยิด ที่โล่งกว้าง หรือสนามกีฬาในชุมชน สําหรับละหมาดอีดิ้ลฟิตร์ โดยให้ดําเนินมาตราการตาม ประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ว่าด้วย การผ่อนปรนให้ปฏิบัติศาสนกิจละหมาดวันศุกร์ (ญุมอะห์) และแนวทางปฏิบัติ ฉบับที่ ๕/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ อย่างเคร่งครัด 


ให้กระชับเวลาในการปฏิบัติศาสนกิจ

2. ให้รีบปฏิบัติศาสนกิจละหมาดอีลฟิตร์ เมื่อเข้าเวลาและให้กระชับเวลาในการ ละหมาดและคุตบะห์ ไม่เกิน 20 นาที 


หากที่ใดทำไม่ได้ ให้แจ้งละหมาดที่บ้าน

3. หากมัสยิดใดไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ ๑ ได้ ให้มัสยิดแจ้งสัปปุรุษละหมาดที่บ้านใน ลักษณะรวมกันเป็นครอบครัว จํากัดเฉพาะญาติพี่น้องเท่านั้น โดยไม่ต้องอ่านคุตบะห์ 


ให้งดเลี้ยงอาหาร และกิจกรรมที่รวมตัวกัน

4. ให้มัสยิดงดการจัดเลี้ยงอาหารแก่ผู้มาร่วมละหมาดและการจัดกิจกรรมอื่น ๆ รวมทั้ง ให้หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมหรือการรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่มีจํานวนมาก เช่น การเยี่ยมญาติ การเยี่ยม กุโบร์ (สุสาน) และการจัดเลี้ยงอาหารในเคหสถาน หากมีความจําเป็นให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค และคําแนะนําของทางราชการและประกาศจุฬาราชมนตรีอย่างเคร่งครัด 

ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563


อ้างอิง

จุฬาให้ละหมาดอีด

วิธีจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ , ใครต้องจ่าย , ใครมีสิทธิ์รับ ?

วิธีจ่ายซะกาต ฟิตเราะห์

ซะกาตฟิตเราะห์คืออะไร ?

ซะกาตุลฟิตร์ หรือ ที่เรานิยมเรียกกันติดปากว่า “ซะกาตฟิตเราะฮ์” นั้น เป็นบทบัญญัติที่อัลลอฮฺ ﷻ ทรงกำหนดให้เป็นฟัรฎู (ภาคบังคับ) เหนือมุสลิมทุกคนที่มีชีวิตอยู่ในเดือนรอมฎอน แม้กระทั่งทารกที่คลอดในชั่วโมงสุดท้ายของรอมฎอนก็ตาม (หมายถึงก่อนดวงอาทิตย์ของวันสุดท้ายจะลับขอบฟ้า)โดยไม่มีข้อยกเว้นว่าบุคคลนั้น ๆ จะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ เป็นไทหรือเป็นทาส ร่ำรวยหรือยากจน มีสติสัมปชัญญะหรือคนสติไม่ดี ตลอดจนบุคคลที่ไม่ได้ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนด้วยเช่นกัน ดังหะดีษต่อไปนี้ :

عَنِ ابْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا، قَالَ : فَرَضَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ صَاعًا مِنْ تَمْرٍ أَوْ صَاعًا مِنْ شَعِيرٍ عَلَى الْعَبْدِ وَالْحُرِّ، وَالذَّكَرِ وَالْأُنْثَى، وَالصَّغِيرِ وَالْكَبِيرِ مِنَ الْمُسْلِمِينَ، وَأَمَرَ بِهَا أَنْ تُؤَدَّى قَبْلَ خُرُوجِ النَّاسِ إِلَى الصَّلَاةِ.(متفق عليه)

จากอิบนุอุมัร รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า :

“ท่านรอซูลุลลอฮ์ﷺได้กำหนดการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ เป็นผลอินทผลัมจำนวน 1 ศออ์(ทะนาน) หรือข้าวบาร์เล่ย์จำนวน 1 ศออ์ ให้เป็นสิ่งจำเป็นเหนือทาสเเละผู้ที่เป็นไท ชายเเละหญิง เด็กเเละผู้ใหญ่จากบรรดามุสลิม เเละได้สั่งให้ปฏิบัติก่อนที่ผู้คนจะออกไปสู่การละหมาด(อีด)”

(บันทึกโดยอิหม่ามอัลบุคอรีย์เเละมุสลิม)

และส่งเสริมให้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ให้แก่ทารกในครรภ์ด้วย ดังที่ท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้วางรูปแบบเอาไว้

ทั้งนี้เป้าหมายของซะกาตฟิตเราะฮ์นั้นเพื่อเป็นการชำระล้างผู้ถือศีลอดจากสิ่งไร้สาระต่างๆที่เขาได้กระทำในระหว่างที่เขาถือศีลอด เเละเพื่อเป็นอาหารเเก่คนยากจน ดังหะดีษต่อไปนี้ :

فَرَضَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ طُهْرَةً لِلصَّائِمِ مِنَ اللَّغْوِ وَالرَّفَثِ وَطُعْمَةً لِلْمَسَاكِينِ، مَنْ أَدَّاهَا قَبْلَ الصَّلَاةِ فَهِيَ زَكَاةٌ مَقْبُولَةٌ، وَمَنْ أَدَّاهَا بَعْدَ الصَّلَاةِ فَهِيَ صَدَقَةٌ مِنَ الصَّدَقَاتِ. (رواه أبوداود وابن ماجه)

รายงานจากท่าน อิบนุอับบาส กล่าวว่า:

“ท่านรอซูล ﷺ ได้กำหนดจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ เพื่อเป็นการชำระผู้ถือศีลอดจากคำพูดที่เหลวไหลและหยาบคาย เเละเป็นอาหารให้แก่ผู้ที่ยากจนขัดสน บุคคลใดที่จ่ายก่อนละหมาด(อีดิ้ลฟิตร์)ก็ถือว่าเป็นซะกาตที่ถูกตอบรับ และบุคคลใดที่จ่ายหลังละหมาด(อีดิ้ลฟิตร์)ก็ถือว่าเป็นการทำศอดาเกาะฮ์อย่างหนึ่งจากบรรดาศอดาเกาะฮ์ทั่วๆไป”

(บันทึกโดยอบูดาวูดเเละอิบนุมาญะฮ์)


ใครบ้างที่ต้องจ่ายซะกาต ฟิตเราะห์

ซะกาตฟิตเราะห์ ตามมติฉันท์ของอุละมาอ์ถือเป็นฟัรฏู (จำเป็น) สำหรับมุสลิมทุกคนไม่ว่าจะเป็นทาส เป็นไท ชาย หญิง เด็กหรือผู้ใหญ่

บรรดาอุละมาอ์ส่วนใหญ่ถือว่า หากบุคคลใดมีอาหารหรือข้าวสารไม่ครบนิศอบ(คือ 1 ศออ์ขึ้นไป) ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺ ในที่นี้รวมถึงทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาก็ไม่ต้องจ่าย แต่หากผู้ปกครองสมัครใจจะจ่ายให้ย่อมถือเป็นสุนนะฮฺ เนื่องจากมีปรากฏการกระทำของท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ซึ่งตรงกับทัศนะของบรรดานักวิชาการสายมัซฮับหัมบะลีย์


ใครมีสิทธิ์รับซะกาต ฟิตเราะฮ์

ซะกาตฟิฏเราะห์สามารถแจกจ่ายไปให้แก่บุคคลทั้ง 8 ประเภทเช่นเดียวกับในกรณีของซะกาตุลมาล นี้คือทัศนะของบรรดาอุละมาอ์ส่วนใหญ่ (ญุมหูร)

แต่ที่ถูกต้องตามตัวบทหลักฐานเเละเป็นทรรศนะที่มีน้ำหนักของนักวิชาการคือ ผู้มีสิทธิ์รับซะกาตฟิตเราะฮ์มีจำพวกเดียวเท่านั้น นั่นคือคนยากจนเเละขัดสน ดังที่ระบุในหะดีษ :

และมีระบุว่าอิม่ามอะหมัด อนุญาติให้แจกจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺจำนวนศออ์หนึ่งให้แก่บุคคลหลายคน หรือจะจ่ายฟิฏเราะฮฺจำนวนหลายศออ์ให้แก่บุคคลคนเดียวก็ได้

“…طهرة للصائم من اللغو والرفث وطعمة للمساكين…”

“…เพื่อเป็นการชำระผู้ถือศิลอดจากคำพูดที่เหลวไหลและหยาบคาย เเละเพื่อเป็นอาหารให้กับผู้ที่ขัดสน…”


วิธีจ่ายซะกาตฟิตเราะห์

วิธีการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ นั้นจะต้องจ่ายเป็นอาหารที่เป็นอาหารหลักของคนในประเทศ โดยปริมาณของการจ่าย ดังที่มีระบุในหะดีษคือ 1 ศออ์ โดยจำนวน 1 ศออ์ของท่านนบีﷺ เท่ากับ 4 มุด ( หรือ 4 กอบมือขนาดปานกลาง) หรือถ้าเป็นข้าวสารน้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 3 กิโลกรัม หรือ 2.7 กิโลกรัม เป็นปริมาณอย่างต่ำตามการกำหนดของสำนักจุฬาราชมนตรี

ทั้งนี้จากรายของท่านอิบนุอุมัร ว่า : ” ท่านเราะซูล ได้กำหนดซะกาตฟิฏเราะฮฺเท่ากับผลอินทผลัม 1 ศออ์ หรือข้าวบาเล่ย์ 1 ศออ์ บังคับสำหรับมุสลิมทั้งที่เป็นทาสและเป็นไท ชาย-หญิง หรือเด็กและผู้ใหญ่ โดยท่านได้สั่งให้ปฏิบัติมันให้เสร็จสิ้นก่อนที่ผู้คนจะเดินทางออกไปละหมาด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)


เวลาของการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์

คือให้จ่ายในช่วงเวลาก่อนการละหมาดอีด  สำหรับอุละมาอ์สายมัซฮับมาลิกียะฮฺ และหะนาบีละฮฺอนุญาติให้จ่ายล่วงหน้าก่อนวันอีดสัก  2-3 วันได้ ส่วนอุละมาอ์สายชาฟิอียะฮฺมีทัศนะว่าสามารถจ่ายได้ตั้งแต่เริ่มเข้าเดือนรอมฏอน  แต่ที่ดีที่สุดควรจ่ายก่อนการละหมาดอีด

เวลาของการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ที่ประเสริฐที่สุด คือช่วงเช้าก่อนละหมาดอีด เเต่ถ้าหากเกรงว่าจะไม่ทัน ก็อนุญาตให้จ่ายก่อนวันอีด 1 วัน หรือ 2 วันได้ ดังที่มีปรากฏการกระทำจากเหล่าบรรดาศอหาบะฮ์ส่วนการจ่ายก่อนล่วงหน้าเป็นระยะเวลานาน (ก่อนมากกว่า 2 วัน) นั้น เป็นการกระทำที่ไม่มีเเบบอย่างจากท่านรอซูลﷺและบรรดาศอหาบะฮ์

เเละไม่อนุญาตให้ล่าช้าจนกระทั่งเสร็จสิ้นการละหมาด(อีดิ้ลฟิตร์) เพราะถ้าหากจ่ายหลังละหมาด จะไม่ถูกนับเป็นซะกาตฟิตเราะฮ์ แต่จะเป็นเพียงศอดาเกาะฮ์ทั่วๆไป ดังหะดีษก่อนหน้านี้ ที่ว่า :

“…فمن أداها قبل الصلاة فهي زكاة مقبولة ، ومن أداها بعد الصلاة فهي صدقة من الصدقات “.

“…บุคคลใดที่จ่ายก่อนละหมาด(อีดิ้ลฟิตร์)ก็ถือว่าเป็นซะกาตที่ถูกตอบรับ และบุคคลใดที่จ่ายหลังละหมาด(อีดิ้ลฟิตร์)ก็ถือว่าเป็นการศอดาเกาะฮ์อย่างหนึ่งจากบรรดาศอดาเกาะฮ์ต่างๆ”

(บันทึกโดยอบูดาวูดเเละอิบนุมาญะฮ์)


สถานที่ในการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์

สำหรับเรื่องสถานที่จ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺนั้น มีปรากฏในตำรา “อัล-มุเดาวะนะฮฺ” ถามว่า หากบุคคลผู้นั้นเป็นชาวแอฟริกา และเขาเดินทางมายังประเทศอียิปต์ในช่วงที่ต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮฺพอดี เขาจะต้องจ่ายซะกาตที่ไหน ? อิม่ามมาลิกตอบว่า “ เขาอยู่ที่ไหน ก็ให้จ่ายที่นั้น แต่หากครอบครัวของเขาที่แอฟริกาจะจ่ายแทนให้แก่เขา ก็ถือว่าสามารถทำได้ ”

เช่นกันท่านอิบนุกุดามะฮฺ (เราะหิมะฮุลลอฮฺ)ให้ทัศนะว่า “ ในกรณีของซะกาตฟิตเราะฮฺนั้นจำเป็นต้องแจกจ่ายไปในประเทศที่ตนเองอาศัยอยู่เท่านั้น ไม่ว่าสมบัติของเขาจะมีอยู่ในประเทศนั้นหรือไม่ก็ตาม ” ซึ่งทัศนะที่หนักแน่นที่สุดของอุละมาอ์สายชาฟิอียะฮฺ คือ ซะกาต(ฟิตเราะฮฺ)มิสามารถเคลื่อนย้าย(ไปจ่ายในอีกท้องที่หนึ่งได้) ส่วนทัศนะรองถือว่าอนุญาติทำได้ทั้งนี้เพื่อให้ถึงแก่บรรดาคนยากจน(ฟุกอรออ์)เป็นสำคัญตามที่ปรากฏในอายะฮฺ ซึ่งเป็นทัศนะของบรรดาอุละมาอ์มากมายหลายท่านด้วยกัน


จ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์เป็นเงินได้หรือไม่ ?

บรรดาอุละมาอ์ (นักนิติศาสตร์อิสลาม) มีความเห็นต่างกันในเรื่องนี้

อิหม่ามมาลิก (ร.ฮ.), อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ร.ฮ.), และอิหม่ามอะฮฺมัด (ร.ฮ.)  ทั้ง 3 ท่านไม่อนุญาตให้ออกซะกาตฟิตเราะฮฺเป็นค่าที่ถูกตีราคา (อัลกีมะฮฺ) เช่น เงิน เป็นต้น ตลอดจนซะกาตประเภทอื่น ๆ ก็ไม่อนุญาตเช่นกัน

ส่วนท่านอิหม่ามอัซเซารีย์ (ร.ฮ.) และท่านอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺ (ร.ฮ.) และสานุศิษย์ของท่านกล่าวว่า : อนุญาตให้ออกซะกาตเป็นค่าที่ถูกตีราคานั้นได้ (เช่น ธนบัตรหรือเงินตราอย่างที่ถามมา-ผู้ตอบ) โดยอ้างการรายงานถึงท่านอุมัร อิบนุ อับดิลอะซีซ (ร.ฎ.) และท่านอัลฮะซัน อัลบะซอรี่ย์ (ร.ฮ.)

ในฝ่ายที่อนุญาตนั้น อิหม่ามอัลบุคอรีย์ (ร.ฮ.) ก็อยู่ในฝ่ายนี้ด้วย ดังที่อิหม่ามอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) ได้ระบุว่า : เป็นความเห็นที่ปรากฏชัด (อัซซอฮิรฺ) จากทัศนะของอัลบุคอรีย์ในหนังสือซอฮีฮฺของเขา (อัลมัจญมูอฺ 5/429)

สรุปได้ว่า การออกซะกาตฟิตเราะฮฺนั้นถ้าให้ดีที่สุดแล้ว คือ ออกเป็นอาหารหลักที่ผู้คนในบ้านเมืองนั้นบริโภคเป็นส่วนใหญ่ เช่น บ้านเราในแถบภาคกลางก็คือ ข้าวจ้าว (ข้าวสาร) หรือข้าวเหนียวในแถบภาคเหนือและอีสาน เป็นต้น ทั้งนี้เป็นการปฏิบัติตามตัวบทและซุนนะฮฺของท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และหลีกห่างจากข้อขัดแย้งของนักวิชาการ

แต่ถ้าเราอยู่ต่างประเทศ จะออกซะกาตเป็นเงินหรือธนบัตรตามจำนวนที่เทียบค่าจากอาหารหลัก 1 ซออฺในประเทศนั้น ๆ ก็สามารถกระทำได้ โดยถือตามความเห็นของนักวิชาการฝ่ายที่อนุญาต  และถือว่าการจ่ายซะกาตของเรานั้น เป็นที่ลุล่วงแล้วโดยไม่ต้องมอบหมาย (วะกีล) ให้คนที่อยู่ประเทศไทยออกซะกาตแทนแต่อย่างใด


อ้างอิง

ความสำคัญของ 10 วันสุดท้าย เดือนรอมฎอน

10-night-in-ramadan

ความประเสริฐใน 10 วันสุดท้ายรอมฎอน

อัลลอฮ์ ﷻ ทรงเลือกสิบคืนสุดท้ายของรอมฎอนให้มีความประเสริฐเเละมีรางวัลตอบเเทนมากมายกว่าวันเวลาอื่นๆ

ท่านรอซูลุลลอฮ์ﷺได้เอาใจใส่ในการปฏิบัติคุณงามความดีอย่างมากมายในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอนมากกว่าวันอื่นๆ ดังที่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ได้รายงานว่า :

«كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يجتهد في العشر الأواخر ما لا يجتهد في غيره» «رواه مسلم».

“ท่านรอซูลุลลอฮ์ﷺจะเพียรพยายามเป็นอย่างมากในช่วงสิบวันสุดท้าย โดยที่ท่านไม่ได้ปฏิบัติเยี่ยงนี้ในวันอื่นๆ” (บันทึกโดยมุสลิม)

เเละนอกจากนี้ท่านนบีﷺได้ทำให้ช่วงเวลากลางคืนมีชีวิตชีวาด้วยการทำอิบาดะฮ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ละหมาด ซิกรุลลอฮ์ อ่านอัลกุรอาน ดังที่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ได้รายงานว่า :

«كان رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا دخل العشر أحيا الليل وأيقظ أهله وجد وشد المئزر». متفق عليه.

“เมื่อถึงสิบคืนสุดท้าย ท่านรอซูลุลลอฮ์ﷺจะทำค่ำคืนให้มีชีวิตชีวา(ด้วยการทำอิบาดะฮ์) และปลุกคนในครอบครัวของท่าน(ให้ตื่นขึ้นมาทำอิบาดะฮ์) ท่านจะเอาจริงเอาจังและมัดผ้านุ่งของท่านให้กระชับ(เอาจริงเอาจังและปลีกตัวออกจากการร่วมหลับนอนกับภรรยา)”

(บันทึกโดยท่านอิหม่ามบุคอรีย์และอิหม่ามมุสลิม)

การเอี้ยะอ์ติกาฟ

และท่านนบีﷺได้กำชับคนในครอบครัวของท่านให้เพิ่มพูนการทำอิบาดะฮ์ในช่วงสิบวันนี้ เเละในช่วงสิบวันนี้ท่านจะทำการเอี๊ยะติกาฟ(พำนักอยู่ในมัสยิด)ในทุกๆรอมฎอน จนกระทั่งท่านเสียชีวิต ดังที่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ได้รายงานว่า :

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم كَانَ يَعْتَكِفُ فِي الْعَشْرِ الأَوَاخِرِ مِنْ رَمَضَانَ , حَتَّى تَوَفَّاهُ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ ، ثُمَّ اعْتَكَفَ أَزْوَاجُهُ بَعْدَهُ . (رواه البخاري و مسلم)

“ท่านนบีﷺจะทำการเอี๊ยะติกาฟในสิบวันสุดท้ายของรอมฎอน จนกระทั่งอัลลอฮ์ﷻได้เก็บชีวิตของท่านไป และบรรดาภรรยาของท่านก็ได้ทำการเอี๊ยะติกาฟหลังจากท่านต่อมา”

(บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีย์เเละมุสลิม)

” ลัยละตุ้ลก็อดร์ ” มีค่ามากกว่า 1000 เดือน

และความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ในช่วงสิบวันสุดท้ายของรอมฎอน คือค่ำคืน “ลัยละตุลก็อดร์” ที่อัลลอฮ์ﷻทรงกำหนดให้การประกอบการงานต่างๆในค่ำคืนนี้มีค่ามากกว่าหนึ่งพันเดือน ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า :

لَيْلَةُ ٱلْقَدْرِ خَيْرٌ مِّنْ أَلْفِ شَهْرٍ

ความว่า : คืนอัลก็อดร์นั้น ดีกว่าหนึ่งพันเดือน (อัลก็อดร์ : 3)

เเละสำหรับการยืนละหมาดในคืนอัลก็อดร์นั้นมีภาคผลอันใหญ่หลวง ดังหะดีษที่ว่า :

«من قام ليلة القدر إيماناً واحتساباً غفر له ما تقدم من ذنبه». (متفق عليه) .

“ผู้ใดที่ยืนละหมาดในค่ำคืนอัลก็อดร์อย่างมีศรัทธาเเละหวังผลบุญตอบเเทน เขาจะได้รับการอภัยโทษสำหรับบาปของเขาที่ผ่าน”

(บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีย์เเละมุสลิม)

ลัยละตุ้ลก็อดร์ คือคืนไหน ?

คืนอัลก็อดร์นั้นจะอยู่ในช่วงสิบวันสุดท้ายของรอมฎอน ดังที่ท่านรอซูลﷺได้กล่าวว่า :

«تحروا ليلة القدر في العشر الأواخر من رمضان». (متفق عليه).

“พวกท่านทั้งกลายจงเเสวงหาคืนอัลก็อดร์ในช่วงสิบคืนสุดท้ายของรอมฎอนเถิด”

(บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีย์และมุสลิม)

เเละท่านได้บอกว่าคืนอัลก็อดร์จะอยู่ในคืนที่เป็นคี่ของสิบคืนสุดท้าย ดังหะดีษ :

«تحروا ليلة القدر في الوتر من العشر الأواخر من رمضان». (رواه البخاري).

“พวกท่านทั้งหลายจงเเสวงหาคืนอัลก็อดร์ในค่ำคืนที่เป็นคี่จากสิบค่ำคืนสุดท้ายของรอมฎอนเถิด”

(บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีย์)

เเละค่ำคืนที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะเป็นคืนอัลก็อดร์ คือค่ำคืนที่ 27 ดังหะดีษของท่านอุบัยย์ บิน กะอ์บ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ :

والله إني لأعلم أي ليلة هي الليلة التي أمرنا رسول الله بقيامها هي ليلة سبع وعشرين”. (رواه مسلم).

“ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ เเท้จริงฉันรู้ว่าคืนใดที่ท่านรอซูลุลลอฮ์สั่งใช้เราให้ละหมาดในคืนนั้น มันคือค่ำคืนที่ 27”

(บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม)

เเละดังหะดีษของท่านรอซูลุลลอฮ์ﷺที่ว่า :

«ليلة القدر ليلة سبع وعشرين». (رواه أحمد وأبو داود).

“คืนอัลก็อดร์ คือค่ำคืนที่ 27”

(บันทึกโดยอิหม่ามอะหมัดเเละอบูดาวูด)

อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิชาการหลายท่าน อาทิ ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ หะญัร เเละท่านอิหม่ามอันนะวะวีย์ได้มีความเห็นว่าคืนอัลก็อดร์นั้นไม่ได้ถูกเจาะจงด้วยค่ำคืนใดโดยเฉพาะในทุกๆปี เเต่ทว่ามันจะเคลื่อนย้ายไปทุกๆปี ฉะนั้นบางปีอาจจะอยู่ในค่ำคืนที่ 27 เเละบางปีอาจจะอยู่ในค่ำคืนที่ 25 ขึ้นอยู่กับพระประสงค์เเละฮิกมะฮ์ของอัลลอฮ์ﷻ

เเละฮิกมะฮ์จากการปิดบังค่ำคืนดังกล่าวไม่ให้ปวงบ่าวล่วงรู้นั้น ก็เพื่อที่บ่าวของพระองค์จะได้เพิ่มพูนเเละเเข็งขันในการทำอิบาดะฮ์ต่อพระองค์ในวันเวลาดังกล่าวทั้งหมดเพื่อเเสวงค่ำคืนอัลก็อดร์

ดุอาอฺ คืนลัยละตุลก็อดร์

และในคืนอัลก็อดร์นั้น มีดุอาอ์ที่ท่านนบีﷺได้สอนให้ท่านหญิงอาอิชะฮ์ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ได้ขอต่ออัลลอฮ์ﷻ ดังหะดีษที่รายงานโดยท่านหญิงอาอิชะฮ์ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า :

عن عائشة – رضي الله عنها – قالت: قلت يا رسول الله: أرأيت إن علمت أي ليلة ليلة القدر ما أقول فيها؟ قال: قولي اللهم إنك عفو تحب العفو فاعف عني. (رواه الترمذي)

จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า : ฉันได้กล่าว(กับท่านรอซูล)ว่า “โอ้ท่านรอซูลของอัลลอฮ์ ท่านจะว่าอย่างไร หากฉันรู้ว่าคืนไหนคือคืนอัลก็อดร์ ฉันจะกล่าววิงวอนอย่างไร?”

ท่านรอซูลﷺตอบว่า : “เธอจงกล่าวว่า :

اللَّهُمَّ إِنَّكَ عَفُوٌّ تُحِبُّ الْعَفْوَ ؛ فَاعْفُ عَنِّي

(อัลลอฮุมม้า อินนะก้า อะฟูวุน ตุฮิบบุนอัฟว้า ฟะฟุอันนี)

ความว่า :โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงใจบุญ ท่านรักการอภัยโทษ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ฉันด้วยเถิด”

(บันทึกโดยอัตติรมีซีย์)

ดุอา-คืนลัยละตุ้ลก็อดร์

โดยให้หมั่นเพียรขอดุอาอ์บทนี้ให้มาก ตลอดจนดุอาอ์อื่นๆในค่ำคืนดังกล่าว เเละให้เพิ่มพูนการทำอิบาดะฮ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการละหมาด การอ่านอัลกุรอาน การรำลึกถึงอัลลอฮ์ ขอลุแก่โทษต่อพระองค์ เเละอื่นๆที่เป็นอิบาดะฮ์ต่อพระองค์

สุดท้ายนี้ขอให้เราทุกคนได้เอาจริงเอาจังในการเเสวงหาความพอพระทัยจากอัลลอฮ์ﷻผ่านวันเวลาที่มีความประเสริฐนี้ เเละขอจากพระองค์ให้เราได้พบกับคืนอัลก็อดร์ที่การทำความดีในคืนนั้นมีค่ามากกว่าหนึ่งพันเดือนด้วยเถิด อามีน

#สิบวันสุดท้ายรอมฎอน
#เวลาแห่งความเพียรพยายาม

อ้างอิง


สรุป

วิธีจ่ายฟิดยะห์ เมื่อไม่สามารถถือศีลอดได้

วิธีจ่ายฟิดยะห์ สำหรับผู้ที่ถือศีลอดไม่ได้

ฟิดยะห์ คือการชดใช้จากการละเมิดข้อห้าม แต่สำหรับในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเฉพาะ การจ่ายฟิดยะห์ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถถือศีลอดในเดือนรอมฎอนได้

การจ่ายฟิดยะห์ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถถือศีลอดได้

คือการผู้ที่เดือนรอมฎอนมาถึงเขา เเต่เขาไม่สามารถที่จะทำการถือศีลอดได้ เช่นคนชรา ผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่มีโอกาสหายขาด หรือสตรีมีครรภ์เเละให้นมบุตรนั้น เขาไม่จำเป็นต้องถือศิลอดเนื่องจากไม่มีความสามารถ ดังนั้นเขาไม่ต้องถือศิลอด เเละจะต้องจ่ายอาหารให้เเก่คนยากจนหนึ่งคนสำหรับทุก ๆ วัน

อัลลอฮฺﷻทรงตรัสว่า :

(يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ * أَيَّاماً مَعْدُودَاتٍ فَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ فَمَنْ تَطَوَّعَ خَيْراً فَهُوَ خَيْرٌ لَهُ وَأَنْ تَصُومُوا خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ ) البقرة/183-184.

ความว่า : บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศิลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้วเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง * (คือถูกกำหนดให้ถือ)ในบรรดาวันที่ถูกนับไว้ แล้วผู้ใดในหมู่พวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ก็ให้ถือใช้ในวันอื่น และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือศีลอด) นั้น คือการชดเชย (ฟิดยะห์) อันได้แก่การให้อาหาร (มื้อหนึ่ง) แก่คนยากจนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน) แต่ผู้กระทำความดีโดยสมัครใจ มันก็เป็นความดีแก่เขา และการที่พวกเจ้าจะถือศิลอดนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้”

(อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 183-184)

ท่านอิบนุอับบาส รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้อรรถาธิบายอายะฮฺนี้ว่า :

لَيْسَتْ بِمَنْسُوخَةٍ هُوَ الشَّيْخُ الْكَبِيرُ وَالْمَرْأَةُ الْكَبِيرَةُ لا يَسْتَطِيعَانِ أَنْ يَصُومَا فَيُطْعِمَانِ مَكَانَ كُلِّ يَوْمٍ مِسْكِينًا . (رواه البخاري)

“มัน (อายะฮฺ) ไม่ได้ถูกยกเลิก นั่นคือ (หมายถึง) ชายชราเเละหญิงชราที่ไม่สามารถที่จะถือศิลอด ดังนั้นให้ทั้งสองให้อาหารคนยากจนหนึ่งคนเเทนที่ทุก ๆ วัน”

(บันทึกโดยอิหม่ามอัล-บุคอรีย์)


ประเภทของคนป่วย

ชัยคฺ อิบนุอุษัยมีน -รอหิมาฮุลลอฮฺ- กล่าวว่า : จำเป็นที่เราจะต้องรู้ว่าคนป่วยนั้นเเบ่งเป็นสองประเภทด้วยกัน :

1. คนป่วยที่มีโอกาสหายขาด

เช่นผู้ที่มีโรคฉุกเฉินที่หวังว่าจะหายขาดจากมัน ซึ่งหุก่มของชนิดนี้ดังที่อัลลอฮฺﷻทรงตรัสว่า :

(فَمَن كَانَ مِنكُم مَّرِيضًا أَوْ عَلَىٰ سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِّنْ أَيَّامٍ أُخَرَ)

ความว่า : แล้วผู้ใดในพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทางก็ให้ถือใช้ในวันอื่น

ไม่มีสิ่งใดสำหรับเขานอกจากเขาต้องรอคอยให้หายป่วยหลังจากนั้นก็ทำการถือศิลอด

ดังนั้นถ้าหากถูกกำหนดมาให้อาการป่วยยังคงต่อเนื่องในสภาพเช่นนี้ เเล้วเขาเสียชีวิตลงก่อนที่จะหายป่วย ก็ไม่มีสิ่งใดจำเป็นต่อเขา เนื่องจากอัลลอฮฺﷻได้กำหนดให้เขาต้องถือศิลอดชดใช้ในวันอื่น เเต่เขาเสียชีวิตก่อนจะถึงวันนั้น ฉะนั้นเขาก็เหมือนกับผู้ที่เสียชีวิตลงในเดือนชะอฺบานก่อนจะเข้ารอมฎอนที่ไม่ต้องถือศิลอดชดใช้เเทนเขา

2. คนป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังติดตัวมนุษย์

เช่นโรคมะเร็ง (ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ) โรคไต โรคเบาหวาน เเละที่คล้ายๆกันนี้จากบรรดาโรคเรื้อรังที่ไม่มีหวังว่าผู้ป่วยจะหลุดจากมัน ซึ่งผู้ป่วยชนิดนี้ไม่ต้องถือศิลอดในรอมฎอน เเละเขาจะต้องให้อาหารเเก่คนยากจนหนึ่งคนสำหรับทุกๆวันเช่นเดียวกับชายชราเเละหญิงชราที่ไม่สามารถที่จะถือศิลอดได้ โดยทั้งสองไม่ต้องถือศิลอด เเละให้อาหารคนยากจนหนึ่งคนสำหรับทุกๆวัน ซึ่งหลักฐานของเรื่องดังกล่าวจากอัล-กุรอาน คือดำรัสที่ว่า :

(وَعَلَى ٱلَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ)

ความว่า : และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง(โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร(มื้อหนึ่ง)แก่คนยากจนคนหนึ่ง(ต่อการงดเว้นจาการถือหนึ่งวัน)

(ฟ่าตาวา อัศศิยาม : 111)


สตรีมีครรภ์เเละให้นมบุตร

อนุญาตให้สตรีมีครรภ์หรือสตรีที่ให้นมบุตร ไม่ต้องถือศิลอดในเดือนรอมฎอนได้

ฉะนั้นถ้าหากนางไม่ถือศีลอดเนื่องจากเกรงว่าอันตรายจะเกิดกับตัวของนาง หรือเกรงว่าจะมีอันตรายต่อนางพร้อมกับลูกของนางด้วย ในกรณีนี้ให้ทำการถือศิลอดชดใช้เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องจ่ายฟิดยะฮฺ

เเต่สำหรับสตรีที่ไม่ถือศิลอดเพราะเกรงว่าอันตรายจะเกิดต่อลูกของนางเพียงอย่างเดียว จำเป็นที่นางจะต้องถือศิลอดชดใช้พร้อมควบคู่การจ่ายฟิดยะฮฺด้วย


วิธีการจ่ายฟิดยะฮฺ

โดยเขาสามารถเลือกได้ระหว่าง :

  1. ให้อาหารจำพวกข้าวสารหรืออาหารหลักของคนในประเทศ เเก่คนยากจนคนละครึ่งศออฺ (ประมาณ 1.5 กิโลกรัม) ต่อหนึ่งวัน

  2. หรือจะปรุงอาหารสำเร็จรูป แล้วเชิญคนยากจนเท่าจำนวนวันมารับประทานอาหารวันละ 1 มื้อ

ท่านอิหม่ามอัล-บุคอรีย์กล่าวว่า :

” ส่วนผู้สูงอายุนั้น ถ้าหากไม่สามารถที่จะถือศิลอดได้ ซึ่งท่านอนัส (รอฎิยัลลอฮุอันฮุ) ได้เลี้ยงอาหารคนยากจนหนึ่งคนสำหรับทุก ๆ วันหลังจากที่ท่านมีอายุมากเเล้ว เป็นเวลา 1 ปี หรือ 2 ปี โดยเลี้ยงขนมปังเเละเนื้อ เเล้วท่านก็ไม่ถือศิลอด “


จ่ายฟิดยะห์ ตอนไหน ?

ชัยคฺ อิบนุบาซ -รอหิมาฮุลลอฮฺ- กล่าวว่า :

“…เเละค่าปรับนี้ (ฟิดยะฮฺ) อนุญาตให้จ่ายให้คน ๆ เดียวหรือมากกว่านั้นก็ได้ จ่ายตอนต้นเดือน กลางเดือน หรือปลายเดือนก็ได้”

(มัจมั๊วะฟ่าตาวา : 15/203)

เเละอนุญาตให้จ่ายได้เเม้กระทั่งหลังรอมฎอน กล่าวคือหลังวันอีดิ้ลฟิตรฺ

วัลลอฮุอะลัม


อ้างอิง

ขอบคุณที่มาบทความ จากเพจ อิสลามตามแบบฉบับ

วิธีดุอากุนูต วิเตร ในเดือนรอมฎอน

ดูอากูนูต ละหมาดวิเตร

หุก่มของการอ่านดุอากูนูต ในละหมาดวิเตร

การอ่านดุอาอฺกูนูตในละหมาดวิเตรนั้น เป็นสุนนะห์ ทั้งในเดือนรอมฎอน และนอกเดือนเราะมะฎอน ใครจะกูนุตก็ได้ หรือไม่กูนูตก็ได้

อ่านดุอากุนูต วิเตร ตอนไหน

มีสุนนะห์ให้ยกมืออ่านดุอากูนูต ในรอกะอัตสุดท้ายของละหมาดวิเตร โดยจะอ่านหลังขึ้นจากรูกั้วะอ์ หรือก่อนลงรุกั้วะอ์ก็ได้

บทดุอาอฺ กูนูต ในละหมาดวิเตร

บทดุอากูนูต วิเตร ดังที่มีรายงานจากท่านหะสัน บิน อาลีย์ (รอฎิยัลลอฮุอันฮุมา) กล่าวว่า ท่านรอศูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สอนให้ฉันกล่าว (คืออ่านดุอาอฺ) ในกูนูตละหมาดวิเตร ว่า

اللَّهُمَّ اهْدِنِي فِيمَنْ هَدَيْتَ ، وَعَافِنِي فِيمَنْ عَافَيْتَ ، وَتَوَلَّنِي فِيمَنْ تَوَلَّيْتَ ، وَبَارِكْ لِي فِيمَا أَعْطَيْتَ ، وَقِنِي شَرَّ مَا قَضَيْتَ ، فإِنَّكَ تَقْضِي وَلا يُقْضَى عَلَيْكَ ، وَإِنَّهُ لا يَذِلُّ مَنْ وَالَيْتَ ، وَلا يَعِزُّ مَنْ عَادَيْتَ ، تَبَارَكْتَ رَبَّنَا وَتَعَالَيْتَ

ซึ่งดุอาอฺบทนี้มีความหมายว่า

” โอ้อัลลอฮฺได้โปรดทรงนำทางฉันร่วมกับผู้ที่พระองค์นำทางให้, และได้โปรดประทานความปลอดภัยให้แก่ฉันร่วมกับผู้ที่พระองค์ได้ทรงประทานความปลอดภัยให้, และได้โปรดคุ้มครองฉันร่วมกับผู้ที่พระองค์ได้ทรงคุ้มครอง, และได้โปรดประทานความจำเริญแก่ฉันในสิ่งที่พระองค์ทรงประทานให้, และได้โปรดปกป้องฉันให้พ้นจากความชั่วที่พระองค์ทรงกำหนดไว้, แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ที่ตัดสิน และไม่มีผู้ที่ตัดสินค้านกับพระองค์ได้, และแท้จริงไม่มีใครจะต่ำต้อย หากเขาคือผู้ที่พระองค์สนับสนุนช่วยเหลือ, และไม่มีใครจะมีเกียรติสูงส่ง หากพระองค์ถือว่าเขาเป็นศัตรู, มหาจำเริญแด่พระองค์ ผู้ทรงอภิบาลพวกเรา และพระองค์ทรงสูงส่ง, ไม่มีความปลอดภัยและทางรอดใด ๆ นอกจากไปสู่พระองค์ท่านเท่านั้น “

ส่วนใครที่เป็นอิหม่ามละหมาด ให้เปลี่ยนคำอ่านจาก “นี” เป็น “นา” (คือเปลี่ยนจากคำว่า “ฉัน” เป็นคำว่า “เรา”)

اللهم اهدنا فيمن هديت، وعافنا فيمن عافيت، وتولنا فيمن توليت، وبارك لنا فيما أعطيت، وقنا شر ما قضيت، إنك تقضي ولا يقضى عليك، إنه لا يذل من واليت، ولا يعز من عاديت، تباركت ربنا وتعاليت.

นอกจากบทดุอาอฺข้างต้นแล้ว เรายังสามารถบทดุอาอฺเพิ่มเติมได้เช่นกัน โดยมีอีกหลายบทดุอาอฺจากอัลกุรอานและหะดีษ ที่สามารถอ่านในดุอาอฺกูนูต เช่นบทดุอาอฺดังต่อไปนี้

اللهم اقسم لنا من خشيتك ما يحول بيننا وبين معاصيك، ومن طاعتك ما تبلغنا به جنتك، ومن اليقين ما تهون به علينا مصيبات الدنيا، ومتعنا بأسماعنا وأبصارنا وقوتنا ما أحييتنا، واجعله الوارث منا، واجعل ثأرنا على من ظلمنا، وانصرنا على من عادانا، ولا تجعل مصيبتنا في ديننا، ولا تجعل الدنيا أكبر همنا ولا مبلغ علمنا، ولا تسلط علينا من لا يرحمنا.


اللهم أصلح لنا ديننا الذي هو عصمة أمرنا، وأصلح لنا دنيانا التي فيها معاشنا، وأصلح لنا آخرتنا التي فيها معادنا، واجعل الحياة زيادة لنا في كل خير، واجعل الموت راحة لنا من كل شر.


اللهم إنا نسألك من الخير كله عاجله وآجله ما علمنا منه وما لم نعلم، ونعوذ بك من الشر كله عاجله وآجله ما علمنا منه وما لم نعلم، اللهم إنا نسألك من خير ما سألك عبدك ونبيك، ونعوذ بك من شر ما عاذ به عبدك ونبيك، اللهم إنا نسألك الجنة وما قرّب إليها من قول أو عمل، ونعوذ بك من النار وما قرّب إليها من قول أو عمل، ونسألك أن تجعل كل قضاء قضيته لنا خيراً.


اللهم إنك عفو تحب العفو فاعف عنا.


اللهم مصرِّف القلوب صرِّف قلوبنا على طاعتك.


اللهم إنا نسألك الهدى والتقى والعفاف والغنى.


اللهم اكفنا بحلالك عن حرامك، وأغننا بفضلك عمن سواك.


اللهم إنا نعوذ برضاك من سخطك، وبمعافاتك من عقوبتك، ونعوذ بك منك، لا نحصي ثناء عليك أنت كما أثنيت على نفسك.


اللهم إنا نعوذ بك من جهد البلاء، ودرك الشقاء، وسوء القضاء، وشماتة الأعداء.


{رَبَّنَا تَقَبَّلْ مِنَّا إِنَّكَ أَنْتَ السَّمِيعُ الْعَلِيمُ}.

{وَتُبْ عَلَيْنَا إِنَّكَ أَنْتَ التَّوَّابُ الرَّحِيمُ}.

{رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الْآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ}.

رَبَّنَا لَا تُؤَاخِذْنَا إِنْ نَسِينَا أَوْ أَخْطَأْنَا رَبَّنَا وَلَا تَحْمِلْ عَلَيْنَا إِصْرًا كَمَا حَمَلْتَهُ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِنَا رَبَّنَا وَلَا تُحَمِّلْنَا مَا لَا طَاقَةَ لَنَا بِهِ وَاعْفُ عَنَّا وَاغْفِرْ لَنَا وَارْحَمْنَا أَنْتَ مَوْلَانَا فَانْصُرْنَا عَلَى الْقَوْمِ الْكَافِرِينَ

{رَبَّنَا لَا تُزِغْ قُلُوبَنَا بَعْدَ إِذْ هَدَيْتَنَا وَهَبْ لَنَا مِنْ لَدُنْكَ رَحْمَةً إِنَّكَ أَنْتَ الْوَهَّابُ}.

{رَبَّنَا إِنَّنَا آمَنَّا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ}.

رَبَّنَا إِنَّنَا سَمِعْنَا مُنَادِيًا يُنَادِي لِلْإِيمَانِ أَنْ آمِنُوا بِرَبِّكُمْ فَآمَنَّا رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

رَبَّنَا وَآتِنَا مَا وَعَدْتَنَا عَلَى رُسُلِكَ وَلَا تُخْزِنَا يَوْمَ الْقِيَامَةِ إِنَّكَ لَا تُخْلِفُ الْمِيعَاد

{رَبَّنَا ظَلَمْنَا أَنْفُسَنَا وَإِنْ لَمْ تَغْفِرْ لَنَا وَتَرْحَمْنَا لَنَكُونَنَّ مِنَ الْخَاسِرِينَ}.

{رَبَّنَا آتِنَا مِنْ لَدُنْكَ رَحْمَةً وَهَيِّئْ لَنَا مِنْ أَمْرِنَا رَشَدًا}.

{رَبَّنَا اصْرِفْ عَنَّا عَذَابَ جَهَنَّمَ إِنَّ عَذَابَهَا كَانَ غَرَامًا}.

{رَبَّنَا هَبْ لَنَا مِنْ أَزْوَاجِنَا وَذُرِّيَّاتِنَا قُرَّةَ أَعْيُنٍ وَاجْعَلْنَا لِلْمُتَّقِينَ إِمَامًا}.

{رَبَّنَا اغْفِرْ لَنَا وَلِإِخْوَانِنَا الَّذِينَ سَبَقُونَا بِالْإِيمَانِ وَلَا تَجْعَلْ فِي قُلُوبِنَا غِلًّا لِلَّذِينَ آمَنُوا رَبَّنَا إِنَّكَ رَءُوفٌ رَحِيمٌ}.

{رَبَّنَا عَلَيْكَ تَوَكَّلْنَا وَإِلَيْكَ أَنَبْنَا وَإِلَيْكَ الْمَصِيرُ رَبَّنَا لَا تَجْعَلْنَا فِتْنَةً لِلَّذِينَ كَفَرُوا وَاغْفِرْ لَنَا رَبَّنَا إِنَّكَ أَنْتَ الْعَزِيزُ الْحَكِيمُ}.

«اللهم صل على محمد وعلى آل محمد، كما صليت على إبراهيم وعلى آل إبراهيم، إنك حميد مجيد، اللهم بارك على محمد وعلى آل محمد، كما باركت على إبراهيم وعلى آل إبراهيم، إنك حميد مجيد» وسلم تسليماً كثيراً.

สรุปเรื่องดุอาอกูนุต วิเตร

หุก่มวาญิบหรือสุนัต ?

กุนูตเป็นเรื่องสุนัต ทั้งในรอมฎอนและนอกรอมฎอน ใครจะอ่านหรือไม่อ่านก็ได้

อ่านตอนไหน ?

ให้อ่านดูอากูนูตในรอกะอัตสุดท้าย จะอ่านกูนูต ก่อนรูกั้วะอ์ หรือหลังรูกั้วะอ์ก็ได้

บทดุอากูนูต แบบไหน ?

ดุอากุนูต มีหลายตัวบทให้เลือกอ่าน ทั้งสั้นและยาว ตามที่เราได้ยกไปข้างต้นแล้ว


อ้างอิง

ฟิกฮฺในการละหมาดตะรอเวียะห์ที่บ้าน – ชัยคฺ สุลัยมาน อัร-รุหัยลียฺ (حفظه الله)

ละหมาดตะรอเวียะห์ ที่บ้าน

หลังจากมัสยิดทุกแห่งทั่วโลก ต้องประกาศปิด ไม่ให้คนมาละหมาดตะรอเวียะห์ที่มัสยิดในเราะมะฎอนปีนี้ อันเนื่องจากโรคระบาดไวรัสโคโรน่า COVID-19 ทำให้พี่น้องมุสลิมจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการละหมาดที่บ้านกับครอบครัว

ชัยคฺ สุลัยมาน ได้กล่าวว่า:

มัสญิดส่วนใหญ่ในปีนี้ ไม่ได้มีการละหมาดตะรอวีหฺ อันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่ประสบอยู่ (โควิด19)

ข่าวดีของการละหมาดตะรอเวียะห์ที่บ้านในปีนี้ก็คือ

  1. ผู้ที่ยืนหยัดในการละหมาดตะรอวีหฺในมัสญิดเมื่อปีที่แล้ว จะได้รับผลบุญเช่นเดียวกับที่เขาเคยทำมา
  2. ผู้ที่ไม่เคยละหมาดตะรอวีหฺที่มัสญิดในปีที่ผ่านมา แต่ได้ตั้งเนียตไว้ว่าจะละหมาดตะรอวีหฺที่มัสญิดในปีนี้ พวกเขาก็จะได้รับผลบุญเช่นเดียวกับการละหมาดตะรอวีหฺในมัสญิด

ชัยคฺ สุลัยมาน อัร-รุหัยลียฺ (حفظه الله) ได้ตอบคำถาม

อะไรคือหุก่มของการละหมาดตะรอวีหฺที่บ้าน ?

– มันเป็นซุนนะฮฺ มุอักดะฮฺ(สนับสนุนให้กระทำ) ให้ละหมาดตะรอวีหฺในบ้านของท่าน

แล้วรูปแบบของการละหมาดตะรอวีหฺแบบไหนที่ดีที่สุด ?

– ละหมาดเป็นญะมาอะฮฺกับครอบครัวของท่านในบ้านของท่าน

แล้วสามารถละหมาดคนเดียวได้ไหม ?

– ละหมาดคนเดียวได้ แต่ที่ดีกว่าคือการละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ

อัลกุรอ่านซูเราะฮฺไหนที่เราควรอ่านในตะรอวีหฺ ?

– ซูเราะฮฺไหนก็ได้ที่เขาจำได้ หรือจะเป็นซูเราะฮฺสั้นๆ หรือจะเป็นซูเราะฮฺสั้นๆไม่กี่ซูเราะฮฺ และคนๆหนึ่งสามารถที่จะอ่านซูเราะฮฺเดิมๆซ้ำๆกันก็ได้

เราสามารถถืออัลกุรอ่าน(มุศหัฟ)ได้ไหม ?

– ได้

แล้วเราจะต้องกุนูตในละหมาดตะรอวีหฺไหม ?

– ได้ มันมีในหลักการ และอนุญาตให้ทำการกุนูตตั้งแต่ต้นเดือนเราะมะฎอน จนกระทั่งจบเดือนก็ได้ โดยเฉพาะในครึ่งหลังของเดือนเราะมะฎอน ที่แนะนำอย่างมากให้กุนูต เพราะสะลัฟของพวกเราได้เคยกระทำ

เวลาไหนที่เราควรจะละหมาดตะรอวีหฺ ?

– คนๆหนึ่งควรจะละหมาดตะรอวีหฺตามที่เขาสะดวก อย่าทำให้มันยากลำบากเกินไป แต่ที่ดีที่สุดคือช่วงสุดท้ายของเวลากลางคืน ถ้ามันง่ายสำหรับท่าน หรือจะละหมาดต่อจากละหมาดอีชาอฺเลยก็ได้ ถ้ามันสะดวกแก่ท่าน อันเนื่องมาจากกลัวว่าจะง่วงนอน จะเกิดความขี้เกียจ แล้วทำให้พลาดการละหมาดตะรอวีหฺไป หรือละหมาดไปแล้วหลับใน

อ้างอิง

จุฬาราชมนตรี อนุญาตให้ละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด

อนุญาตละหมาดวันศุกร์ ที่มัสยิด

จุฬาราชมนตรี ประกาศอนุญาตให้ละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด โดยมีระเบียบการปฎิบัติดังนี้

1. มาตรการดำเนินการ

ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดใช้ดุลยพินิจร่วมกับคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด โดยขอคำปรึกษาจากผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัด ในการปฏิบัติศาสนกิจละหมาดวันศุกร์ (ญุมอะห์) เพื่อให้เป็นไปตามประกาศจุฬาราชมนตรี ฉบับนี้ (ฉบับที่ 5/2563) และมาตรการหรือคำแนะนำของทางราชการเกี่ยวกับการป้องกันโรค

2. แนวทางการปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาดวันศุกร์)

2.1 สำหรับมัสยิด

  1. ให้กรรมการมัสยิด หรือหน่วยงานสาธารณสุขพื้นที่ ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้ามัสยิด
  2. ให้จัดวางเจลแอลกอฮอล์ไว้หน้าทางเข้ามัสยิด
  3. งดใช้บ่อน้ำ (กอละห์) หรืออ่างใหญ่ร่วมกัน
  4. ให้ทำความสะอาดมัสยิดก่อนและหลังละหมาดวันศุกร์ทุกครั้ง และไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ ให้เปิดหน้าต่างมัสยิด ผ้าม่าน เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก
  5. ให้จัดทำเครื่องหมายระบุจุดละหมาด ที่สามารถระบุตำแหน่งได้ โดยให้เว้นระยะห่าง 1.5-2 เมตร
  6. ให้ควบคุมทางเข้าออกมัสยิด และจัดระเบียบระยะห่างขณะเดินเข้าและออกจากมัสยิด

2.2 สำหรับผู้มาละหมาดวันศุกร์

  1. ให้อาบน้ำละหมาดจากที่บ้าน
  2. ให้ใช้ผ้าปูละหมาดส่วนตัว โดยนำมาจากบ้าน
  3. ให้ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ที่มัสยิดจัดเตรียมไว้
  4. ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติศาสนกิจ
  5. งดการสลามด้วยการสัมผัสมือ การสวมกอด และสัมผัสแก้ม โดยให้ยกมือพร้อมกล่าวสลามเท่านั้น
  6. เด็กและสตรีให้งดละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด
  7. หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ให้งดไปละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด

2.3 การละหมาดวันศุกร์

  1. ให้เว้นระยะห่างระหว่างแถวและในแถว 1.5 – 2 เมตร และให้ยืนตามจุดที่มัสยิดได้จัดทำเครื่องหมายไว้
  2. ให้กระชับเวลาในการละหมาดวันศุกร์ นับตั้งแต่อาซาน คุตบะห์ และละหมาด ไม่เกิน 20 นาที

ทั้งนี้ ยังคงให้งดการจัดกิรกรรมทางศาสนาและกิจกรรมอื่นที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มทุกประเภท ตลอดจนการเลี้ยงละศีลอด


อ้างอิง

ประกาศ อนุญาตละหมาดวันศุกร์ ที่มัสยิด
ประกาศ อนุญาตละหมาดวันศุกร์ ที่มัสยิด
ประกาศ อนุญาตละหมาดวันศุกร์ ที่มัสยิด

บทเรียนในรอมฎอน ฮาลากอฮ #1

บทเรียน ในเดือน รอมฎอน

สรุปฮาลากอฮ ซอย 7 นัดพิเศษ # รอมฎอน 1

1. รอมฎอนเดียว อาจเพียงพอให้เป็นชาวสวรรค์

มีชายสองคน

ชายคนที่หนึ่ง : เป็นคนขยันทำอิบาดะห์และได้ตายชาฮีดในสงครามอีกด้วย,

ชายคนที่สอง : ตายหลังจากชายคนแรกหนึ่งปี แต่กลับได้เข้าสวรรค์ก่อน

ท่านฏ็อลหะฮฺ บิน อุบัยดิลลาฮฺ ได้ฝันเห็นเรื่องราวนี้ และได้ถามท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮูอลัยฮีวะสัลลัม) ถึงสาเหตุที่ชายคนที่สองได้เข้าสวรรค์ก่อน แล้วท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็กล่าวว่า

” ชายคนนั้นยังมีชีวิตอยู่ และยังละหมาดอยู่ใช่หรือไม่ ? แล้วเขาก็ยังมีชีวิตอยู่ทันเดือนรอมฎอน และยังถือศีลอดเดือนรอมฎอนอีกด้วย มิใช่หรือ ? ”

“ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉัน (มุฮัมมัด) อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ (อัลลอฮฺ) แท้จริง ชายคนนั้นกับชายอีกสองคนนั้น ห่างกันไกลเสมือนดังฟ้าและดิน ”

จะเห็นว่าชายคนที่สองได้เข้าสวรรค์ก่อนเพราะเขาได้เต็มที่กับการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน การเต็มที่กับการถือศิลอด ย่อมไม่ใช่แค่การอดอาหารและอดน้ำแน่นอน แต่เป็นการอดและทนจากสิ่งที่ฮารอมและมักรุฮต่าง ๆ

(อ้างอิง : คลิปอธิบายเรื่องราวโดยละเอียด)

2. การถือศีลอด คือวิธีการขอบคุณอัลลอฮฺ

เดือนนี้คือเดือนแห่งการถือศิลอด การถือศิลอดคือวิธีการขอบคุณอัลลอฮที่ยิ่งใหญ่วิธีหนึ่ง

“เมื่อท่านร่อซูล อพยพมาถึงมะดีนะฮฺ ท่านได้เห็นพวกยิวถือศีลอดในวันอาชูรอ ท่านร่อซูลลุลลอฮฺ จึงถามพวกยิวว่า วันนี้เป็นวันอะไร ? พวกยิวตอบว่า วันนี้เป็นวันที่อัลลอฮฺทรงให้ชาวอิสรออีล รอดพ้นจากศัตรู (หมายถึงฟิรอูนหรือฟาโรห์) ” และต่อมาท่านนบีมูซาก็ได้ถือศีลอดในวันนั้นท่านร่อซูล จึงกล่าวว่า : ฉันนั้น สมควรสำหรับท่านนบีมูซายิ่งกว่าพวกเจ้า (หมายถึงท่านร่อซูล มีสิทธิที่จะถือศีลอดนี้ยิ่งกว่าพวกชาวอิสรออีลเสียอีก) ดังนั้น ท่านนบี ก็ถือศีลอดวันอาชูรอ และกำชับให้มุสลิมถือศีลอดในวันอาชูรออีกด้วย ” (บันทึกโดย อิมามอัลบุคอรีย์และมุสลิม)

3. รอมฎอน เดือนแห่งการบริจาค

เดือนนี้คือเดือนแห่งการบริจาค ท่านนบีจะแอคทีฟในการบริจาคมาก เปรียบว่าเร็วยิ่งกว่าสายลม

รายงานจากท่านอิบนิ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِي رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ جِبْرِيلُ وَكَانَ يَلْقَاهُ فِي كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ رَمَضَانَ فَيُدَارِسُهُ الْقُرْآنَ فَلَرَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدُ بِالْخَيْرِ مِنْ الرِّيحِ الْمُرْسَلَ

“ ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นผู้ที่ใจบุญที่สุด และท่านจะใจบุญมากยิ่งขึ้นในเดือนเราะมะฎอน (มากกว่าเดือนอื่นๆ) ขณะที่ท่านญิบรีลได้พบกับท่าน และท่านญิบรีลจะพบกับท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ทุก ๆ คืนในเดือนเราะมะฎอน และจะทบทวนอัลกุรอานกับท่านญิบรีล ท่านเราะซูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นผู้ที่ใจบุญในความดีงามยิ่งกว่าสายลมที่พัดผ่านเสียอีก ”

4. เข้าใจการละหมาดตะรอเวียะห์

การละหมาดตารอเวียฮนั้น เป็นผลบุญที่ยิ่งใหญ่มาก แต่หลายคนให้ความสำคัญกับการละหมาดนี้อย่างไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ใส่ใจในการละหมาดอีชาที่เป็นวาญิบ, ละหมาดรอวาติบ ก่อน-หลัง โดยเฉพาะหลังวักตูอีชา, การอ่านฟาติหะห์แบบผ่าน ๆ เร็ว ๆ เพื่อจะได้มีเวลาอ่านอายะห์อื่น ๆ มากขึ้น ฯลฯ เหล่านี้บ่งบอกถึงความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

5. ศึกษา ซูเราะห์อัลฟาตีฮะห์

หากใครที่อ่านกุรอ่านยาวไม่คล่อง ลองศึกษาฟาติหะฮ์ให้ลึกซึ้ง แล้วจะพบว่าการละหมาดของเรามีรสชาติขึ้นมาก วันหนึ่งอย่างน้อยต้องอ่านในละหมาดฟัรฎูถึง 17 ครั้ง ในละหมาดตารอเวียฮอีกมาก ฉะนั้นถ้าเราลึกซึ่งกับฟาติฮะห์ เราจะได้อินกับละหมาดอย่างน้อย ๆ ก็ 30 นาทีต่อวันแล้ว

6. ความยำเกรง คือเป้าหมายของการถือศีลอด

เป้าหมายของรอมฎอนคือความยำเกรง เป้าหมายของการศิยามก็คือการพิชิตซึ่งความยำเกรง

يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ

” ผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดเป็นฟัรฎู (คือเป็นการบังคับ) แก่พวกเจ้า ดั่งเช่นที่ได้ถูกกำหนดแก่ประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง ”

การละหมาดก็เพือความยำเกรง การบริจาคก็เพื่อความยำเกรง และเมื่อยำเกรงแล้ว เราจะได้รับทางนำจากกุรอ่าน

ذَٰلِكَ الْكِتَابُ لَا رَيْبَ ۛ فِيهِ ۛ هُدًى لِّلْمُتَّقِينَ

” คัมภีร์นี้ ไม่มีความสงสัยใด ๆ ในนั้น เป็นคำแนะนำสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงเท่านั้น “

الَّذِينَ يُؤْمِنُونَ بِالْغَيْبِ وَيُقِيمُونَ الصَّلَاةَ وَمِمَّا رَزَقْنَاهُمْ يُنفِقُونَ

” คือบรรดาผู้ศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขานั้น พวกเขาก็บริจาค “

จะเห็นได้ว่าอัลกุรอ่าน การละหมาด และการบริจาค ซึ่งเป็นอาม้าลที่โดดเด่นของรอมฎอน ล้วนตอบโจทย์เรื่องความยำเกรงทั้งสิ้น ฉะนั้นอย่าถือศิลอดแต่ด้วยปาก แต่จงถือศิลอดด้วยหัวใจ ให้หัวใจไม่มีสิ่งใดและผู้ใดนอกจากอัลลอฮ

7. คนที่ไม่มีวันเบื่อพระดำรัสของอัลลอฮฺ

ขอทิ้งท้ายด้วยวรรคทองคำของซอฮาบะห์ผู้มีชีวิตด้วยกุรอ่าน ผู้รวบรวมจัดทำเล่มกุรอ่านให้เป็นแบบแผนเดียวกัน และผู้ที่เสียชีวิตขณะอ่านกุรอ่านโดยที่มือของท่านยังไม่ทันได้ปิดเล่มกุรอ่าน ในขณะที่ท่านกำลังถือศีลอด

” หากหัวใจของท่านมีความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ท่านจะไม่มีวันเบื่อพระดำรัสของอัลลอฮ ”

(ท่านอุสมาน บิน อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)

# ฮาลากอฮ ซอย 7


อ้างอิง

ยะลา ยังน่าห่วง! พบผู้ติดเชื้อพุ่งรวด 16 ราย!

อัพเดท covid-19 ยะลา

ผู้ติดเชื้อ COVID-19 จ.ยะลา อาจพุ่งขึ้นถึง 16 ราย

เมื่อเวลา 20:41น. ของวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 ได้มีการอัพเดทสถานการณ์ COVID-19 จ.ยะลา ผ่านเฟสบุคส่วนตัวของผู้ใช้งานชื่อ รอซี นเรนทร์ ว่า

เที่ยวแล้วเที่ยวเล่า
รถ AMBULANCE โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา
เข้ามารับผู้พบเชื้อรายใหม่จำนวน 16 คน
ม.2 ต.บาโงยซิแน อ.ยะหา จ.ยะลา
****โควิดทำให้ทั้งหมอ พยาบาล และฝ่ายปกครองทำงานทั้งวันทั้งคืน
FB-อัพเดท-covid-19-ยะลา

UPDATE 23:01น. จ.ยะลา อาจมีบวกถึง 23 ราย

มีการอัพเดทในกลุ่มไลน์ ภาคใต้สามจังหวัด เฉพาะตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา มีการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ รวม 23 คน ดังนี้

  • ม.2 = 16 คน
  • ม.4 = 1 คน
  • ม.5 = 1 คน
  • ม.6 = 5 คน
Line อัพเดท covid-19 จ.ยะลา

ทั้งนี้เมื่อตอนเที่ยงของวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 จังหวัดยะลา เพิ่งได้รับข่าวดีเมื่อไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่

แต่จากสถานการณ์ตอนนี้ พรุ่งนี้เราอาจจะได้เห็นการรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ของจังหวัดยะลา พุ่งขึ้นอีกครั้ง

ขอเป็นกำลังเป็นกำลังใจให้ หมอ พยาบาล ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคน ตลอดจนผู้ป่วย ขอให้สู้ ๆ แล้วเราจะต้องผ่านมันไปให้ได้

อัพเดท covid-19 2 พ.ค. 2562
ภาพอัพเดทข้อมูล จาก กระทรวงสาธารณะสุข

สรุปสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2563

  • ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 6 คน
  • รวมผู้ป่วยสะสม 2,966 คน
  • รักษาหายแล้ว 2,732 คน (เพิ่ม 13 คน)
  • กำลังรักษาอยู่ รพ. 180 คน
  • ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม ยอดรวมผู้เสียชีวิตยังคงอยู่ที่ 54 คน

รายละเอียดผู้ป่วยรายใหม่ 6 คน

  • สัมผัสใกล้ชิดกับู้ป่วยก่อนหน้า 2 คน เป็นหญิงชาว จ.ภูเก็ต และชายกรุงเทพฯ
  • จากการตรวจเชิงรุก (Active Case Finding) ที่ จ.ภูเก็ต
  • ผู้ป่วยที่เดินทางจากต่างประเทศ และเข้าState Quaratine 2 คน เป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากญี่ปุ่น และนักบวชที่กลับมาจากอินเดีย

โดยการกระจายตัวของโรคในรอบ 28 วันนั้น มีการกระจายตัวใน 39 จังหวัด โดยกรุงเทพฯ ยังมีผู้ป่วยสะสมมากที่ 1,524 คน ขณะที่ภูเก็ตยังคงมีอัตรการป่วยต่อแสนประชากรสูงที่สุด

Covid-19 2 พ.ค. 2563
ภาพอัพเดทข้อมูล จาก workpoint today

การนินทาและร่วมวงนินทา ทำให้เสียศีลอดหรือไม่ ?

โทษของการนินทา เดือนรอมฎอน

คำถาม : ฉันมีเพื่อนคนหนึ่งที่ชอบพูดถึงผู้คนในเดือนรอมฎอนและเดือนอื่น ๆ และแน่นอนว่าเราอยู่ด้วยกันในที่ทำงานแห่งหนึ่งซึ่งเขาไม่เคยแยกจากฉัน โปรดตอบคำถามถึงหุก่มที่ฉันต้องได้ยินคำพูดของเขา ?

การถือศีลอด เพื่อเกิดความยำเกรง

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ

ประเด็นที่หนึ่ง
อัลลอฮฺได้สั่งใช้ให้เราถือศีลอดตลอดเดือนรอมฎอน เพื่อให้ผู้ถือศีลอดเกิดความยำเกรง อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ

“ โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (อัลบะกอเราะฮฺ 2:183)

ถ้าหากเพื่อนร่วมงานคนนั้น ผู้ซึ่งกำลังกินเนื้อพี่น้องของเขาอยู่ (ด้วยกับการนินทา) ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเดือนนี้ และเมื่อไหร่กันเล่าที่เขาจะหันมาให้ความสำคัญ เตาบะฮฺ และเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ ?

มีรายงานว่าท่านอบูฮูรอยเราะฮฺ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) กล่าวว่า ท่านรอซูลลุลลอฮฺ (ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า

  مَنْ لَمْ يَدَعْ قَوْلَ الزُّورِ وَالْعَمَلَ بِهِ فَلَيْسَ لِلَّهِ حَاجَةٌ فِي أَنْ يَدَعَ طَعَامَهُ وَشَرَابَهُ 

“ผู้ใดก็ตามที่ไม่ละเว้นจากการพูดเท็จ และยังคงปฏิบัติมัน ดังนั้น อัลลอฮฺก็ไม่มีความต้องการการละทิ้งอาหาร และการละทิ้งการดื่มกินของเขา” (บันทึกโดยอิหม่ามอัลบุคอรียฺ, 1804)

ท่านอุมัร อิบนฺค็อตตอบ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) กล่าวว่า 

 ” ليس الصيام من الشراب والطعام وحده ، ولكنه من الكذب والباطل واللغو “ 

“ การถือศีลอดมิใช่แค่ (การอด) อาหาร และเครื่องดื่ม แต่ทว่ามัน คือ การละเว้นจากการโกหก พูดความเท็จ และการพูดไร้สาระ ”

ท่านญาบิร อิบนฺอับดุลลอฮฺ อัลอันศอรียฺ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) กล่าวว่า 

” إذا صمتَ فليصُم سمعك وبصرك ولسانك عن الكذب والمأثم ، ودع أذى الخادم ، وليكن عليك وقار وسكينة يوم صومك ، ولا تجعل يوم فطرك ويوم صومك سواء “

“ เมื่อท่านถือศีลอด ก็จงให้การได้ยิน การมองเห็น และลิ้นของท่าน ถือศีลอดจากการโกหก และความผิดบาป หยุดการด่าทอทาสรับใช้ และจงอยู่อย่างสงบเยือกเย็นในวันที่ท่านถือศีลอด จงอย่าให้วันที่ท่านไม่ได้ถือศีลอดเป็นเหมือนกับวันที่ท่านถือศีลอด “

ผู้ถือศีลอด ที่ขาดทุน

สำหรับผู้ที่นินทาผู้อื่น และกินเนื้อพี่น้องของเขา จงพึงระวังไว้เถิด การถือศีลอดของท่านนั้นขาดทุน และสิ่งที่ท่านจะได้รับ หาใช่สิ่งใดไม่นอกจากความหิวกระหาย

มีรายงานว่าท่านอบูฮูรอยเราะฮฺ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) กล่าวว่า ท่านรอซูลลุลลอฮุ (ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า

 رُبَّ صَائِمٍ حَظُّهُ مِنْ صِيَامِهِ الْجُوعُ وَالْعَطَشُ ، وَرُبَّ قَائِمٍ حَظُّهُ مِنْ قِيَامِهِ السَّهَرُ 

“ จะมีผู้ที่ถือศีลอด และไม่ได้รับสิ่งใดเลยนอกจากความหิว และความกระหาย และจะมีผู้ที่ละหมาดกียาม แต่สิ่งที่ได้รับมาก็คือการอดหลับอดนอน ” (รายงานโดยอะฮฺหมัด)

อุละมาอฺบางส่วนได้ให้ทัศนะว่าการทำบาปนั้นทำให้เสียศีลอด
ท่านฮัฟเศาะฮฺ บินตฺซีรีน (รอฮิมาฮัลลอฮฺ) กล่าวว่า 

الصيام جُنَّة ، ما لم يخرقها صاحبها ، وخرقها الغيبة ! .

“ การถือศีลอด คือ เกราะป้องกัน ตราบใดที่ผู้ถือศีลอดไม่ได้ทำให้เป็นโมฆะ และสิ่งที่ทำให้มันโมฆะ คือ การนินทา”
มีรายงานว่าท่านอิบรอฮีม อันนะคออียฺ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า 

: كانوا يقولون : الكذب يفطِّر الصائم !

“ มีการกล่าวกันว่า การโกหกนั้นทำให้เสียศีลอด ”

ซึ่งเป็นมุมมองของบรรดาสะลัฟบางส่วนเช่นกัน ที่มองว่าการทำบาปทุกประเภท จะทำให้เสียศีลอด และใครก็ตามที่ทำบาปในช่วงถือศีลอดจำเป็นจะต้องถือศีลอดชดใช้ ดังเช่น ท่านอิหม่ามอัลเอาซาอียฺ เช่นเดียวกันกับอิบนฺ ฮัซมฺ อัซซอฮีรียฺ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ)

แต่ทว่าอุละมาอฺส่วนมากให้ความเห็นว่าการทำบาปนั้นจะลดทอนผลบุญการถือศีลอด แต่ไม่ทำให้เสียศีลอด ซึ่งเป็นทัศนะที่ถูกต้อง ดูเพิ่มเติมในคำถามหมายเลข 50063

การนินทา คือ บาปใหญ่

ประเด็นที่สอง
การนินทา คือ บาปใหญ่ อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ได้ทรงตรัสว่า 

 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اجْتَنِبُوا كَثِيراً مِنَ الظَّنِّ إِنَّ بَعْضَ الظَّنِّ إِثْمٌ وَلا تَجَسَّسُوا وَلا يَغْتَبْ بَعْضُكُمْ بَعْضاً أَيُحِبُّ أَحَدُكُمْ أَنْ يَأْكُلَ لَحْمَ أَخِيهِ مَيْتاً فَكَرِهْتُمُوهُ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ تَوَّابٌ رَحِيمٌ 

” โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย! พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากส่วนใหญ่ของการสงสัย แท้จริงการสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป และพวกเจ้าอย่าสอดแนม และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งในหมู่พวกเจ้านั้นชอบที่จะกินเนื้อพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้นหรือ ? พวกเจ้าย่อมเกลียดมัน และจงยำเกรง
อัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ ” (อัลหุญุร็อต 49:12)

มีรายงานจากท่านอนัส อิบนฺมาลิก กล่าวว่า ท่านรอซูลลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า 

 لَمَّا عَرَجَ بِي رَبِّي عَزَّ وَجَلَّ مَرَرْتُ بِقَوْمٍ لَهُمْ أَظْفَارٌ مِنْ نُحَاسٍ يَخْمُشُونَ وُجُوهَهُمْ وَصُدُورَهُمْ ، فَقُلْتُ : مَنْ هَؤُلاءِ يَا جِبْرِيلُ ؟ قَالَ : هَؤُلاءِ الَّذِينَ يَأْكُلُونَ لُحُومَ النَّاسِ وَيَقَعُونَ فِي أَعْرَاضِهِمْ  .

“ เมื่อพระเจ้าของฉันได้นำฉันขึ้นไปบนฟากฟ้า ฉันได้ผ่านกลุ่มชนหนึ่ง ผู้ซึ่งมีเล็บเป็นทองแดง และกำลังขีดข่วนหน้า และหน้าอกของพวกเขา ” ฉันจึงถามว่า “ โอ้ญิบรีลเอ๋ย คนพวกนี้เป็นใครกันหรือ? ” เขาได้ตอบว่า “นี่คือผู้ที่เคยกินเนื้อพี่น้องของเขา และหยามเกียรติพี่น้องของเขา ” (อบูดาวูด)

ต้องตำหนิเพื่อนที่ชอบนินทา

ประเด็นที่สาม
ท่านต้องตำหนิเพื่อนของท่าน และไม่ยอมรับการกระทำของเขา

มีรายงานว่าท่านอบูซะอีด อัลคุฎรียฺ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า 

مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ , فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ , فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ , وَذَلِكَ أَضْعَفُ الإِيمَانِ 

“ ผู้ใดเห็นความชั่วดังนั้นจงรีบเร่งทำการเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือ (อำนาจ) ของเขา หากเขาไม่มีความสามารถที่จะทำการเปลี่ยนแปลงได้ จงใช้ลิ้น (วาจา) ในการเปลี่ยนแปลงมัน หากเขาไม่มีความสามารถจงใช้จิตใจ (ให้รังเกียจการกระทำความชั่วนั้น) ดังกล่าวนั้น คือ ระดับอีหม่านที่อ่อนที่สุด” (รายงานโดยมุสลิม, 49)

ท่านอิหม่ามอันนะวะวียฺ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) ได้กล่าวไว้มีความว่า
” พึงทราบเถิดว่า ผู้ที่ได้ยินการนินทาถึงมุสลิมนั้น จะต้องปฏิเสธการกระทำนั้น และตำหนิผู้ที่กล่าวมันออกมา ถ้าไม่ตำหนิด้วยวาจาก็ให้ทำด้วยการกระทำ ถ้าไม่สามารถด้วยการกระทำ หรือวาจา ก็จงออกห่างจากวงสนทนานั้นเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเขาได้ยินเกี่ยวกับชัยคฺ (อาจารย์) ของเขา หรือผู้ที่มีสิทธิเหนือเขา หรือผู้ที่เคร่งครัด เป็นคนดี ก็จงให้ความระมัดระวังถึงสิ่งที่เราจะกล่าวออกมา “

ในหนังสือของอิหม่ามอัตติรมีซียฺ รายงานจากท่านอบูดัรดาอฺ (รอฎิยัลลอฮุอันฮฺ) ว่าท่านนบี (ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า 

( مَنْ رَدَّ عَنْ عِرْضِ أخِيهِ رَدَّ اللَّهُ عَنْ وَجْهِهِ النَّارَ يَوْمَ القِيامَةِ )

“ ผู้ใดก็ตามที่ปกป้องเกียรติพี่น้องของเขา อัลลอฮฺจะทรงปกป้องเขาจากไฟในวันกียามะฮฺ ” (อัตติรมีซียฺ)
สิ้นสุดการอ้าง ในหนังสืออัลกัซการ

มีคนถามชัยคฺอับดุลอะซีซ อิบนฺบาซ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) ว่า
ฉันเป็นสาววัยรุ่น และรังเกียจการนินทา บางครั้งฉันนั่งกับผู้คนที่พูดถึงเรื่องของผู้อื่น นินทาพวกเขา ในใจฉันรู้สึกเกลียด และขยะแขยงสิ่งนี้ แต่ฉันรู้สึกอายที่จะเอ่ยห้ามไม่ให้พวกเขากระทำ และไม่มีทางที่ฉันจะหลีกหนีจากพวกพวกไปได้ อัลลอฮฺทรงรู้ดีว่าฉันนั้นต้องการให้พวกเขาพูดเรื่องอื่นแค่ไหน ฉันจะได้รับบาปจากการนั่งร่วมกับพวกเขาไหม? ฉันควรทำอย่างไร ? ขออัลลอฮฺช่วยเหลือท่านให้ได้กระทำสิ่งที่ดีที่สุดแก่อัลอิสลามและบรรดามุสลิม

ท่านได้ตอบว่า :
” มันเป็นบาปสำหรับท่าน นอกจากว่าท่านได้ตำหนิความชั่วร้ายอันนั้น ถ้าพวกเขาตอบรับสิ่งที่ท่านพูด ก็จงสรรเสริญอัลลอฮฺ หรือไม่เช่นนั้น ท่านก็ต้องหนีจากพวกเขา และอย่าได้นั่งร่วมกับพวกเขา เพราะ อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า

( وَإِذَا رَأَيْتَ الَّذِينَ يَخُوضُونَ فِي آَيَاتِنَا فَأَعْرِضْ عَنْهُمْ حَتَّى يَخُوضُوا فِي حَدِيثٍ غَيْرِهِ وَإِمَّا يُنْسِيَنَّكَ الشَّيْطَانُ فَلا تَقْعُدْ بَعْدَ الذِّكْرَى مَعَ الْقَوْمِ الظَّالِمِينَ )

“ และเมื่อเจ้าเห็นบรรดาผู้ซึ่งกำลังวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในบรรดาโองการของเรา แล้ว ก็จงออกห่างจากพวกเขาเสีย จนกว่าพวกเขาจะวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องอื่นจากนั้น และถ้าชัยฏอนทำให้เจ้าลืมแล้ว ก็จงอย่างนั่งรวมกับพวกที่อธรรมเหล่านั้นต่อไป หลังจากที่มีการนึกขึ้นได้ ” (ซูเราะห์อัลอันอาม 6:68)


( وَقَدْ نَزَّلَ عَلَيْكُمْ فِي الْكِتَابِ أَنْ إِذَا سَمِعْتُمْ آَيَاتِ اللَّهِ يُكْفَرُ بِهَا وَيُسْتَهْزَأُ بِهَا فَلَا تَقْعُدُوا مَعَهُمْ حَتَّى يَخُوضُوا فِي حَدِيثٍ غَيْرِهِ إِنَّكُمْ إِذًا مِثْلُهُمْ )

“ และแน่นอน อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่พวกเจ้าแล้วในคัมภีร์ นั้นว่า เมื่อพวกเจ้าได้ยินบรรดาโองการของอัลลอฮฺโองการเหล่านั้นก็ถูกปฏิเสธศรัทธา และถูกเย้ยหยัน ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่านั่งร่วมกับพวกเขา จนกว่าพวกเขาจะพูดคุยกันในเรื่องอื่นจากนั้น แท้จริงพวกเจ้านั้น-ถ้าเช่นนั้นแล้วก็เหมือนพวกเขา ” (ซูเราะห์อันนิซาอฺ 4:104)

และท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่า

 ( مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ , فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ , فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ , وَذَلِكَ أَضْعَفُ الإِيمَانِ )

“ ผู้ใดเห็นความชั่วดังนั้นจงรีบเร่งทำการเปลี่ยนแปลงมัน ด้วยมือ (อำนาจ) ของเขา หากเขาไม่มีความสามารถที่จะทำการเปลี่ยนแปลงได้ จงใช้ลิ้น (วาจา) ในการเปลี่ยนแปลงมัน หากเขาไม่มีความสามารถจงใช้จิตใจ (ให้รังเกียจการกระทำความชั่วนั้น) ดังกล่าวนั้นคือระดับอีหม่านที่อ่อนที่สุด ” (บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม)

และยังมีอายะฮฺอัลกุรอาน อัลฮะดีษอีกมากมายที่กล่าวถึงในทำนองนี้ และอัลลอฮฺคือผู้ทรงเกรียงไกร “
สิ้นสุดการอ้าง จากมัจมูอฺฟะตาวา อัชชัยคฺ อิบนฺบาซ

สรุป

ดังนั้นจงพยายามตักเตือนเพื่อนของท่านเกี่ยวกับฮูกุ่มของการนินทา อธิบายให้เขาฟังถึงบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำ เพื่อให้เขาเลิกจากความผิดบาปนี้ และจงเตือนเขาว่าการนินทาในเดือนรอมฎอนนั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายขึ้นไปอีก และจากนั้น ท่านควรที่จะหลีกเลี่ยงการนั่งร่วมกับเขา หากเขายังคงไม่ตอบสนองต่อคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ แต่ถ้าหากท่านเป็นผู้ร่วมงานกับเขา และไม่สามารถหลีกหนีจากสถานที่นั้นได้ ก็จงเลี่ยงการรับฟัง และไม่ใส่ใจต่อสิ่งที่เขาพูด ท่านอาจจะเตือนเขาไปว่า จะนำเรื่องไปรายงานยังผู้บังคับบัญชาของเขา หรือสำทับว่าจะนำเรื่องนี้ไปบอกกับคนที่เขาพูดถึง เพราะว่าถึงแม้เขาจะไม่เกรงกลัวอัลลอฮฺ เขาก็อาจจะกลัวผู้คน และหยุดนินทาผู้อื่น จากนั้นท่านก็จะมีโอกาสน้อยลงที่จะได้รับฟังการพูดอันน่ารำคาญของเขา

วัลลอฮุอะอฺลัม

อ้างอิง

ฟัตวาต้นฉบับ islamqa.info
แปลภาษาไทยโดย เพจ

12 ข้อแนะนำ อาหารละศีลอด เพื่อสุขภาพมุสลิมไทย

อาหารละศีลอด

เคยสงสัยกันใช่ไหมครับ ว่าช่วงถือศีลอดในเดือนรอมฎอน อดอาหารกลางวันกันเป็นเดือน แต่ทำไมน้ำหนักกลับเพิ่มขึ้น ? สุขภาพบางคนก็แย่ลง เพราะการกินอาหารที่ยังไม่ค่อยถูกหลักอนามัยและโภชนาการ

บทความนี้เรามาฟังคำแนะนำการรับประทานอาหารละศีลอดที่ถูกต้องกันครับ โดย ฟาฮัดเป็นนักกำหนดอาหาร อยากลดพุง ลดโรค เราไปเริ่มอ่านกันเลย

คำแนะนำ อาหารละศีลอด สำหรับมุสลิมไทย

  1. ออกกำลังกายเบาๆก่อนละศีลอด
  2. ละศีลอดด้วยอาหารย่อยง่าย
  3. อินผาลัมกับน้ำเปล่า
  4. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม
  5. ผลไม้แทนของหวาน
  6. ไม่ทานของหวานในปริมาณมาก
  7. ไม่ทานขนมที่มีปริมาณไขมันสูง
  8. ควรรับประทานหมวดข้าวแป้งที่ไม่ขัดสี
  9. ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ
  10. ปรุงอาหารด้วย “ต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง อบ ยำ”
  11. กินอย่างช้า ๆ
  12. ห้ามนอนทันที

พี่น้องกำลังมองหาอาหารสำหรับละศีลอดเย็นนี้กันอยู่ใช่ไหม ?? จากบทความคำแนะนำอาหารซาโฮรที่มีกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากพี่น้องมุสลิมไทย วันนี้นักกำหนดอาหารฟาฮัดเลยอยากมาแนะนำทริคดีๆ ที่จะช่วยให้พี่น้องละศีลอดได้อย่างสบายใจ ลดพุง ลดโรค โดยทั่วกัน “ชดเชยพลังงานและน้ำด้วยอิฟฏอรที่เพียงพอดี”

1. ออกกำลังกายเบาๆก่อนละศีลอด

เมื่อใกล้เวลาละศีลอด ควรออกกำลังกายด้วยการเดิน-เดินเร็ว อย่างน้อย 20-30 นาที เพื่อช่วยให้ร่างกายเร่งการเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ตามร่างกายและอวัยวะภายในได้อย่างหมดจด 

2. ละศีลอดด้วยอาหารย่อยง่าย

เมื่อเสียงอาซานมัฆริบดังขึ้น ให้รีบเร่งไปสู่การละศีลอด และควรเริ่มด้วยอาหารเหลวย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก เพราะจะทําให้กระเพาะอาหารทํางานหนักขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารมากเกินไป เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวกระเพาะอาหารจะมีน้ําย่อยออกมามาก การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็วจะทําให้กระเพาะอาหารปรับตัวไม่ทัน ระบบย่อยอาหารแปรปรวน เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจทําให้เกิดโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังต่อไปได้ โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ 

3. อินผาลัมกับน้ำเปล่า

การรับประทานอินทผลัม 3 ผล กับน้ําเปล่า ก่อนที่จะไปละหมาดมัฆริบ แล้วจึงค่อยกลับมารับประทานมื้อค่ำ เป็นทางเลือกที่ดีสําหรับการละศีลอดตามแบบฉบับของท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เนื่องจากอินทผลัมสามารถให้น้ําตาลจากธรรมชาติ และมีโพแทสเซียมสูงสําหรับการฟื้นฟูพลังงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสดชื่นได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังประกอบไปด้วยเกลือแร่ต่าง ๆ เช่น ทองแดง เหล็ก แมงกานีส และเป็นแหล่งของใยอาหารอีกด้วย

4. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม

หลีกเลี่ยงการละศีลอดด้วยน้ำอัดลม เพื่อลดอาการแสบเคืองของทางเดินอาหาร เนื่องจากน้ำอัดลมมีกรดคาร์บอนิกค่อนข้างมาก ซึ่งสารดังกล่าวจะกีดขวางการดูดซึมแคลเซียมของกระดูก การดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ เพราะร่างกายจะหลั่งอินซูลินออกมามากเกินจำเป็น โดยอาจดื่มเป็นน้ำผลไม้หวานน้อยในปริมาณที่พอดีเป็นการทดแทน

5. ผลไม้แทนของหวาน

สามารถชดเชยปริมาณน้ําในร่างกายด้วยการรับประทานผลไม้-ผักที่มีน้ํามาก เช่น การรับประทานแตงโม สับปะรด ส้ม แทนของหวานในการละศีลอด การรับประทานสลัดผักที่มีแตงกวา มะเขือเทศ เป็นต้น

6. ไม่ทานของหวานในปริมาณมาก

หลีกเลี่ยงการรับประทานของหวานที่มี “ น้ําตาล – น้ำเชื่อม – น้ำกะทิ ” ในปริมาณมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูงแต่ไม่อยู่ท้อง อาจทําให้ต้องรับประทานอาหารบ่อยขึ้น จนทําให้ได้รับพลังงานเกินความต้องการ และทำให้อ้วนได้ในที่สุด

7. ไม่ทานขนมที่มีปริมาณไขมันสูง

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร-ขนมที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะอาหารกลุ่มแป้งทอด เช่น โรตี มะตะบะ เนื่องจากมีส่วนประกอบทั้งแป้งและไขมัน อาจทำให้ได้รับพลังงานเกินความต้องการของร่างกาย

8. ควรรับประทานหมวดข้าวแป้งที่ไม่ขัดสี

ควรเลือกรับประทานอาหารหมวดข้าวแป้งที่ไม่ขัดสีสําหรับมื้อค่ำ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เพื่อให้ร่างกายได้รับทั้งพลังงานและใยอาหารอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดด้วย

9. ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ

ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ไข่ขาว อกไก่ไม่ติดหนัง เนื้อวัวไม่ติดมัน ปลาเนื้อขาว ปลาทะเล เพื่อให้ได้รับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอต่อวัน และชดเชยมวลกล้ามเนื้อที่อาจสูญเสียไประหว่างการถือศีลอด

10. ปรุงอาหารด้วย “ต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง อบ ยำ”

ควรปรุงประกอบอาหารด้วยวิธี “ต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง อบ ยำ” เพื่อลดการได้รับปริมาณไขมันเกินความจำเป็น

11. กินอย่างช้า ๆ

มีความสุขกับการรับประทานอาหาร และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มากเกินไป ด้วยการรับประทานอย่างช้าๆ

12. ห้ามนอนทันที

หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรรออย่างน้อย 30 นาที เพราะการนอนหลังรับประทานอาหารทันที อาจทําให้น้ําย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับ ทําให้ระบบย่อยอาหารแปรปรวน เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้

ฟาฮัดขอรับรองว่า ถ้าพี่น้องทำตามคำแนะนำข้างต้นนี้ได้ครบ พี่น้องจะมีสุขภาพกายที่ดี สามารถปฏิบัติอิบาดะห์ได้อย่างเต็มที่และมีสมาธิแน่นอนนน


ขอบคุณบทความ อ้างอิงจากเพจ ฟาฮัดเป็นนักกำหนดอาหาร


เป็นไงกันบ้างครับกับความรู้เรื่อง การรับประทานอาหารละศีลอดเพื่อสุขภาพ หากอ่านแล้วมีประโยชน์ อย่าลืมแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ด้วยน่ะครับ

วิธีละหมาดวิเตร ซูเราะห์ที่อ่าน และดุอาหลังละหมาด

วิธีละหมาดวิเตร พร้อมดุอา

บทความนี้เราจะมาพูดถึง วิธีละหมาดวิเตร พี่น้องสามารถกดที่หัวข้อด้านล่างนี้ เพื่อเลื่อนอ่านตามหัวข้อที่ต้องการได้เลยครับ

ละหมาดวิเตร คืออะไร ?

ละหมาดวิเตร เป็นหนึ่งในละหมาดสุนัตที่สำคัญ เป็นอิบาดะห์ที่ยิ่งใหญ่ จนกระทั่งมีนักวิชาการบางท่านจากมัสฮับฮานาฟีย์ เห็นว่าเป็นวาญิบ แต่ทว่าที่ถูกต้องและมีน้ำหนักที่สุดคือ เป็นซุนนะฮ์มุอักกะดะห์ ที่จำเป็นแก่มุสลิมจะต้องรักษา ไม่ละทิ้งมัน คำว่า(วิตร์)ในภาษาอาหรับ แปลว่า จำนวนคี่ คือ 1 3 5 7 ฯลฯ

เวลาละหมาดวิเตร คือตอนไหน ?

เวลาของการละหมาดวิเตร คือตั้งแต่หลังละหมาดอิชาอฺ จนถึงก่อนละหมาดศุบฮิ ดังคำกล่าวของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)

( إِنَّ اللَّهَ قَدْ أَمَدَّكُمْ بِصَلاةٍ وهي الْوِتْرُ جَعَلَهُ اللَّهُ لَكُمْ فِيمَا بَيْنَ صَلاةِ الْعِشَاءِ إِلَى أَنْ يَطْلُعَ الْفَجْرُ )

“ แท้จริงอัลลอฮฺ ทรงยืดเวลาละหมาดหนึ่งให้แก่พวกท่าน นั่นก็คือละหมาดวิเตร พระองค์ทรงกำหนดแก่พวกเจ้า ในช่วงระหว่างละหมาดอิชา ไปจนถึงแสงอรุณขึ้น ”

ส่วนเวลาที่ดีที่สุดนั้น คือช่วงท้ายของกลางคืน (ไม่ใช่หลังอิชาอฺทันที) ส่วนถ้าหากว่ากลัวจะไม่ทันตื่น ก็ให้ละหมาดหลังอิชาอฺหรือก่อนจะนอนหลับได้ ตามคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

         “ ใครก็ตามที่กลัวว่าจะไม่ตื่นมาละหมาดในยามดึก ดังนั้นให้เขาละหมาดวิเตรในช่วงแรก(หลังอิชาอฺหรือก่อนนอน) และผู้ใดที่หวังว่าเขาจะยืนขึ้นมาละหมาดในช่วงท้ายของคืนได้ ก็ให้เขาละหมาดเวิตร ในช่วงท้ายของคืน เพราะละหมาดในยามดึกนั้น ถูกทำให้เป็นพยาน และมันประเสริฐยิ่ง ”

ละหมาดวิตร์ มีกี่รอกะอัต ?

ไม่มีจำนวนรอกะอัตที่กำหนดตายตัวสำหรับละหมาดวิเตร แต่ที่สำคัญคือต้องเป็นจำนวนคี่ 1 3 5 7 ฯลฯ และน้อยที่สุด คืิอหนึ่งรอกะอัต ดังหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

( الْوِتْرُ رَكْعَةٌ مِنْ آخِرِ اللَّيْلِ ) رواه مسلم (752)

“ ละหมาดวิเตรนั้น หนึ่งรอกะอัต ในช่วงท้ายของคืน ” (บันทึกโดย ท่านอิหม่ามมุสลิม)

  • ส่วนที่ปฎิบัติกันแพร่หลายโดยเฉพาะในช่วงเดือนรอมฎอน คือละหมาดวิเตร 3 รอกะอัต โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้

วิธีที่ 1 : ละหมาด 3 รอกะอัต รวดเดียวด้วยกับหนึ่งตะชะฮุด ด้วยกับหลักฐานจากท่านหญิง อาอิชะห์ ร่อฏิยัลลอฮะอันฮา กล่าวว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ให้สลามใน 2 รอกะอัตของละหมาดวิตร์ -ในบางสำนวน – ท่านนบี ละหมาดวิตร์ 3 ร็อกอะห์รวด โดยไม่นั่งเว้นแต่ในร็อกอะห์สุดท้าย”

วิธีที่ 2 : ให้ทำการสลามในร็อกอะห์ที่ 2 จากนั้นก็ให้ลุกขึ้นละหมาดวิตร์อีกหนึ่งรอกะอัต ดังที่มีรายงานจากอิบนุอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา ” แท้จริงเขานั้นแยกสอง และวิตร์อีกหนึ่งด้วยกับสลาม และเขาก็บอกอีกว่า แท้จริงท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ทำแบบนี้ ” (ท่านอิบนุฮะญัรกล่าวว่าเป็นสายรายงานที่แข็งแรง)

ซูเราะห์ที่อ่านในละหมาดวิเตร

กรณีที่ละหมาด 3 รอกะอัต ตามสุนนะห์แล้ว หลังจากอ่านฟาตีฮะห์ รอกะอัตแรก ให้อ่านซูเราะห์ อัลอะอฺลา (ซับบิฮิส), ในรอกะอัตที่ 2 ให้อ่านซูเราะห์ อัลกาฟิรูน (กุลยาอัยยุฮัลกาฟิรูน), ในรอกะอัตที่ 3 ให้อ่านซูเราะห์ อัลอิคลาศ (กุลฮุวัลลอฮุอะฮัด),

ดังที่มีรายงานจากจากอุบัย บินกะอ์บิน กล่าวว่า : “ ท่านร่อซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) อ่านในละหมาดวิเตร ด้วยกับ ซับบิฮิสมะร็อบบิกัลอะอ์ลา และกุลยาอัยยุฮัลกาฟิรูน และกุลฮุวัลลอฮุอะฮัด “ บันทึกโดยอันนะสาอีย์

ดุอา หลังละหมาดวิเตร

มีสุนนะห์หลังจากให้สลามละหมาดวิตร์ ให้กล่าวดุอาอฺประโยคต่อไปนี้ 3 ครั้ง

سُبْحَانَ الْملكِ الْقُدُّوسِ

คำอ่าน : “สุบหานัล มะลิกิล กุดดูส”

ความหมาย : “ มหาบริสุทธิ์แด่พระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ”

สรุปวิธีการละหมาดวิเตร

  1. เวลาละหมาดวิเตรคือหลังอิชา จนถึงก่อนศุบฮิ

  2. จำนวนรอกะอัตต้องเป็นเลขคี่ (1,3,5,7,9,ฯลฯ)

  3. ละหมาดทีละ 2 รอกะอัต ตามด้วยปิดท้าย 1 รอกะอัต

  4. กรณีละหมาด 3 รอกะอัต สุนนะห์ให้อ่านซูเราะห์ซับบิฮิส , กุลยาอัยยุฮัลกาฟิรูน, กุลฮุวัลลอฮุอะฮัด ตามลำดับ

  5. คำกล่าวอื่น ๆ ในละหมาดวิเตร ให้กล่าวเหมือนกับละหมาดสุนัตทั่วไป

26 คำถามที่เจอบ่อย ๆ เกี่ยวกับการถือศีลอด

คำถาม ที่เจอบ่อย ขณะถือศีลอด

ถือศีลอดทำสิ่งนั้นได้ไหม ? จะเสียศีลอดไหม ?

รวบรวมการตอบคำถามยอดฮิต เกี่ยวกับปัญหาที่มักพบเจอในช่วงถือศีลอดเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นคำตอบ/ฟัตวาจากนักวิชาการร่วมสมัย

ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีๆ เราก็มักจะเจอคำถามเหล่านี้อยู่เสมอ สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด สิ่งที่ไม่ทำให้เสียศีลอด มีอะไรกันบ้างไปอ่านต่อกันเลยครับ

สารบัญคำถาม (คลิกที่หัวข้อได้เลย)

ถือศีลอด กลืนน้ำลายได้ไหม

1. กลืนน้ำลาย ขณะถือศีลอด

ไม่มีปัญหาใด ๆ สำหรับการกลืนน้ำลาย เนื่องด้วยความยากลำบาก และไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงมันได้

(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/313)

ฉีดยาขณะถือศีลอดได้ไหม

2. ฉีดยาขณะถือศีลอดได้ไหม

หนึ่งในสิ่งที่ไม่ทำให้เสียศีลอดคือการฉีดยาที่ไม่ใช่การฉีดเพื่อให้สารอาหาร แต่การประวิงไปยังเวลากลางคืนนั้น เป็นการสมควรและระมัดระวังมากกว่า (ดีกว่า)

(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/260)

ฟังเพลง เสียศีลอดไหม

3. การฟังเพลง , เสียงดนตรี ขณะถือศีลอด

มันเป็นสิ่งต้องห้าม แต่ไม่ทำให้เสียศีลอด แต่มันทำให้ผลบุญของการถือศีลอดบกพร่องลงไป

(islamqa)

อาบน้ำ เสียศีลอดไหม

4. อาบน้ำ เสียศีลอดไหม

อนุญาต และไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งท่านรอศูล(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เคยเอาน้ำรดศรีษะ เนื่องจากอากาศร้อนหรือกระหายน้ำในขณะที่ท่านกำลังถือศีลอด

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/286)

ถือศีลอด ถอนฟัน อุดฟัน ได้ไหม

5. ถอนฟัน , อุดฟัน , ขูดหินปูน ทำได้ไหม

การขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน ฉีดยาชา ไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการถือศีลอด แต่ต้องระวังอย่ากลืนสิ่งใดลงไป

(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/259)

ถือศีลอด เปลี่ยนถ่ายเลือด ได้ไหม

6. การเปลี่ยนถ่ายเลือดสำหรับคนป่วยโรคไต

เขาต้องชดใช้ เนื่องจากสิ่งที่เขาได้รับเป็นอาหาร นั่นคือเลือดบริสุทธิ์ และถ้าหากเขาได้รับอาหารด้วยกับสารอาหารอื่นด้วย มันก็จะเป็นิ่งที่ทำให้เสียศีลอดอีกประการหนึ่ง

(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/275)

ฉีดอินซูลิน เสียศีลอดไหม

7. ฉีดอินซูลิน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ไม่มีความผิดสำหรับท่านในการฉีดสิ่งดังกล่าว เพื่อการรักษาในช่วงกลางวันรอมฎอน และไม่มีการชดใช้สำหรับท่าน แต่ถ้าหากสามารถใช้มันในเวลากลางคืนโดยไม่มีความลำบากใด ๆ ต่อท่าน มันก็จะสมควรยิ่งกว่า

(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/260)

กรอกเลือด ช่วงถือศีลอด

8. กรอกเลือด ช่วงถือศีลอด

“ผู้ที่ทำการกรอกเลือด และผู้ถูกกรอกเลือด เสียศีลอด”

หะดีษบทนี้เป็นหะดีษศ่อเฮียะห์ ศึ่งอิหม่ามอะหมัดและท่านอื่น ๆ ได้ให้สถานะศ่อเฮียะห์ ความหมายของมันก็คือ เมื่อผู้ถือศีลอดได้กรอกเลือดให้ผู้อื่น ถือว่าเขาเสียศีลอด และเมื่อคนอื่นกรอกเลือดให้เขา เขาก็เสียศีลอด ดังกล่าวนั้น เนื่องจากในการกรอกเลือด มีผู้ลงมือกรอกและผู้ได้รับการกรอกให้

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/240)

ให้น้ำเกลือ เสียศีลอดไหม

9. ให้น้ำเกลือ ขณะถือศีลอด

การให้น้ำเกลือแก่ผู้ป่วยนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เสียศีลอด เพราะมันอยู่ในชนิดสารชนิดที่ให้อาหาร มันเข้าสู่ภายใน และร่างการก็ได้รับประโยชน์จากมัน

(islamqa)

หยอดจมูก ขณะถือศีลอด

10. หยอดจมูก ขณะถือศีลอด

ถ้าหากเขาหยอดจมูกของเขา แล้วมันเข้าไปสู่ท้องของเขา เขาก็เสียศีลอด ถ้าหากเจตนาทำ

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/205)

หยอดตา ถือศีลอด

11. ใช้ยาหยอดตา ขณะถือศีลอด

ไม่มีปัญหาสำหรับผู้ถือศีลอด ที่เขาจะหยอดตา และถ้าหากมีรสชาติของมันในลำคอ เขาก็ไม่เสียศีลอด เพราะมันไม่ใช่การกินการดื่ม และไม่ได้อยู่ในความหมายของการกินการดื่ม

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/205)

หยอดหู ถือศีลอด

12. ใช้ยาหยอดหู ขณะถือศีลอด

ไม่มีปัญหาสำหรับผู้ถือศีลอด ที่เขาจะหยอดหู ถึงแม้จะได้รสชาติในลำคอของเขาก็ตาม เขาก็ไม่เสียศีลอดด้วยสิ่งนั้น เพราะมันไม่ใช่การกินการดื่ม อีกทั้งไม่ได้อยู่ในความหมายของการกินและการดื่ม

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/205)

สำเร็จความใคร่เสียศีลอด

13. สำเร็จความใคร่ (หลั่งน้ำอสุจิ)

การสําเร็จความใคร่ด้วยตนเองในช่วงกลางวันรอมฎอน ทำให้เสียศีลอด ถ้าหากเขาเจตนากระทำแล้วหลั่งอสุจิ และเขาต้องชดใช้ ถ้าหากเป็นการถือศีลอดฟัรฎู อีกทั้งการสำเร็จความใคร่นั้น ไม่อนุญาตให้กระทำ ทั้งในขณะถือศีลอดและไม่ได้ถือศีลอด ซึ่งมันคือสิ่งที่ผู้คนเรียกกันว่า “พฤติกรรมลับ”

(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 15/267)

กลืนอาหารจากการเรอ

14. กลืนอาหารจากการเรอ

ถ้าหากเขาเรอแล้วมีลมออกมาจากกระเพาะ ซึ่งอาจจะมีอาหารหรือน้ำขึ้นมาด้วย ดังนั้นถ้าหากมันยังขึ้นมาไม่ถึงปาก แล้วเขากลืนมันลงไป ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/232)

ว่ายน้ำ ขณะถือศีลอด

15. ว่ายน้ำ ได้ไหม

ไม่มีปัญหาสำหรับผู้ที่ถือศีลอดที่จะว่ายน้ำ เขาสามารถว่ายน้ำได้ตามที่เขาต้องการ และสามารถดำลงไปในน้ำได้ แต่จะต้องระวังไม่ให้น้ำลงไปสู้ท้องของเขา

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/284)

แปรงฟัน ขณะถือศีลอด

16. แปรงฟัน ขณะถือศีลอด

ใช้แปรงสีฟันไม่ทำเสียศีลอด แต่ไม่ควรใช้ขณะถือศีลอดเพราะมันมีฤทธิ์แรง (ยาสีฟัน)

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/228)

ใช้น้ำยาบ้วนปาก เสียศีลอดไหม

17. ใช้น้ำยาบ้วนปาก เสียศีลอดไหม

ไม่ทำศีลอดเสียหาย ถ้าเขาไม่กลืนมันลงไป แต่อย่าใช้มันนอกจากมีความจำป็นเท่านั้น และมันไม่ทำให้ท่านเสียศีลอด ถ้าหากไม่มีสิ่งใดเข้าไปสู่ท้องของท่าน

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19)

กลืนเสมหะ ขณะถือศีลอด

18. กลืนเสมหะ ขณะถือศีลอด

ถ้าไม่หากมันยังขึ้นมาไม่ถึงปาก มันก็ไม่ทำให้เสียศีลอด แต่ถ้ามันมาถึงปากแล้วกลืนลงไปนั้น มีสองทรรศนะ :

(1). ทำให้เสียศีลอด โดยเอาไปผนวกกับการกินและดื่ม

(2). ไม่ทำให้เสียศีลอด โดยไปผนวกกับการกลืนน้ำลาย

แต่ที่สำคัญคือการที่มนุษย์ละทิ้งการกลืนเสมหะ และพยายามไม่ขากมันขึ้นมาจากส่วนลึกของลำคอขึ้นมายังปากของเขา แต่ถ้ามันออกมาถึงปากแล้ว ก็ให้เขาถ่มมันเสีย ไม่ว่าเขาจะถือศีลอดหรือไม่ก็ตาม ส่วนเรื่องการทำให้เสียศีลอดนั้น ต้องการหลักฐานมายืนยัน

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/355)

ใช้ไม้มิสว๊าก ได้ไหม

19. ใช้ไม้มิสว๊าก ได้ไหม

การแปรงฟัน(ด้วยไม้มิซว๊าก) เป็นสุนนะห์ สำหรับผู้ถือศีลอดเหมือนกัยคนอื่นๆ(ที่ไม่ถือศีลอด) ไม่ว่าจะช่วงเช้าหรีือช่วงเย็นก็ตาม

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/228)

บ้วนปาก เสียศีลอดไหม

20. บ้วนปาก เอาน้ำเข้าจมูก ได้ไหม

ผู้ถือศีลอดสามารถที่จะบ้วนปาก และสูดน้ำเข้าจมูกได้ แต่จะต้องไม่ลึกที่เกรงว่าน้ำจะลงไปสู่ลำคอของเขา

(อิบนุบาซ : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 10/280)

ฝันเปียก เสียศีลอดไหม

21. ฝันเปียก เสียศีลอดไหม

ถ้าหากผู้ถือศีลอดฝันเปียกช่วงกลางวันขณะถือศีลอด มันไม่ส่งผลใด ๆ ต่อเขา เพราะไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของเขา อีกทั้งคนนอนหลับนั้น ปากกาถูกยกไปจากเขา (ไม่ถูกเอาผิด)

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/284)

ใช้ยาหยอดถวาร เสียศีลอดไหม

22. ใช้ยาเหน็บทวาร ได้ไหม

ไม่มีปัญหาสำหรับผู้ถือศีลอดจะใช้ยาเหน็บที่จะถูกใส่เข้าไปทางทวารของเขา ถ้าหากเขาป่วย เพราะสิ่งนี้ไม่ใช่การกิน การดื่ม และไม่ได้อยู่ในความหมายของการกินและดื่ม

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/205)

ใช้น้ำหอม ขณะถือศีลอด

23. ใช้น้ำหอม ขณะถือศีลอด

อนุญาตสำหรับผู้ถือศีลอด ที่เขาจะใช้น้ำหอมตามที่เขาต้องการ และจะไม่เสียศีลอดด้วยสิ่งดังกล่าว

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/24)

เจาะเลือด ขณะถือศีลอด

24. เจาะเลือด ขณะถือศีลอด

การเจาะเลือดสำหรับผู้ถือศีลอด หมายถึงเอาตัวอย่างจากเลือดของเขามาเพื่อทำการตรวจนั้น เป็นสิ่งที่อนุญาตสามารถกระทำได้ ไม่มีปัญหาแต่งอย่างใด

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19)

บริจาคเลือด ได้ไหม

25. บริจาคเลือด ได้ไหม

การบริจาคเลือดนั้น คือการเอาเลือดออกจำนวนมาก จึงมีหุก่มเดียวกันกับการกรอกเลือด นั้นคือทำให้เสียศีลอด

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19)

ฉีดสารอาหาร สำหรับผู้ถือศีลอด

26. ฉีดสารอาหาร สำหรับผู้ถือศีลอด

ถ้าหากมีการฉีดสารอาหารให้คนๆหนึ่งที่มันทำให้เขาเพียงพอจากอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งด้วยสิ่งดังกล่าวมันเสมือนการกินและการดื่ม และการถือศีลอดก็ใช้ไม่ได้สำหรับเขา

(อิบนุอุษัยมีน : มัจมั๊วะฟ่าตาวา 19/213)


ขอบคุณบทความ จากเพจ อิสลามตามแบบฉบับ


สรุปให้อีกครั้ง

สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด (ห้ามทำ)

การเปลี่ยนถ่ายเลือด, การกรอกเลือด,ให้น้ำเกลือ, ยาหยอดจมูกเข้าถึงท้อง, สำเร็จความใคร่(หลังอสุจิโดยเจตนา), บริจาคเลือด, ฉีดสารอาหาร

สิ่งที่ไม่ทำให้เสียศีลอด (สามารถทำได้)

กลืนน้ำลาย, ฉีดยาเพื่อการรักษา, อาบน้ำ, ขูดหินปูน ถอนฟัน อุดฟัน, ฉีดอินซูลินเพื่อการรักษา, ใช้ยาหยอดตา, ใช้ยาหยอดหู, กลืนอาหารที่ขึ้นมากับการเรอ(ยังไม่ถึงปาก), ว่ายน้ำ, ใช้แปรงฟัน, ใช้น้ำยาบ้วนปาก, กลืนเสมหะ(หากยังขึ้นมาไม่ถึงปาก), ใช้ไม้มิซว๊าก, บ้วนปาก สูดน้ำเข้าจมูก, ฝันเปียก, ใช้ยาเหน็บทวาร, ใช้น้ำหอม, เจาะเลือดเพื่อตรวจ

สิ่งที่ไม่เสียศีลอด แต่ผลบุญบกพร่อง (ควรหลีกเลี่ยง)

ฟังเพลง, และการทำสิ่งที่ไม่ดีที่เป็นบาปต่าง ๆ


เป็นไงกันบ้างครับกับความรู้เรื่อง สิ่งทำให้เสียศีลอด และไม่เสียศีลอด หากรู้อ่านมีประโยชน์ อย่าลืมแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ด้วยน่ะครับ

หะดีษแก้ปัญหาโรคระบาด ถูกยกขึ้นป้ายโฆษณาในสหรัฐฯ

ป้ายในสหรัฐ ยกหะดีษป้องกันโรค

ป้าย Billboard โฆษณาขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ได้ยกหะดีษของท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อลลั๊ลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม) เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาโคโรนาไวรัส

มีรายงานว่าป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ได้ยกข้อความจากหะดีษของท่านนบีมูฮัมหมัดศ็อลลั๊ลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดจากเชื้อโคโรนาไวรัสที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้

การระบาดของ COVID-19 ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อทุกคนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง WHO แพทย์ และรัฐบาลได้ร้องขออย่างต่อเนื่องในการรักษาสุขอนามัย และเว้นระยะห่างทางสังคม

แม้ว่าเวลาจะผ่านมาแล้วกว่า 1,400 ปี แต่คำสอนของท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อลลั๊ลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม) เกี่ยวกับเรื่องของการป้องกันตัวจากโรคระบาด ได้ถูกนำมาแสดงให้ผู้คนทั่วไปได้เห็นในป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ในชิคาโก ของสหรัฐอเมริกา

โดยท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อลลั๊ลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม) ได้ระบุชัดเจนว่าให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ของโรคระบาด และห้ามออกจากพื้นที่ที่มีโรคระบาด นอกจากนี้ยังได้มีการยกหะดีษที่เน้นการล้างมืออย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้เป็นคำสอนจากท่านนบีอันเป็นที่รักของเรา ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของโลกตะวันตก

ข้อความที่ถูกเผยแพร่โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ แสดงให้เห็นว่าบิลบอร์ดของสหรัฐกำลังขึ้นข้อความจากคำสอนของท่านนบีมูฮัมหมัดศ็อลลั๊ลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เพื่อให้ความรู้แก่ผู้คนเกี่ยวกับการปกป้องตัวเองจาก COVID-19

ผู้ใช้โซเชียลมีเดียกำลังโต้ตอบและแบ่งปันโพสต์ที่เกี่ยวข้อง ความเมตตาต่อโลกในคำกล่าวของท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อลลั๊ลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม) เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับทั้งโลก เหนือสิ่งอื่นใด การยึดมั่นในคำแนะนำของท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อลลั๊ลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม)ต้น เป็นทางออกเดียวที่มีอยู่สำหรับโรคติดต่อนี้

นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ยังได้มีคำแนะนำว่าการทำน้ำละหมาดวันละอย่างน้อย 5 ครั้งของชาวมุสลิม เป็นหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันตัวเองจากโคโรนาไวรัส

ที่มาของข่าว theislamicinformation.com 

ขอบคุณแปลไทยโดย Naiem Wongkasorn

มุสลิมะห์ ละหมาดตะรอเวียะห์ ที่มัสยิดหรือที่บ้านดีกว่ากัน ?

ผู้หญิงละหมาดที่บ้านหรือมัสยิด

การละหมาดตะรอเวียะห์มีความจำเป็นสำหรับสตรีหรือไม่ ? และจะเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่หากว่าพวกเธอจะละหมาดที่บ้านของพวกเธอกันเอง หรือไปละหมาดที่มัสญิดเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่า ? เกี่ยวกับเรื่องนี้เรามาหาคำตอบกัน

-อัลหัมดุลิลลาฮฺ-

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ
การละหมาดตะรอวีหฺถือเป็นสุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺ (สุนัตที่ส่งเสริมให้กระทำอย่างยิ่ง) ซึ่งหากพวกเธอละหมาดกิยามุลลัยลฺที่บ้านของพวกเธอนั้นย่อมเป็นสิ่งที่มีความประเสริฐยิ่งกว่า เนื่องจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

หะดีษ

” لا تَمْنَعُوا نِسَاءَكُمْ الْمَسَاجِدَ وَبُيُوتُهُنَّ خَيْرٌ لَهُنَّ . “

 رواه أبو داود . وهو في صحيح الجامع 7458

ความว่า “พวกท่านอย่าได้ห้ามบรรดาสตรีของพวกท่าน (ในการไปยัง) มัสญิดต่างๆ ทั้งนี้ (การละหมาด) ในบ้านของพวกเธอนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าสำหรับพวกเธอ”

(บันทึกโดยท่านอบูดาวูด ในหนังสือสุนันของท่าน หมวดว่าด้วยการเดินทางไปยังมัสญิดของสตรี และหมวดว่าด้วยความเข้มงวดในเรื่องดังกล่าว ดูหนังสือ เศาะหีหฺ อัลญามิอฺ หมายเลข 7458)

ไม่เพียงเท่านั้น การที่พวกเธอได้ละหมาดในสถานที่ปกปิด และเป็นที่เฉพาะสำหรับพวกเธอนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่งกว่า ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

หะดีษ

” صَلاةُ الْمَرْأَةِ فِي بَيْتِهَا أَفْضَلُ مِنْ صَلاتِهَا فِي حُجْرَتِهَا وَصَلاتُهَا فِي مَخْدَعِهَا أَفْضَلُ مِنْ صَلاتِهَا فِي بَيْتِهَا ”

رواه أبو داود في سننه وهو في صحيح الجامع 3833

ความว่า “การละหมาดของสตรีในบ้านของเธอนั้นมีความประเสริฐยิ่งกว่าการละหมาดที่ลานบ้านของเธอ และการละหมาดในห้องนอนของเธอนั้นมีความประเสริฐกว่าการละหมาดในบ้านของเธอ”

(บันทึกโดยอบูดาวูดในหนังสือสุนันของท่าน ในหมวดว่าด้วยการละหมาด บรรพการเดินทางไปยังมัสญิดของสตรี ดูหนังสือเศาะฮีหฺอัลญามิอฺ หมายเลข 3833)

มีรายงานจากท่านอุมมุหุมัยดฺ ซึ่งเป็นภรรยาของท่าน อบูหุมัยดฺ อัส-สาอิดีย์ ซึ่งเธอได้มาพบกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วกล่าวแก่ท่านว่า

يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنِّي أُحِبُّ الصَّلاةَ مَعَكَ قَالَ قَدْ عَلِمْتُ أَنَّكِ تُحِبِّينَ الصَّلاةَ مَعِي وَصَلاتُكِ فِي بَيْتِكِ خَيْرٌ لَكِ مِنْ صَلاتِكِ فِي حُجْرَتِكِ وَصَلاتُكِ فِي حُجْرَتِكِ خَيْرٌ مِنْ صَلاتِكِ فِي دَارِكِ وَصَلاتُكِ فِي دَارِكِ خَيْرٌ لَكِ مِنْ صَلاتِكِ فِي مَسْجِدِ قَوْمِكِ وَصَلاتُكِ فِي مَسْجِدِ قَوْمِكِ خَيْرٌ لَكِ مِنْ صَلاتِكِ فِي مَسْجِدِي قَالَ فَأَمَرَتْ فَبُنِيَ لَهَا مَسْجِدٌ فِي أَقْصَى شَيْءٍ مِنْ بَيْتِهَا وَأَظْلَمِهِ فَكَانَتْ تُصَلِّي فِيهِ حَتَّى لَقِيَتْ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ .

 رواه الإمام أحمد ورجال إسناده ثقات

ความว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันชอบที่จะละหมาดร่วมกับท่าน ท่านนบีจึงตอบว่า ฉันรู้ว่าเธอชอบที่จะละหมาดร่วมกับฉัน แต่การละหมาดในห้องนอนของเธอนั้นดียิ่งกว่าการที่เธอละหมาดในห้องโถงของบ้านเธอ และการละหมาดในห้องโถงของบ้านเธอนั้นดียิ่งกว่าการที่เธอละหมาดในลานบ้านของเธอ และการละหมาดในลานบ้านของเธอนั้นดียิ่งกว่าการที่เธอละหมาดในมัสยิดชุมชนของเธอ และการละหมาดในมัสยิดชุมชนของเธอนั้น ดียิ่งกว่าการละหมาดในมัสญิดของฉัน(มัสญิดนะบะวียะฮฺ) เมื่อได้ยินเช่นนั้นท่านหญิงจึงสั่งให้จัดสถานที่ละหมาดของเธอซึ่งเป็นห้องด้านในสุดของบ้านและมืดที่สุด โดยเธอได้ละหมาดที่นั้นจนกระทั่งเธอได้กลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์อัลลอฮ อัซซะวะญัลลา”

(บันทึกโดยอิมามอะหฺมัด สายสืบของสายรายงานมีความน่าเชื่อถือ)

แต่ความประเสริฐเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเธอถูกห้ามในการขออนุญาตเพื่อไปยังมัสญิด ดังที่มีหะดีษซึ่งรายงานจากท่านสาลิม บิน อับดุลลอฮฺ บินอุมัร จากท่านอับดุลลอฮฺ บินอุมัร ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ : لا تَمْنَعُوا نِسَاءَكُمْ الْمَسَاجِدَ إِذَا اسْتَأْذَنَّكُمْ إِلَيْهَا قَالَ فَقَالَ بِلالُ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ وَاللَّهِ لَنَمْنَعُهُنَّ قَالَ فَأَقْبَلَ عَلَيْهِ عَبْدُ اللَّهِ فَسَبَّهُ سَبًّا سَيِّئًا مَا سَمِعْتُهُ سَبَّهُ مِثْلَهُ قَطُّ وَقَالَ أُخْبِرُكَ عَنْ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَتَقُولُ وَاللَّهِ لَنَمْنَعُهُنَّ

 رواه مسلم 667

ความว่า “พวกท่านอย่าได้ห้ามบรรดาสตรีของพวกท่าน (ในการไปยัง) มัสญิดต่าง ๆ เมื่อพวกเธอได้ขออนุญาตพวกท่านเพื่อไปยังที่นั้น ท่าน(สาลิม)ได้เล่าว่า ท่านบิลาล บินอับดุลลอฮฺ จึงกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เราจะห้ามพวกเธออย่างแน่นอนท่าน(สาลิม)ได้เล่าอีกว่า ท่านอับดุลลอฮฺ บินอุมัรจึงไปพบเขา(ท่านบิลาล)แล้วต่อว่าท่านอย่างรุนแรง ซึ่งฉันไม่เคยได้ยินคำต่อว่าที่คล้ายกับนี้เลย แล้วท่าน(อิบนุอุมัรฺ)ก็ได้กล่าวว่า ฉันได้บอกแก่ท่านว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าว แต่ท่านกลับกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เราจะห้ามพวกเธออย่างแน่นอน เช่นนั้นกระนั้นหรือ?”

(บันทึกโดยท่านอิหม่ามมุสลิม 667)

อย่างไรก็ตามสำหรับมุสลิมะห์ที่จะเดินทางไปมัสญิดนั้นมีเงื่อนไขดังนี้

1. เธอจะต้องสวมหิญาบอย่างสมบูรณ์แบบ (อย่างมิดชิด)
2. เธอจะต้องไม่ใส่น้ำหอม
3. เธอจะต้องได้รับการอนุญาตจากสามีเสียก่อน
4. เธอจะต้องไม่ออกไปโดยไม่มีมะหฺรอม เช่นเดินทางโดยลำพังโดยมีคนแปลกหน้าเป็นผู้ขับรถให้และอื่นๆ

หากว่าสตรีท่านใดที่มีพฤติกรรมสวนทางจากเงื่อนไขข้างต้นแล้ว ก็เป็นสิทธิของสามีของเธอหรือผู้ปกครองของเธอที่จะไม่อนุญาตให้เธอเดินทางไปยังมัสญิด และเป็นสิ่งที่จำเป็น(วาญิบ) สำหรับพวกเขาที่ต้องห้ามพวกเธอ

ข้าพเจ้าเคยถามชัยคฺของเรา ชัยคฺอับดุลอะซีซ บินบาซ ว่า การละหมาดตะรอเวียะห์สำหรับสตรีนั้นมีความประเสริฐที่จะละหมาดในมัสญิดหรือไม่ ซึ่งท่านได้คัดค้านความคิดข้างต้นเพราะหะดีษที่กล่าวถึงความประเสริฐของสตรีที่ละหมาดในบ้านของเธอนั้น หมายรวมถึงการละหมาดตะรอเวียะห์และละหมาดอื่นๆ ด้วย อัลลอฮฺเท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่ง

และเราขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺให้ทรงประทานความบริสุทธิ์ใจ(อิคลาศ) แก่เรา และแก่พี่น้องมุสลิมของเราทั้งมวล และทรงตอบรับการงานของเราและทรงให้การงานของเรานั้นเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงรักและพึงพอใจด้วยเถิด
ความศาสนติจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา

แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

อ้างอิง

  • ที่มาของฟัตวา >
  • ขอบคุณ อ้างอิงแปลไทย จากเพจ

สรุปแล้ว

มุสลิมะห์สามารถไปละหมาดมัสยิดได้ โดยจำเป็นต้องรักษาเงื่อนไขข้างต้นให้ครบ ส่วนการละหมาดที่บ้านของเธอนั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่า และประเสริฐกว่านั่นเอง

ละหมาดตะรอเวียะห์ โดยอ่านจากตัวเล่มอัลกุรอาน(ถือ/ดู) ได้หรือไม่

ถือกุรอานละหมาดตะรอเวียะห์

ละหมาดตะรอเวียะห์โดยอ่านกุรอาน จากเล่มมุซฮัฟ (เล่มกุรอ่าน) ได้ไหม ?

คำตอบ…

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ
ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใดสำหรับการอ่านกุรอานจากเล่มมุศฮัฟในละหมาดตะรอเวียะห์

فقد كان لعائشة رضي الله عنها غلام يؤمها من المصحف في رمضان . رواه البخاري معلقاً (1/245 .

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ (รอฎิยัลลอฮุอันฮา) มีทาสคนหนึ่งซึ่งเคยนำละหมาดให้กับนางในเดือนรอมฎอน โดยการอ่านจากเล่มมุศฮัฟ
รายงานโดยอัลบุคอรียฺในรูปแบบมุอัลลัก (1/245)

وقال ابن وهب: قال ابن شهاب : كان خيارنا يقرءون في المصاحف في رمضان . “المدونة” (1/224) 

อิบนฺวะฮฺบ ได้กล่าวว่า อิบนฺชีบ๊าบ กล่าวว่า ผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกเราได้อ่านจากเล่มมุศฮัฟในเดือนรอมฎอน
ดูในหนังสืออัลมุเดาวะนะฮฺ, (1/224)

อิหม่ามอันนะวะวียฺ ได้กล่าวว่า

“لو قرأ القرآن من المصحف لم تبطل صلاته سواء كان يحفظه أم لا ، بل يجب عليه ذلك إذا لم يحفظ الفاتحة, ولو قلَّب أوراقه أحيانا في صلاته لم تبطل …… هذا مذهبنا ومذهب مالك وأبي يوسف ومحمد وأحمد ” انتهى من “المجموع” (4/27) بتصرف.

” การอ่านจากเล่มมุศฮัฟไม่ได้ทำให้การละหมาดเป็นโมฆะ ไม่ว่าเขาจะท่องจำมันหรือไม่ก็ตาม แต่ทว่า หากเขาไม่สามารถท่องจำอัลฟาติฮะฮฺได้ ก็จำเป็นสำหรับเขาที่จะต้องอ่านจากเล่ม และการเปลี่ยนหน้ากุรอานในขณะละหมาดก็ไม่ได้ทำให้การละหมาดของเขาเป็นโมฆะแต่อย่างใด … ซึ่งเป็นทัศนะของเรา เช่นเดียวกันกับมาลิก อบูยูซุฟ มูฮัมหมัด และอะฮฺหมัด สิ้นสุดการอ้างจาก หนังสืออัลมัจมูอฺ, (4/27)

ซะฮฺนูน กล่าวว่า มาลิก กล่าวว่า

لا بأس بأن يؤم الإمام بالناس في المصحف في رمضان وفي النافلة . قال ابن القاسم : وكره ذلك في الفريضة . “المدونة” (1/224) .

” ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด สำหรับอิหม่ามที่จะนำละหมาดผู้คนด้วยกับการอ่านจากเล่มมุศฮัฟในเดือนรอมฎอน และในละหมาดนะวาฟิล (ละหมาดซุนนะฮฺ) อิบนฺ อัลกอซิม กล่าวว่า เป็นมักรูฮฺ ในกรณีของการอ่านในละหมาดฟัรฎู ” ในอัลมูเดาวะนะฮฺ, 1/224

ในกรณีของผู้ที่อ้างว่าการถือเล่มมุศฮัฟ และการเปลี่ยนหน้าของมันเป็นการขยับร่างกายมากเกินไป ซึ่งนับว่าเป็นข้ออ้างที่ใช้ไม่ได้ เนื่องจากมีหลักฐานว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นำละหมาดผู้คนในขณะเดียวกันก็อุ้มอุมามะฮฺ หลานสาวของท่าน รายงานโดยอัลบุคอรียฺ (494) และมุสลิม (543) การถือเล่มมุศฮัฟในขณะละหมาดนั้น เป็นประเด็นที่ไม่ได้แตกต่างกันกับการอุ้มเด็กเล็กในขณะละหมาด

เราได้อ้างถึงฟัตวาชัยคฺ อิบนฺบาซว่าสามารถกระทำได้ ในคำถามเลขที่ 1255
วัลลอฮุอะอฺลัม

  • ที่มาของฟัตวา >
  • ชมคลิปสาธิตวิธีการอ่านอัลกุรอ่านจากแท่นวาง การถือเล่มมุศฮัฟ และการถือมือถือขณะละหมาด โดย อุสตาส Firanda Andirja อุลามะแนวหน้าของประเทศอินโดนีเซีย >

ขอบคุณ อ้างอิงแปลไทย จากเพจ

วิธีละหมาดตะรอเวียะห์ คนเดียว ที่บ้าน และคำถามที่เกี่ยวข้อง

วิธีละหมาดตะรอเวียะห์คนเดียว

วิธีละหมาดตะรอเวียะห์ที่บ้าน ก็คือวิธีเดียวกันกับที่เราเคยละหมาดที่มัสยิด อาจมีจะต่างกันตรงที่ บางคนอาจจะอยู่บ้านคนเดียว ก็ต้องละหมาดคนเดียว หรือบางคนที่เคยละหมาดมัสยิดทุกปีได้ฟังอัลกุรอานยาว ๆ ปีนี้ละหมาดที่บ้านอาจจะไม่มีคนอ่านยาว ๆ เป็นอิหม่ามให้ แต่ถ้าใครจำกุรอานซูเราะห์ยาว ๆ หรือใครมีความสามารถที่จะอ่านยาวก็ทำได้เลย จะอ่านโดยการถือเล่มกุรอานตอนละหมาดตะรอเวียะห์ก็ทำได้ ดูคำอธิบายเรื่องนี้ที่นี่ > การถือกุรอานในละหมาดตะรอเวียะห์

เนื่องด้วยกับสถานการ์ COVID-19 ที่กำลังระบาดขณะนี้ ทำให้พี่น้องมุสลิมเรา จำเป็นต้องละหมาดตะรอเวียะห์ที่บ้าน ตามคำประกาศของจุฬาราชมนตรี หลาย ๆ คนยังไม่คุ้นเคยกับเดือนรอมฎอนที่ไปละหมาดมัสยิดไม่ได้ จึงมีคำถามมากมายที่เกียวกับละหมาดตะรอเวียะห์ มีอะไรบ้างไปอ่านกันครับ

จะทำการ ละหมาดตะรอเวียะห์คนเดียว ที่บ้าน ได้ไหม ?

แน่นอนว่าทำได้ครับ เพราะละหมาดตะรอเวียะห์นั้นเป็นละหมาดสุนัต ไม่ใช่วาญิบ(บังคับ) และท่านนบีของเรา (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลม) ก็เคยทำแบบอย่างให้แล้ว ตามที่เราเคยได้ยินมา คือ ท่านนบีละหมาดยามค่ำคืนในเดือนรอมฎอน(ละหมาดตะรอเวียะห์) ที่มัสยิดเพียงแค่ 2-3 คืนเท่านั้น หลังจากนั้น ท่านกลับไปละหมาดที่บ้าน เพราะเกรงว่าบรรดาศอฮาบะห์จะคิดว่ามันเป็นวาญิล

คำเนียต ละหมาดตะรอเวียะห์ เป็นแบบไหน ?

ให้ตั้งเจตนาตอนจะตักบีเราะตุ้ลเอียะห์รอม(ตักบัรเข้าละหมาด) ว่า “ฉันจะละหมาดตะรอเวียะห์ 2 รอกะกัต เพื่ออัลลอฮฺ” หรือถ้าเราเป็นอิหม่ามก็ให้เพิ่มว่า “ฉันจะละหมาดตะรอเวียะห์ 2 รอกะกัต เป็นอิหม่าม เพื่ออัลลอฮฺ” หรือถ้าใครเป็นมะอฺมูม(ผู้ตาม)ก็ให้ตั้งเจตนาว่า “ฉันจะละหมาดตะรอเวียะห์ 2 รอกะกัต เป็นมะอฺมูม เพื่ออัลลอฮฺ”

หรือใครจะเปลี่ยนจากคำว่า ละหมาดตะรอเวียะห์ เป็นละหมาดกียามรอมฎอน ก็ไม่ผิดอะไร

ทั้งนี้การเนียต ไม่จำเป็นต้องกล่าวออกมาเป็นคำพูด ให้ทำการตั้งเจตนาในใจก็พอแล้ว

ขั้นตอนละหมาด ทำอย่างไร ?

ทำการละหมาดตะรอแวฮ ทีละ 2 รอกะอัต เหมือนละหมาดสุนัตทั่วไป ส่วนที่จะแตกต่างจะละหมาดสุนัตทั่วไปก็คือว่า ส่งเสริมให้อ่านซูเราะห์ หรืออายัตกุรอาน ที่ยาวขึ้น ยืนให้นานขึ้น เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยละหมาดจนเท้าของท่านบวม(เพราะยืนนาน)

ละหมาดตะรอเวียะฮ์ มีกี่รอกะอัต ?

อุละมาอฺมีความเห็นที่ต่างกัน ในเรื่องจำนวนรอกะอัตท้ังหมดของละหมาดตะรอเวียะห์

บางทัศนะก็บอกว่ามี 8 รอกะอัต (อ้างอิงหะดีษการละหมาดยามค่ำคืนของท่านนบี)

บ้างก็บอกว่ามี 20 รอกะอัต (อ้างอิงหะดีษการปฏิบัติของท่านอุมัร)

บางมัซฮับก็บอกว่ามีมากถึง 36 รอกะอัต

ซึ่งทั้งหมดนั้นมีฮะดีษมารับรอง ก็ให้เราปฏิบัติตามที่เรายึดว่ามีน้ำหนักมากที่สุด อินชาอัลลอฮฺ

แล้วในละหมาดตะรอเวียะห์ อ่านอะไรบ้าง ?

ทุก ๆ รอกะอัต ให้อ่านซูเราะห์อัลฟาตีฮะห์ และตามด้วยอายะห์ จะอ่านเริ่มตั้งแต่ซูเราะห์แรก(อัลบะเกาะเราะห์) แล้วอ่านมาเรื่อย ๆ ก็ได้ หรือใครจะอ่านซูเราะห์สั้น ๆ ก็ไม่ผิดอะไร เพราะอย่างที่บอกไปว่า เป็นละหมาดสุนัต ใครทำมาก ใครอ่านยาว ๆ ยืนนาน ๆ ก็จะได้ผลบุญมากกว่า

ส่วนในอิริยาบทอื่น ๆ (เช่น รุกั้วอ์ อิอฺติดาล สุญูด ฯลฯ) ก็ให้อ่านเหมือนกับตอนละหมาดอื่น ๆ ปกติ ครับ

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเราจะละหมาดที่บ้านกับครอบครัว หรือละหมาดคนเดียวก็ตาม สำคัญสุดคือเจตนาให้ถูกต้อง ทำอาม้าลอิบาดัตให้เต็มที่ เพื่อกอบโกยผลบุญที่มากมายในเดือนรอมฎอนนี้ อินชาอัลลอฮฺ

อ้างอิง

whitechannel.tv

islamhouse.com

เมื่อคืนผมลืมเนียตถือศีลอด (แต่ตื่นกินข้าวศะหูร) ?

เมื่อลืม เนียตถือศีลอด

แบบไหนที่เรียกว่าเนียตบวช (ถือศีลอด) หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ จึงทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก แต่จริง ๆ แล้วการเนียตถือศีลอด นั้น ง่าย ๆ เพียงแค่ตั้งใจ ตั้งเจตนาโดยไม่จำเป็นต้องเปล่งเสียงออกมาเลย

มีเรื่องเล่าหนึ่งจากอ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย เกี่ยวกับเรื่องเนียตถือศีลอด ซึ่งท่านได้โพสต์ไว้ใน Facebook ส่วนตัวของท่านตามข้อความต่อไปนี้…….

อย่างไรที่เรียกว่า เนียตบวช โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

ต้นรอมะฎอนหนึ่งของหลายปีก่อน สมัยผมยังตั้งแพปลาอยู่ที่สงขลา …ขณะที่ผมละหมาดซุบฮี่เสร็จ และกำลังนั่งพักผ่อนอยู่ที่บ้านเพื่อเตรียมตัวออกไปแพปลาตามปกติ ก็มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น

ผมจึงลุกขึ้นไปรับแล้วกรอกเสียงลงไปว่า “อัสสลามุอลัยกุม

วะอลัยกุมุสสลาม” เสียงจากปลายสายตอบรับสล่ามมา

อาจารย์หรือครับ

ครับ ผมเอง มีอะไรหรือครับ” …

มีปัญหาอยากจะถามครับ” เสียงจากฝ่ายโน้นตอบมา หางเสียงมีแววกังวล

คือ .. เมื่อคืนผมลืมเนียตบวช จะทำยังไงดีครับ วันนี้ผมจะถือบวชได้ไหม ?” …

อ้าว ทำไมล่ะ นอนหลับลืมหรือ ?” …

เปล่าครับ ไม่ได้หลับลืม แต่ผมลืมเนียต” …

เดี๋ยวๆ” ผมชักจะงง จึงถามต่อ “ เรื่องมันเป็นยังไงล่ะ เมื่อคืนคุณลุกขึ้นกินข้าวซะหูรฺไหม ?” …

กินครับ” .. ฝ่ายโน้นตอบเสียงอ่อยๆ …

อ้าว ลุกขึ้นกินข้าวซะหูรฺแต่ลืมเนียต” ผมยิ่งงงเข้าไปใหญ่

ขอถามหน่อย ตอนลุกขึ้นกินข้าวซะหูรฺน่ะ คุณละเมอแล้วลุกขึ้นมากินหรือเปล่า ?” …

เปล่าครับ ผมไม่ได้ละเมอ ผมตั้งใจลุกขึ้นมากินจริงๆ” อีกฝ่ายรับรองแข็งขัน …

คุณนึกยังไงล่ะที่ลุกขึ้นมากินข้าวซะหูรฺน่ะ” …

ผมก็ตั้งใจว่า พรุ่งนี้จะถือบวชนั่นแหละ แต่ผมลืมเนียต” ฝ่ายโน้นยืนยันคำเดิม ..

ผมงงไปวิบหนึ่ง แล้วชักจะมองเห็นอะไรลางๆจึงถามเขาว่า “ยังไงที่ว่าลืมเนียตน่ะ ช่วยอธิบายหน่อยซิ” …

คือ .. ผมลุกขึ้นมากินข้าว แต่ผมไม่ได้นึกในใจว่า พรุ่งนี้ผมจะถือบวชฟัรฺฎูเดือนรอมะฎอนเพื่ออัลลอฮ์ ผมลืมสนิทเลย แย่จริงๆ

เสียงเขาบ่นพึมพำอะไรอีกสองสามคำเพราะหงุดหงิดตัวเองซึ่งผมฟังไม่ถนัด แต่ถึงบางอ้อทันที

จึงถามย้ำเขาว่า … “ตอนลุกขึ้นกินข้าวซะหูรฺน่ะ คุณตั้งใจว่าพรุ่งนี้จะถือบวชใช่ไหม ?” …

ใช่ครับ ที่ลุกขึ้นกินข้าวซะหูรฺเพราะตั้งใจว่าพรุ่งนี้จะถือบวชนั่นแหละ

เขายืนยันแล้วกล่าวตำหนิตัวเองว่า “บ้าจริง ดันลืมเนียตบวชได้” …

ผมขำจนแอบยิ้มคนเดียว แล้วถือโอกาสอธิบายเขาว่า

งั้นคุณถือบวชวันนี้ได้สบายเลยครับ การที่คุณ “ตั้งใจ” ตอนกินข้าวซะหูรฺว่าพรุ่งนี้จะถือบวช นั่นแหละคือ “เนียต” ละ

คุณเนียตบวชเรียบร้อยแล้ว แม้จะไม่ได้พูดในใจว่า พรุ่งนี้ฉันจะถือบวชฟัรฺฎู เดือนรอมะฎอนก็ตาม” …

เหรอ ?” .. เขาอุทานด้วยอาการกึ่งแปลกใจกึ่งลิงโลด

ตกลงวันนี้ผมถือบวชได้แน่นา อาจารย์ ?” …

ครับ ถือได้แน่” ผมรับรอง

เขาจึงอุทานว่า “อัลหัมดุลิลลาฮ์ ดีใจจัง ขอบคุณอาจารย์มากครับ ม่ายงั้นผมคงขาดบวชวันนี้ฟรีๆหนึ่งวันแน่ๆเลย” …

ขอยืนยันว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงล้านเปอร์เซ็นต์ครับ ไม่ใช่นิยายที่เขียนขึ้นมาเพื่อความบันเทิงหรอก …

ว่าแต่ .. – ไม่ว่าอดีตหรือปัจจุบัน – ท่านผู้อ่านเคยเข้าใจเรื่องเนียตบวช แบบที่เขาคนนี้เข้าใจมาหรือเปล่าครับ ? ….

ปราโมทย์ ศรีอุทัย 24/4/63

ดุอาอ ละศีลอด (ก่อนและหลังละศิลอด)

ดุอา ละศีลอด

ดุอา ละศีลอด หรือ แก้บวช ตามสุนนะห์จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีดังนี้

1. ก่อนละศีลอด ให้อ่านว่า بِسْمِ ٱللّٰهِ

อ่านว่า ” บิสมิลลาฮ ” แปลว่า ” ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ “

ตามด้วยกินอินทผลัม และน้ำเปล่า

2. และเมื่อละศีลอดแล้วให้อ่านบทนี้ต่อ

ذَهَبَ الظَّمَأُ، وَابْتَلَّتِ الْعُرُوقُ، وَثَبَتَ الأَجْرُ، إِنْ شَاءَ اللهُ

คำอ่าน ” ซะฮะบัซเซาะมะอุ วับตัลละติลอุรูก วะษะบะตัลอัจญ์รุ อินชาอัลลอฮฺ “

ความหมาย “ ความกระหายได้ดับลงแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชื้น และผลบุญก็ได้มั่นคงแล้ว อินชาอัลลอฮฺ (หากอัลลอฮฺทรงประสงค์) ”

[รายงานโดย อบู ดาวุด หมายเลข 2010 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อะบี ดาวุด หมายเลข 2066 เป็นหะดีษหะสัน]

คำอธิบาย :

หะดีษบทนี้ ถือว่าเป็นหะดีษที่เศาะเฮียะห์ ที่สุดจากท่านเราะศูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่เกี่ยวกับการขอดุอา ขณะละศีลอด หรือ ดุอาเปิดปอซอ และไม่มีดุอาใด ๆ ในการละศีลอดเว้นแต่มาจากหะดีษนี้ แต่ผู้ที่ถือศีลอดสามารถขอดุอาได้ด้วยการขอดุอาอื่นๆ ที่คิดว่าสามารถให้ประโยชน์แก่ตัวเขาทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ

อ้างอิง islammore

คุณอาจสนใจ:

7 สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด

7 สื่งที่ทำให้เสียศีลอด

สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด

บทความโดย เพจ อิสลามตามแบบฉบับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับพี่น้องทุกท่าน

📚 สรุปจาก : ( หนังสือ ) กิตาบ อัล-ฟิกฮฺ อัล-มุยัซซัร หน้าที่ 156 – 157

มีอะไรกันบ้าง เลื่อนอ่านต่อได้เลยครับ

สื่งที่ทำให้เสียศีลอด

1. กินหรือดื่ม โดยเจตนา

อัลลอฮฺﷻทรงตรัสว่า :

وَكُلُوا۟ وَٱشْرَبُوا۟ حَتَّىٰ يَتَبَيَّنَ لَكُمُ ٱلْخَيْطُ ٱلْأَبْيَضُ مِنَ ٱلْخَيْطِ ٱلْأَسْوَدِ مِنَ ٱلْفَجْرِ ۖ ثُمَّ أَتِمُّوا۟ ٱلصِّيَامَ إِلَى ٱلَّيْلِ

ความว่า : ” และจงกิน และดื่ม จนกระทั่งเส้นขาวจะประจักษ์แก่พวกเจ้าจากเส้นดำเนื่องจากแสงรุ่งอรุณ แล้วพวกเจ้าจงให้การถือศีลอดครบเต็มจนถึงพลบค่ำเถิด ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 187)

ถ้าหากลืมละ จะเป็นไรไหม ?

ถ้าหากเรากินหรือดื่มขณะถือศิลอดเนื่องจากลืม การถือศิลอดของเราใช้ได้ เพียงเเต่ทันทีที่เรานึกได้ ก็ต้องงดเว้นโดยทันที ท่านนบี ﷺ ได้กล่าวว่า :

“من نسي وهو صائم فأكل أو شرب فليتم صومه، فإنما أطعمه الله وسقاه ” متفق عليه

“ผู้ใดที่ลืมในขณะที่เขาถือศิลอดอยู่ เเล้วเขากิน หรือดื่ม เขาก็จงทำให้ศีลอดของเขาสมบูรณ์ (ถือศิลอดต่อไป) เพราะเเท้จริงอัลลอฮฺทรงประทานอาหารเเละประทานน้ำให้เเก่เขา” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮิ)

สิ่งที่อยู่ในความหมายของการกินการดื่มด้วย คือ การฉีดสารเข้าสู่ร่างกายอาหารผ่านทางเส้นเลือดหรือทางอื่นๆ เเละการให้น้ำเกลือทำให้เสียศีลอดเช่นกัน

สื่งที่ทำให้เสียการถือศีลอด

2. การมีเพศสัมพันธ์ และเจตนาหลั่งอสุจิ

ดังนั้นผู้ใดที่มีเพศสัมพันธ์ในขณะที่กำลังถือศิลอดอยู่นั้น การถือศิลอดของเขาเสียหาย จำเป็นที่เขาจะต้องกลับเนื้อกลับตัว ขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺ ﷻ เเละจะต้องถือศิลอดชดใช้วันที่เขาได้มีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งต้องจ่ายค่าปรับ (กัฟฟาเราะฮฺ)ด้วย โดยให้จ่ายสิ่งต่อไปนี้ตามลำดับความสามารถ

(1) ปล่อยทาส เเต่ถ้าหากไม่มีความสามารถ

(2) ก็ให้ถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน เเต่ถ้าหากยังไม่มีความสามารถ

(3) ก็ให้เลี้ยงอาหารคนยากจน 60 คน

พฤติกรรมที่อยู่ในความหมายของการมีเพศสัมพันธ์ คือ การหลั่งน้ำอสุจิโดยเจตนา ดังนั้นถ้าหากผู้ถือศิลอดหลั่งอสุจิออกมาโดยเจตนา ไม่ว่าจะโดยการจูบ(ภรรยา) การสัมผัส การสำเร็จความใคร่ หรืออื่นๆ การถือศิลอดของเขาถือว่าเสียหาย เเละจำเป็นที่เขาจะต้องถือศิลอดชดใช้ เเต่ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ เพราะค่าปรับถูกกำหนดเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น

ส่วนถ้าหากฝันเปียก? ขณะที่กำลังถือศิลอดอยู่ หรือหลั่งอสุจิโดยไม่เจตนา เช่นผู้ที่มีโรค ศิลอดของเขาใช้ได้ เพราะมันไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ

สื่งที่ทำให้เสียถือศีลอด

3. การอาเจียน โดยเจตนา

อาเจียรโดยเจตนา นั้นคือการเอาอาหารออกมาจากกระเพาะอาหารผ่านทางปากโดยเจตนา ส่วนถ้าหากเกิดการอาเจียรโดยไม่เจตนา มันไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการถือศีลอดของเขา ท่านนบี ﷺ ได้กล่าวว่า :

مَنْ ذَرَعَهُ الْقَيْءُ – أي : غلبه- فَلَيْسَ عَلَيْهِ قَضَاءٌ ، وَمَنْ اسْتَقَاءَ عَمْدًا فَلْيَقْضِ ) صححه الألباني في صحيح الترمذي .

“ผู้ใดที่อาเจียรออกมาโดยไม่เจตนา เขาไม่จำเป็นต้องชดใช้เเต่อย่างใด ส่วนผู้ใดที่ตั้งใจทำให้อาเจียร เขาก็ต้องชดใช้” (อิหม่ามอัลบานีย์ให้สถานะศ่อฮีฮฺในศอฮีฮฺอัตติรมีซีย์)

สื่งที่ทำให้ถือศีลอดเสีย

4. การกรอกเลือด

การกรอกเลือด นั่นคือการเอาเลือดออกทางผิวหนัง ไม่ใช่ทางเส้นเลือด ดังหะดีษที่ว่า :

“أفطر الحاجم والمحجوم”

“ผู้ลงมือกรอกเลือด เเละผู้ถูกกรอกเลือดเสียศิลอด” (บันทึกโดยอบูดาวูด อิหม่ามอัลยานีย์ให้สถานะศ่อฮีฮฺ)

ฉะนั้นทั้งผู้ที่กรอกเลือด เเละผู้ที่ให้บริการการกรอกเลือดเสียศิลอดทั้งคู่

สิ่งที่อยู่ในความหมายของการกรอกเลือด คือ การเอาเลือดออกโดยการเจาะเส้นเลือดเพื่อการบริจาค(ทำให้เสียศีลอดเช่นกัน)

เเต่การเจาะเลือดเพียงเล็กน้อยเพื่อการตรวจนั้นไม่ทำให้เสียศีลอด

เช่นเดียวกัน การที่เลือดออกเนื่องจากมีบาดเเผล จากการถอนฟัน หรือเลือดกำเดาไหลนั้นไม่ส่งผลใด ๆ เพราะมันไม่ใช่การกรอกเลือด เเละไม่ได้อยู่ในความหมายของการกรอกเลือด

สื่งที่ทำให้เสียบวช

5. มีเลือดประจำเดือน หรือมีเลือดหลังคลอดบุตร

คือการมีเลือดประจำเดือน หรือเลือดหลังคลอดบุตรออกมา ดังนั้นเมื่อใดที่สตรีเห็นเลือดประจำเดือนหรือเลือดหลังคลอดบุตร ถือว่านางเสียศีลอด และห้ามถือศีลอดจนกว่าเลือดจะหมดไป เเละจำเป็นที่นางจะต้องชดใช้เท่ากับจำนวนวันที่ไม่ได้ถือศีลอด

สื่งที่ทำให้เสียถือศีลอด

6. ตั้งเจตนาว่าจะละศีลอดก่อนถึงเวลา

คือผู้ที่ตั้งเจตนาละศีลอด(กิน)ก่อนจะถึงเวลา เท่ากับว่าเขาได้ละศิลอดเเล้ว ถึงเเม้ว่าเขาจะไม่ได้บริโภคสิ่งใดลงไปเลยก็ตาม เนื่องจากการเจตนานั้น เป็นหนึ่งในรุก่นของการถือศีลอด ฉะนั้นเมื่อเขาทำลายเจตนา โดยตั้งใจละศีลอดก่อนถึงเวลา การถือศีลอดของเขาถือว่าเสียหาย

สื่งที่ทำให้เสียศีลอด

7. การตกศาสนา

การตกศาสนา เนื่องจากว่ามันขัดกับการทำอิบาดะฮฺ

อัลลอฮฺ ﷻ ทรงตรัสว่า :

لَئِنْ أَشْرَكْتَ لَيَحْبَطَنَّ عَمَلُكَ

ความว่า : หากเจ้าตั้งภาคี(ต่ออัลลอฮฺ)แน่นอนการงานของเจ้าก็จะไร้ผล (อัซซุมัร : 65)

เป็นไงกันบ้างครับกับความรู้เรื่อง สิ่งทำให้เสียศีลอด

ขอบคุณบทความ จากเพจ อิสลามตามแบบฉบับ

มีคนเห็นดวงจันทร์ วันที่ 1 รอมฎอน 1441 ฮ. ตรงกับ 24 เม.ย. 63

วันที่ 1 รอมฎอน 1441

ตามที่ได้มีการดูดวงจันทร์ เพื่อกำหนดวันที่ 1 รอมฏอน 1441 ฮ. ณ หอดูดวงจันทร์ เขาปาเระ อ.ยะหา จ.ยะลา

ผลปรากฎว่านายหะยีหามะ คละ พร้อมหะยีอาหามะ ลาบูอาปี และชาวบ้านผู้ติดตามดูดวงจันทร์ กว่า 30 ปี “ เห็นดวงจันทร์ขึ้นหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ” จึงถือว่าวันที่ 1 รอมฏอน 1441 ฮ. ตรงกับ วันศุกร์ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563

ตามประกาศรายงานผลการดูดวงจันทร์ จากสำนักจุฬาราชมนตรี ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 กทม.

ภารกิจของเราพี่น้องมุสลิมเริ่มตั้งแต่ตอนนี้

  • คืนนี้เริ่มละหมาดตะรอเวียะห์ (ละหมาดพร้อมคนในบ้านหรือคนเดียวก็ได้)
  • อย่าลืมตั้งเจตนา(เหนียต)ว่าพรุ่งนี้จะถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน
  • ชัยฏอนไม่อยู่แล้วน่ะ (ตั้งแต่คืนนี้ที่เข้าเราะมะฎอน)
  • อ่านดุอาอฺเมื่อทราบข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยว
ประกาศจุฬาราชมนตรี
หนังสือประกาศจุฬาราชมนตรี

ดุอาอฺ เมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว เดือนรอมฎอน

ดุอา เมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว

บทดุอาเมื่อเห็นจันทร์เสี้ยวเดือนรอมฎอน หรือเดือนอื่นๆ ท่านนบีจะกล่าวว่า

اللهُ أَكْبَرُ . اللَّهُمَّ أَهِلَّهُ عَلَيْنَا بِالأَمْنِ وَالإِيْمَانِ وَالسَّلامَةِ وَالإِسْلامِ وَالتَّوْفِيْقِ لِمَا تُحِبُّ وَتَرْضَى رَبِّيْ وَرَبُّكَ اللهُ .

ความว่า : อัลลอฮฺทรงเกรียงไกร โอ้อัลลอฮฺ ขอให้(จันทร์เสี้ยวนี้)ปรากฏต่อเราด้วยความสวัสดิภาพ ความศรัทธา ความปลอดภัย อิสลาม และทางนำในสิ่งที่พระองค์ทรงโปรดและพอพระทัย พระผู้อภิบาลของฉันและท่านคืออัลลอฮฺ

(บันทึกโดยติรมิซียฺและดาริมียฺ อิบนิฮิบบานกล่าวว่าศ่อเฮียะฮฺ)

ดุอาอฺบทนี้มีหลายสำนวน อาจะเพิ่มหรือลดจากนี้ แต่ดุอาอฺนี้ท่านนบีจะกล่าวไม่ว่าท่านจะเห็นเองหรือมีผู้อื่นเห็นหิล้าล(จันทร์เสี้ยว) แล้วมาแจ้งท่านนบีก็ตาม ดังนั้น ใครที่เห็นหิล้าลเองก็ควรกล่าว และใครที่ไม่ได้เห็นหิล้าลเอง แต่ได้รับข่าวการเห็นหิล้าลก็ควรกล่าวเช่นกัน

แล้วจะกล่าวดุอาอฺนี้เมื่อไหร่ ? คำตอบคือ ช่วงแรก ๆ ที่เราได้รับข่าวการเห็นหิล้าล เราทราบข่าวเมื่อไหร่ก็ให้กล่าวดุอาอฺเมื่อนั้นได้เลย

ดุอา เมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว

ชมถ่ายทอดสด ประกาศผลการดูดวงจันทร์

ถ่ายทอดสด ผลการดูดวงจันทรื

สำนักจุฬาราชมนตรี ขอเชิญพี่น้องทุกท่าน รับชมการถ่ายทอดสด

การประกาศผลการดูดวงจันทร์ เพื่อกำหนดวันที่ 1 เดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1441

ในวันพฤหัสบดี ที่ 23 เมษายน 2563

เวลา 19.40 – 20.00 น.

ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT(ช่อง 11)

กรมประชาสัมพันธ์ และทาง Facebook Live @NBT2HD

เราจะเตรียมตัวต้อนรับเดือนรอมฎอนอย่างไร ?

ต้อนรับ รอมฎอน

คำตอบคือ : ผู้คนจำนวนมากเข้าใจเป้าหมายของการถือศีลอดที่เเท้จริงผิดไป พวกเขาทำให้การถือศีลอดในรอมฎอนนั้นเป็นเหมือนเทศกาลอาหาร เครื่องดื่ม เเละของหวานนานาชนิด เป็นเหมือนงานเลี้ยงสังสรรค์กันตอนกลางคืน เเล้วพวกเขาก็ใช้เวลาอย่างยาวนานเพื่อเตรียมตัวทำสิ่งดังกล่าวตั้งเเต่ก่อนเข้ารอมฎอน เพราะกลัวว่าจะเตรียมอาหารบางอย่างไม่ทัน เพราะกลัวว่าราคาอาหารจะสูงขึ้น พวกเขาเหล่านั้นจึงซื้ออาหาร ซื้อเครื่องดื่มเตรียมไว้ พวกเขาทำให้เดือนรอมฎอนเป็นเดือนสำหรับความอิ่มท้อง ไม่ใช่สำหรับการทำอิบาดะฮฺเเละการยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮฺ

เเต่ก็มีบางคนให้ความสนใจกับการถือศีลอดที่เเท้จริงในเดือนรอมฎอน พวกเขาจึงเริ่มเตรียมตัวเพื่อต้อนรับรอมฎอนตั้งเเต่เดือนชะอฺบาน เเละบางคนก็เตรียมตัวตั้งเเต่ก่อนเดือนชะอฺบานอีก และส่วนหนึ่งจากการเตรียมตัวที่น่ายกย่องเพื่อต้อนรับรอมฎอน มีดังนี้ :

กลับเนื้อกลับตัว รอมฎอน
📍 1.การกลับเนื้อกลับตัวอย่างเเท้จริง

อันที่จริงมันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกๆช่วงเวลาอยู่เเล้ว เเละยิ่งใน เดือนรอมฎอน อันทรงเกียรตินั้น มันจึงสมควรยิ่งกว่าที่จะรีบกลับเนื้อกลับตัวจากความผิดระหว่างเขากับอัลลอฮฺﷻ เเละกลับเนื้อกลัวตัวจากความผิดระหว่างเขากับบุคคลที่เขาได้ไปละเมิดสิทธิของเขา เพื่อที่เมื่อเดือนรอมฎอนอันทรงเกียรติได้มาถึงเขาเเล้ว เขาจะได้มีเวลาให้กับการฏออัต การทำอิบาดะฮฺต่างๆ ด้วยหัวใจที่สงบเเละบริสุทธิ์ อัลลอฮฺﷻทรงตรัสว่า :

” เเละพวกเจ้าทั้งหลายจงขอลุเเก่โทษต่ออัลลอฮฺ โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ” (อันนูร:31)
ขอดุอาอฺ ต่ออัลลอฮ
📍 2.ขอดุอาอฺ

ได้มีรายงานมาว่าสลัฟบางท่านจะขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺเป็นเวลา 6 เดือน ให้พระองค์ทรงทำให้พวกเขาได้มีชีวิตอยู่ถึงรอมฎอน หลังจากนั้นพวกเขาก็จะขอดุอาอฺต่อพระองค์เป็นเวลา 5 เดือน หลังจากรอมฎอน ให้พระองค์ทรงตอบรับการงานของพวกเขาที่ได้ปฏิบัติไว้ในเดือนรอมฎอน

ดังนั้นมุสลิมเขาจะวิงวอนขอต่อพระเจ้าของเขา ให้เขามีชีวิตอยู่ถึงรอมฎอน เเละวิงวอนขอต่อพระองค์ให้พระองค์ทรงช่วยเหลือเขาให้มีความเชื่อฟังต่อพระองค์ในเดือนนั้น เเละขอต่อพระองค์ให้พระองค์ทรงตอบรับการงานของพวกเขา
ยินดี รอมฎอน
📍 3.มีความปิติยินดีเมื่อใกล้ถึงเดือนเราะมะฎอนอันทรงเกียรติ

การมีชีวิตอยู่ถึงรอมฎอนนั้น เป็นหนึ่งในความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ ที่อัลลอฮฺﷻทรงประทานให้กับบ่าวของพระองค์ที่เป็นมุสลิม เพราะว่ารอมฎอนนั้นเป็นเทศกาลแห่งความดี ที่ประตูสวรรค์ถูกเปิด ประตูนรกถูกปิด เเละมันเป็นเดือนแห่งอัล-กุรอาน
ถือศีลอดชดใช้
📍 4.การถือศีลอดชดใช้ที่ขาดไป

มีรายงานจากท่านอบูซะละมะฮฺ ว่า : ฉันได้ยินอาอิชะหฺ رضي الله عنها กล่าวว่า :

” ฉันเคยขาดการถือศิลอดในเดือนรอมฎอน ฉันไม่สามารถที่จะถือใช้ได้ เว้นเเต่ในเดือนชะอฺบาน

(บันทึกโดยอิหม่ามอัล-บุคอรีเเละอิหม่ามมุสลิม)

ท่านอิหม่ามอัล-ฮาฟิซ อิบนุ หะญัร رحمه الله ได้กล่าวว่า :

“การให้ความสำคัญของท่านหญิงอาอิชะฮฺในการถือศิลอดชดใช้ในเดือนชะอฺบานนั้น ได้ชี้ให้เห็นว่า ไม่อนุญาตให้ล่าช้าในการถือศีลอดชดใช้จนกระทั่งถึงเดือนรอมฎอนของปีถัดไป”
ศึกษารอมฎอน
📍 5.ศึกษาหาความรู้เพื่อที่จะได้รู้กฏข้อบังคับต่างๆของการถือศิลอด และความประเสริฐของเดือนรอมฎอน
สะสางงานดุนยา
📍 6.รีบสะสางงานดุนยาที่อาจทำให้มุสลิมไปยุ่งอยู่กับมัน จนไม่มีเวลาให้กับการทำอิบาดะฮฺในเดือนรอมฎอนให้เสร็จลุล่วง
สอนภรรยา และลูก ถือศีลอด
📍 7. สอนภรรยา ลูกๆ เเละคนในครอบครัว เกี่ยวกับกฏข้อบังคับต่างๆของการถือศีลอด กระตุ้นเเละส่งเสริมเด็กๆให้ถือศีลอด
เตรียมหนังสืออ่านในรอมฎอน
📍 8.จัดเตรียมหนังสือที่สามารถอ่านเองได้ที่บ้าน หรือมอบให้กับอิหม่ามประจำมัสยิดเพื่อให้เขาอ่านหนังสือนั้นๆให้ผู้คนฟังในเดือนรอมฎอน
ถือศีลอดเดือนชะอฺบาน
📍 9.การถือศีลอดในเดือนชะอฺบาน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ท่านอุซามะฮฺ อิบนุ ซัยดฺ กล่าวว่า : ฉันได้กล่าวว่า : “โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ฉันไม่เคยเห็นท่านถือศีลอดในเดือนใดเหมือนกับที่ท่านถือศีลอดในเดือนชะอฺบานเลย”

ท่านรอซูลﷺจึงกล่าวว่า :

“เดือนนี้เป็นเดือนที่ผู้คนทั้งหลายหลงลืม ไม่ใส่ใจมัน ซึ่งมันอยู่ระหว่างเดือนรอญับเเละรอมฎอน เเละชะอฺบานนั้นมันคือเดือนที่การงานทั้งหลายถูกยก(ถูกรายงาน)ขึ้นสู่พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก เเละฉันก็ชอบให้การงานของฉันถูกยกขึ้นไปขณะที่ฉันถือศีลอด”

(บันทึกโดยอิหม่ามอัล-นะซาอี)
อ่านอัลกุรอาน
📍 10. อ่านอัล-กุรอาน

ท่านซะละมะฮฺ อิบนุ กุฮัยลฺ กล่าวว่า : ได้มีคนกล่าวไว้ว่า เดือนชะอฺบานนั้น เป็นเดือนของนักอ่าน และท่านอัมรฺ อิบนุ ก็อยซฺ นั้น เมื่อถึงเดือนชะอฺบาน ท่านก็จะปิดร้านค้าของท่าน เเละใช้มันเป็นที่อ่านอัล-กุรอาน

📚 ที่มา : https://islamqa.info/ar/92748

▶แปล/ #อิสลามตามแบบฉบับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ ตอนนี้เราได้ทำไปกี่ข้อแล้ว อย่าลืมตักเตือนกันและกัน สั่งใช้กันในสิ่งที่เป็นความดีน่ะครับ

ขอบคุณบทความดี ๆ จากเพจ อิสลามตามแบบฉบับ

ดูดวงจันทร์เพื่อเข้าเดือนเราะมะฎอน

เข้าเดือน เราะมะฎอน

เตรียมเข้าสู่ เดือนเราะมะฎอน

จุฬาราชมนตรีประกาศ : จะมีการดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันที่ 1 เดือนเราะมะฎอน ฮ.ศ. 1441 ในวันพฤหัสบดี ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563

📍 ซึ่งถ้าในวันดังกล่าวมีการเห็นดวงจันทร์
วันที่ 1 เราะมะฎอน 1441 จะตรงกับวันศุกร์ ที่ 24 เมษายน 2563

📍 เเต่ถ้าหากว่าไม่มีการเห็นดวงจันทร์
วันที่ 1 เราะมะฎอน 1441 ก็จะตรงกับวันเสาร์ ที่ 25 เมษายน 2563

ขอให้เราได้มีชีวิตอยู่จนถึงเราะมะฎอนด้วยเถิด

เราะมะฎอน

ดุอาอฺ ที่ควรรู้ในเดือนเราะมะฎอน

ดุอาอฺ เราะมะฎอน

5 บท ดุอาอฺ ที่จะได้อ่านเป็นประจำในเดือน เราะมะฎอน

ความสำคัญของดุอา คือ อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอาน ว่า

(وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ ۖ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ ۖ فَلْيَسْتَجِيبُوا لِي وَلْيُؤْمِنُوا بِي لَعَلَّهُمْ يَرْشُدُونَ)

[سورة البقرة 186]

“และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วก็ (จงตอบเถิดว่า) แท้จริงนั้นอยู่ใกล้ ข้าจะตอบรับคำวิงวอนของผู้ที่วิงวอน เมื่อเขาวิงวอนต่อข้าดังนั้น พวกเขาจงตอบรับข้าเถิด และศรัทธาต่อข้า เพื่อว่าพวกเขาจะได้อยู่ในทางที่ถูกต้อง” (อัลบะเกาะเราะฮฺ : ๑๘๖)

ดุอาอฺ ตอนละศีลอด

ดุอาอฺตอนละศีลอด

ذَهَبَ الظَمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِن شَاءَ اللهُ

คำอ่าน “ซะฮะบัซ เซาะมะอุ วับตัลละติลอุรูก วะษะบาตัลอัจญ์รุ อินชาอัลลอฮฺ”

ความหมาย ” ความกระหายได้หมดไปแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชื้น ผลบุญก็ได้รับแล้ว ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ “

ดุอาคืนลัยละตุลก็อดรฺ

ดุอาส่งเสริมให้อ่านให้มาก ๆ ในคืน ลัยละตุลก็อดรฺ (10คืนสุดท้ายของเรามะฎอน)

اللَّهُمَّ إِنَّكَ عَفُوٌّ تُحِبُّ الْعَفْوَ فَاعْفُ عَنِّيْ

คำอ่าน “อัลลอฮุมมะ อินนะกะ อะฟุวฺว่น ตุฮิบบุลอัฟวะ ฟะอฺฟุอันนี”

ความหมาย “โอ้ผู้อภิบาลของเรา แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้อภัยยิ่งและพระองค์ทรงรักการให้อภัย ดังนั้นขอได้โปรดประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”

ดุอายับยั้งความโกรธ

ดุอาเมื่อมีคนมาด่าทอ (ยับยั้งความโกรธ)

إِنِّي صَائِمٌ، إِنِّي صَائِمٌ

คำอ่าน “ อินนี ศออิมุ่น , อินนี ศออิมุ่น ”

ความหมาย “แท้จริง ฉันกำลังถือศีลอด, แท้จริง ฉันกำลังถือศีลอด ”

ดุอาอฺ ให้ผู้เลี้ยงละศีลอด

ดุอาอฺแก่ผู้เชิญละศีลอด (เลี้ยงอาหาร)

أَفْطَرَ عِنْدَكُمُ الصَّائِمُوْنَ وَأَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَاْرَ وَصَلَّتْ عَلَيْكُمُ الْمَلاَئِكَةُ

คำอ่าน “อัฟเฏาะเราะ อินดากุมุสศออีมูน วะอะกะละ เฏาะอามะกุมุล อับร้อร วะศ็อลลัต อะลัยกุมมุล มะลาอิกะฮฺ”

ความหมาย “เหล่าผู้ถือบวชได้ละศีลอดกับท่าน เหล่าผู้ประเสริฐได้ทานอาหารของท่าน และบรรดามลาอิกะฮฺได้ขอพรให้ท่านแล้ว”

ดุอาขออภัยโทษ ที่ดีที่สุด

ดุอาอฺ ขออภัยโทษที่ดีที่สุด (ซัยยิดุลอิสติฆฟารฺ)

اَللَّهُمَّ أَنْتَ رَبِّي، لاَ إِلَهَ إِلاَّ أَنْتَ، خَلَقْتَنِي وَأَنَا عَبْدُكَ، وَأَنَا عَلَى عَهْدِكَ وَوَعْدِكَ مَا اسْتَطَعْتُ ، أَعُوْذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا صَنَعْتُ، أَبُوْءُ لَكَ بِنِعْمَتِكَ عَلَيَّ، وَأَبُوْءُ بِذَنْبِي فَاغْفِرْ لِي، فَإِنَّهُ لاَ يَغْفِرُ الذُّنُوْبَ إِلاَّ أَنْتَ

คำอ่าน “ อัลลอฮุม อันตะร็อบบี, ลาอิลาฮะอิลละอันตะ เคาะลักตะนี วะอะนาอับดุกะ, วะอะนาอะลาอะฮฺดิกะ วะวะอฺดิกะ มัสตะเฏาะอฺตุ อะอูซุบิกะ มินชัรริมาเศาะนะอฺตุ, อะบูอุละกะบินิอฺมะติกะอะลัยยะ วะอะบูอุ บิซัมบี ฟัฆฺฟิรฺลี ฟะอินนะฮู ลายัฆฺฟิรุซุนูบะ อิลลาอันตะ ”

ความหมาย “ โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คือพระเจ้าของข้า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่แท้จริงนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ได้สร้างข้าขึ้นมา และข้าก็เป็นบ่าวของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว และข้ายอมรับกับสัญญาของพระองค์ทั้งที่ดี(สวรรค์)และที่ชั่ว(นรก) ในสิ่งที่ข้าได้พยายามแล้ว ข้าขอให้พระองค์ได้โปรดขจัดสิ่งที่ไม่ดีจากการกระทำของข้า ข้าจะกลับไปหาพระองค์ด้วยความโปรดปรานของพระองค์ที่ได้ทรงประทานให้แก่ข้า และด้วยบาปของข้าที่ได้ก่อมันไว้ ดังนั้นขอให้พระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ข้าด้วยเถิด เพราะแท้ที่จริงแล้วไม่มีผู้ใดที่สามารถจะให้อภัยโทษได้ นอกจากพระองค์เท่านั้น ”

ดุอาอฺขอให้ได้รับความรู้ ริซกี และการงานถูกตอบรับ

ดุอาอฺขอความรู้ ริซกี และอาม้าล

ดุอาอฺที่ควรขอทุก ๆ วัน

➡️ ดุอาอฺขอให้ได้รับความรู้ ได้รับริซกี และการงานถูกตอบรับ

اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ عِلْمًا نَافِعًا وَرِزْقًا طَيِّبًا وَعَمَلا مُتَقَبَّلاً

โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉันขอต่อพระองค์ ซึ่งความรู้ที่ให้ประโยชน์ ปัจจัยยังชีพที่ดี และการงานที่ถูกตอบรับ